งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของยาหอมที่ขึ้นทะเบียนจำนวน 10 ตำรับ ปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมหาโดยใช้ Folin-Ciocalteu reagent และ ใช้ galic acid เป็นสารมาตรฐานในการเทียบปริมาณ การหาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระใช้เทคนิคการวัดวิธี DPPH assay ABTS assay และ FRAP assay โดยใช้ Trolox และ ascorbic acid เป็นสารมาตรฐานเพื่อคำนวณเป็นฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นเทียบเท่า ตำรับยาหอมแต่ละตำรับทำการสกัดด้วย absolute ethanol และ deionized water จากการศึกษาพบว่าตำรับยาหอม E ให้ค่าปริมาณกรดแกลลิคเทียบเท่า (GAE) สูงกว่าตำรับอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01) โดยมีค่า GAE เฉลี่ย 48.4 +-11.6 ถึง 52.9+-6.7 mg/g ส่วนตำรับที่เหลือมีค่า GAE เฉลี่ยตั้งแต่ 11.9+-3.6 ถึง 22.8+-2.6 mg/g ค่า GAE และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของยาหอมที่สกัดด้วยเอธานอลให้ค่าสูงกว่าสกัดด้วยน้ำอย่างไม่แตกต่างกันทางสถิติ ค่า Trolox equivalent (TE) และ ascorbic equivalent (AE) ที่ได้จากการวัดด้วยวิธี DPPH assay ให้ค่าสูงกว่าค่าที่ใช้วิธี ABTA assay ประมาณ 2 เท่า การวัดโดยวิธี DPPH assay และ ABTS assay ได้ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของยาหอมทั้ง 10 ตำรับเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากกลไกการต้านอนุมูลอิสระของสารมาตรฐานทั้งสองชนิดเหมือนกัน เมื่อทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระกับปริมาณสารประกอบฟีนอลรวม พบว่าให้ค่าสัมประสิทธิ์เชิงเส้นถดถอยสูง ทั้งสองวิธี (R[superscript 2]=0.8577-0.9457) ค่า total reducing capacity ของยาหอม ทำการศึกษาเฉพาะ 5 ตำรับแรก ได้ค่า FRAP value ตั้งแต่ 1.54 +- 0.16 ถึง 7.25 +- 1.28 mM เมื่อทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระกับปริมาณสารประกอบฟีนอลรวม พบว่าให้ค่าสัมประสิทธิ์เชิงเส้นถดถอยสูง โดยมีค่า R[superscript 2] = 0.9418-0.9821
The objectives of this study were to investigate the total phenolic compounds and the antioxidant capacity of ten Ya-hom preparations registered as traditional medicines. Total phenolic compounds were determined using Folin-Ciocalteu reagent with gallic acid as a standard compound. Antioxidant capacity was inspected using DPPH assay, ABTS assay and FRAP assay concomitantly with Trolox and ascorbic acid as standard antioxidants. All Ya-hom preparations were separately extracted with absolute ethanol and de-ionized water. It was found that one of them (Ya-hom E) showed the significantly highest quantity of gallic acid equivalent (GAE) of 48.4 ± 11.6 to 52.9 ± 6.7 mg/g (p<0.01) while others resulted mean GAE of 11.9 ± 3.6 to 22.8 ± 2.6 mg/g. GAE and antioxidant capacity of both ethanol and de-ionized water extracts were not significantly
different. Trolox equivalent (TE) values by DPPH assay were 2 times higher than those by ABTS assay. Both DPPH and ABTS assay provided the same manner of antioxidant capacity patterns by reason of the same free radical scavenging mechanism of both standard antioxidants. The correlation analysis of total phenolic compounds against antioxidant capacity was performed and resulted the relatively high R2 ranging from 0.8577-0.9457. Total reducing capacity was determined only in five preparations (Ya-hom A-E). FRAP values ranged from 1.54 ± 0.16 to 7.25 ± 1.28 mM. The correlation analysis of total phenolic compounds against the total reducing capacity were relatively high with R2 ranging from 0.9418 - 0.9821.