การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจลักษณะและสภาพการทํางานของพนักงานสอบสวนในสังกัดกองบัญชาการตํารวจนครบาล ปัญหาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทํางานของพนักงานสอบสวนในสังกัดกองบัญชาการตํารวจนครบาลรวมตลอดถึงสาเหตุของปัญหาและปัจจัยที่ส่งผลต่อการทํานายการสร้างรวมตลอดถึงการบั่นทอนแรงจูงใจในการทํางานให้กับพนักงานสอบสวนในสังกัดกองบัญชาการตํารวจนครบาลโดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณควบคู่กับการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่มและการสุ่มแบบง่าย จากสถานีตํารวจที่สังกัดกองบังคับการตํารวจนครบาล 9 เขต รวม 225 คน และกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ ใช้การคัดเลือกด้วยวิธีการเฉพาะเจาะจง จํานวน 16 คน ผลการสํารวจ พบว่า 1. ปัจจัยด้านความมั่นคงและปัจจัยด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานเป็นปัจจัยที่สร้างแรงจูงใจในการทํางานให้กับพนักงานสอบสวนในสังกัดกองบัญชาการตํารวจนครบาล 2. ปัจจัยด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตและปัจจัยด้านเงินเดือนและสวัสดิการเป็นปัจจัยที่บั่นทอนแรงจูงใจในการทํางานให้กับพนักงานสอบสวนในสังกัดกองบัญชาการตํารวจนครบาลและเมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า ด้านปริมาณงานกับจํานวนผู้ปฏิบัติงานไม่สมดุลกัน ด้านค่าตอบแทนไม่เหมาะสมกับปริมาณงานและไม่สมดุลกันเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ปฏิบัติงานอื่นในสายกระบวนการยุติธรรมเป็นปัญหาที่บั่นทอนแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนในสังกัดกองบัญชาการตํารวจนครบาล 3.ปัจจัยด้านความเป็นธรรมในการปฏิบัติงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการทํางาน ด้านการพัฒนาความสามารถและด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาไม่ส่งผลต่อการสร้างหรือบั่นทอน แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนในสังกัดกองบัญชาการตํารวจนครบาล แต่เมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า ด้านการโยกย้าย การพิจารณาเลื่อนขั้น เลื่อนตําแหน่ง ด้านการขาดแคลน วัสดุอุปกรณ์ ในการปฏิบัติงานและด้านการสนับสนุนให้ฝึกอบรมหรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เป็นปัญหาที่บั่นทอนแรงจูงใจในการทํางานให้กับพนักงานสอบสวนในสังกัดกองบัญชาการตํารวจนครบาล ปัญหาที่ส่งต่อแรงจูงใจในการทํางานของพนักงานสอบสวนในสังกัดกองบัญชาการตํารวจนครบาล จากการสํารวจผู้วิจัยสรุปได้ ดังนี้ ปัญหาทางกฎหมาย 1. ปัญหาด้านปริมาณงานกับจํานวนพนักงานสอบสวนไม่สมดุลกัน สํานักงานตํารวจแห่งชาติขาดรูปแบบการกําหนดจํานวนพนักงานสอบสวนและผู้ช่วยพนักงานสอบสวนไว้อย่างเป็นรูปธรรมในระเบียบ ก.ตร. นอกจากนี้ยังมีการปล่อยให้มีการสวมสิทธิเพื่อรับเงินประจําตําแหน่งพนักงานสอบสวนโดยไม่ได้ปฏิบัติงานด้านสอบสวน 2. ปัญหาด้านค่าตอบแทนในการทํางานไม่เหมาะสม สํานักงานตํารวจแห่งชาติไม่ได้กําหนดให้ค่าตอบแทนของพนักงานสอบสวนเทียบเท่าสายงานอื่นในกระบวนการยุติธรรมตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 มาตรา 46 3. ปัญหาด้านค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ สํานักงานตํารวจแห่งชาติขาดระเบียบ ก.ตร. ในการกําหนดค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานราชการของพนักงานสอบสวน ปัญหาประการอื่น 1. ปัญหาด้านเงินค่าสํานวนไม่เป็นไปตามกฎหมาย มีการหักค่าหัวคิวจากเงินค่าสํานวนการเบิกจ่ายล่าช้าและในบางท้องที่ไม่สามารถเบิกเงินค่าสํานวนได้ 2.ปัญหาด้านสวัสดิการบ้านพักมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ที่พักที่ได้รับการจัดสรรจากทางราชการมีน้อย ที่พักหลายแห่งชํารุดทรุดโทรมไม่เหมาะแก่การอยู่อาศัยบางแห่งห่างไกลจากที่ทํางาน 3. ปัญหาการขาดแคลนวัสดุ อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน สํานักงานตํารวจแห่งชาติไม่ได้จัดหาอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานให้กับพนักงานสอบสวน 4. ปัญหาด้านความไม่เป็นธรรมในการแต่งตั้ง การโยกย้าย การพิจารณาความดีความชอบการบริหารงานของสํานักงานตํารวจแห่งชาติยังคงยึดติดกับวัฒนธรรมตํารวจที่เน้นระบบอุปถัมภ์ และการให้อํานาจผู้บังคับบัญชาในการใช้ดุลยพินิจ โดยขาดตัวชี้วัดผลสําเร็จของการวัดตาม วัตถุประสงค์ (Key Performance Indicator ; KPI) ที่ชัดเจน 5. ปัญหาด้านขาดการสนับสนุนให้ฝึกอบรมหรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นขาดงบประมาณในการให้กับพนักงานสอบสวนในการฝึกอบรมหรือศึกษาต่อ
