การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อ เพื่อค้นหาระดับความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติและแนวโน้มของการตัดสินใจต่อพฤติกรรมที่นำไปสู่การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในอนาคตของหญิงตั้งครรภ์ที่ทำงานนอกบ้านที่มารับบริการ ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการในศูนย์บริการสาธารณสุข 30 แห่ง จาก 68 แห่ง รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ การทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson's correlation coefficients: r) และการทดสอบไคสแควร์ (Chi-square) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05 ผลการวิจัย การเปิดรับสื่อของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 2.09) สื่อที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากที่สุด อันดับที่ 1 คือ สื่อบุคคล เมื่อทดสอบความสัมพันธ์พบว่า การเปิดรับสื่อมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระดับปานกลาง (r=0.454, p-value<0.001) และการเปิดรับจากสื่อบุคคลมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายหลังคลอด (x[superscript 2])=32.743, p-value <0.001) แต่การเปิดรับสื่อไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สำหรับปัจจัยด้านลักษณะประชากร พบว่า อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ การได้รับการสนับสนุนจากสามี สถานที่ทำงานและคนภายในครอบครัว การเคยให้นมบุตร มีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และอายุ อาชีพ และการได้รับการสนับสนุนจากสามีมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายหลังการคลอด ดังนั้น การได้รับการสนับสนุนและได้รับข่าวสารที่ถูกต้อง จะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ผู้หญิงเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น
This research aimed to study the media exposure of the working pregnant women using the services at public health centers in Bangkok Metropolitan Areas to now their understandings, knowledge and attitudes about breastfeeding and also their decision trends to be breastfeeding mothers in the future. The samples consisted of 400 working pregnant women using 30 public health centers from the total 68 centers. The surveying tool used the questionnaires. The collected data was processed by computer programs. Statistical test were Pearson's correlation coefficients: r and Chi-square, by setting valis correlation at 0.05. The survey findings showed the media exposure about breastfeeding was moderate. The most influential media on decision to become breastfeeding mother was personal media. The correlation test found that media exposure was positively relevanr to breastfeeding at moderate level (r=0.454, p-value<0.001) and exposure to personal media was relevanr to the decision to become breastfeeding mothers (x[superscript 2])=32.743, p-value <0.001). However, media exposure had not correlation to attitude on breastfeeding. For demographic factors, ages, educatonal, occupations, income, supported from husbands; working offices and family members, and breastfeeding experience had statistically significant correlation to the understanding, knowledge and attitudes of breastfeeding. So well informed working women with good supported from people around them will make more women to become breastfeeding mothers easier.