ความสำคัญและที่มาของงานวิจัย: ความยืดหยุ่นของร่างกายเป็นปัจจัยสําคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพกาย การยืดกล้ามเนื้อเป็นวิธีการเพื่อคงรักษาหรือเพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกายและป้องกันการบาดเจ็บรวมทั้งการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เนื่องจากการศึกษาเกี่ยวกับผลของการยืดกล้ามเนื้อหายใจมีอยูจํานวนน้อยทั้งในคนปกติและผู้ป่วยกลุ่มโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการยืดกล้ามเนื้อที่ี่ใช้ในการหายใจต่อการขยายตัวของทรวงอก ค่าสมรรถภาพปอดและค่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้าและออกในคนไทยสุขภาพดีอาย 18-25 ปี วิธีการวิจัย: ทําการศึกษาวิจัยเชิงทดลองด้วยรูปแบบ One group pre test-post test ในคนสุขภาพดีเพศชายและหญิงตามเกณฑ์คัดเลือกเข้า และประเมินตัวแปรการศึกษาทั้งก่อนและหลังการยืดกล้ามเนื้อด้วยเทคนิค static stretching ในกล้ามเนื้อทื่ใช้ในการหายใจจํานวน 8 มัด ผลการวิจัย: ผลการยืดกล้ามเนื้อ พบค่าการขยายตัวของทรวงอกทั้ง 3 ระดับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ส่วนค่าปริมาตรอากาศที่หายใจออกในหนึ่งวินาทีแรก ค่าปริมาตรอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติ สรุปผลการวิจัย: การยืดกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจบริเวณทรวงอกด้วย static stretching ในผู้ที่มีสุขภาพดีสามารถเพิ่มการขยายตัวของทรวงอกและค่ากำลังกล้ามเนื้อหายใจ แต่ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสมรรถภาพปอด
Background and Objective: Flexibility of the body is an important factor that affects physical health. Stretching is a way to maintain or increase flexibility, prevent injuries and promote muscle relaxation. The studies on the effects of respiratory muscle stretching is little amount in both normal subjects and patients with chronic obstructive pulmonary disease. This study aimed to investigate the effect of stretching the muscles used in breathing on chest expansion, pulmonary function and respiratory muscle strength in Thai healthy people aged 18-25 years. Material and Method: The experimental research with one group pre test-post test design was used to assess in both male and female subjects with selection criteria. Evaluation variables was assess before and after static stretching techniques of eight respiratory muscles. Results: This study showed statistically significant improvement of chest expansion, maximum inspiratory pressure and maximum expiratory pressure expansion after stretching (p <0.01). While forced expiratory volume in 1 second and forced vital capacity did not find a statistically significant difference. Conclusion: In healthy subjects, respiratory muscle stretching can improve chest expansion and respiratory muscle strength but no change in lung function.