The objective of this research is surveying the Metopolitan Thai case officers in various aspects, including job characteristics, work status, career problems, the causes of career problems affecting work motivation, and any other factors influencing prediction of work motivation. The methodology in this research is the implementation of quantitative and qualitative research. For acquiring target samples of 225 people, both cluster/systematic sampling and simple random sampling are means to select them from many police stations under control of Metropolitan Police Bureau 1-9. The qualitative data also come from purposive In-depth interview of 16 samples The surveyshowed that : 1. The factors of stability and co-worker relationships can motivate the work performance of Metropolitan Thai case officers 2. The balance between work and life factor and The salaryand benefits factor show the variety of dealing problems, like overloaded work circumstance, unbalanced compensation and unfair compensation compared to other practitioners in criminal justice system. These negative situations discourage the majority of Metropolitan Thai case officers 3. The factors of fairness in work, the environment factor, the abilities’development factor and the relationships with bosses factor are not influential to the motivation and discouragement of Metopolitan Thai case officers. However, when the previous factors each were scrutinized in details, it is found that the problems concerning the consideration of promotionand the problem of inadequate facilities and equipment for work. Problems affecting work motivation of the Metropolitan Thai case officers From the completion of this research, its outcomes can be divided into 2 major interesting aspects, including laws problems and other particular problems as the following details. Laws Problems 1. The research addresses the imbalances among workloads and the number of the Thai case officers due to the fact that the Royal Thai Police has no concrete and apparent forms for setting the right quantities of the Thai case officers and the assistant Thai case officers in the Royal Thai Police Act. Moreover, there is some existence of subrogation to receive the position allowances of the Thai case officers even though some Thai case officersdo not handle the Thai case tasks. 2. The result of the research also demonstrates the inappropriate compensation of the Thai case officers when comparing to other position lines in a justice process as shown in the Royal Thai Police Act B.E. 2547 Article 46. 3. In a part of overtime compensations, the Royal Thai Police does not identify an overtime payment for the Thai case officers in the Royal Thai Police Act. Other Particular Problems 1. Various problems of the case pecuniary advantages include illegal commissions from paying case pecuniary advantages, delayed payment of case pecuniary advantages, and an inability to claim case pecuniary advantages in some areas. 2. Problems of inadequate residential fringe benefits are inevitable because the dealing government unit provide Thai case officers a few dwelling houses with free of charges. In addition to this, some allocated houses are old and damaged. Definitely, these ruined residences are not suitable for well living. Furthermore, the locations of some government houses are too far from the workplaces. 3. The scarcity of facilities, office equipment, and any other necessary resources for work is one of very crucial problems as a result of the ignorance of the Royal Thai Police. 4. The unfairness of job appointment and job mobility becomes a controversial topic because the work credit, job assessment, and career goodness considered by the Royal Thai Police are based on the patronage system and the scrutinizing authorities of the commissioner general, commissioners, commanders, and superintendents without the consideration of the key performance indicator (KPI) of Thai case officers. 5. The last problem found from this research is the lack of supporting Thai case officers to participate in training programs and to continue studying in the higher degrees.