dc.contributor.author |
ปิยฉัตร กลิ่นสุวรรณ |
|
dc.contributor.author |
Piyachat Klinsuwan |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
th |
dc.date.accessioned |
2023-02-18T11:12:54Z |
|
dc.date.available |
2023-02-18T11:12:54Z |
|
dc.date.issued |
2015 |
|
dc.identifier.uri |
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1174 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยเรื่องการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการมีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบายและแผนสวัสดิการสังคมของนักสังคมสงเคราะห์ (SW 4243) เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในวิชา SW 4243 และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา SW 4243 จากกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 79 คน โดยใช้เครื่องมือวิจัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้แก่ แบบวัดการมีส่วนร่วมเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม แบบวัดทัศนคติต่อการเรียนวิชา SW 4243 แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แบบวัดความมุ่งมั่นทําประโยชน์เพื่อสังคม มีค่าความเชื่อมั่น = .80, .89, .91 และ .88 ตามลําดับ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เก็บจากคะแนนผลการทดสอบวิชา SW 4243 ตอนปลายภาคสรุปผลการวิจัย ดังนี้ 1. ผลการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เป็นการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของผู้เรียนโดยใช้ กระบวนการ กลุ่มและประสบการณ์เดิมของผู้เรียน 4 ขั้นตอน สรุปดังนี้ ขั้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ขั้นนี้ผู้เรียนระดมความคิดเพื่อแก้ปัญหาตามโจทย์ที่ผู้สอนเตรียมไว้ โดยใช้ประสบการณ์เดิมและการแลกเปลี่ยนความคิดกัน ขั้นการสะท้อนความคิดและการอภิปราย ในขั้นนี้ผู้เรียนตั้งใจระดมความคิดเห็นกันด้วยเหตุผล และยอมรับความคิดเห็นของสมาชิกส่วนมาก และมีการแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน ขั้นความคิดรวบยอด ขั้นนี้ผู้เรียนสามารถสรุปความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนความรู้กัน สังเคราะห์ความรู้ได้ สรุปความคิดในเชิงนามธรรมและอธิบายได้อย่างเป็นรูปธรรม และขั้นการประยุกต์ใช้ ขั้นนี้ ผู้เรียนสามารถนําความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนความรู้กันมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในกลุ่ม นํามาตอบโจทย์ที่ผู้สอนเตรียมไว้ให้อย่างสมเหตุสมผล 2. ผลการวิจัยพบว่า การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ทัศนคติต่อการเรียนวิชา SW 4243 และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ ปัจจัยดังกล่าวร่วมกันพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ถึงร้อยละ 45 แต่ความมุ่งมั่นทําประโยชน์เพื่อสังคมไม่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน |
th |
dc.description.abstract |
Participatory Learning and Affective Factors in Learning Influence Learning Achievement in Subject of “Participation of Social Workers in Social Welfare Policy and Planning” (SW 4243) was a classroom action research with the purposes to analyze participatory learning and Affective Factors Learning which influenced achievement learning in subject SW 4243. A samples of 79 students from Faculty of Social Work and Social Welfare learning in Subject of SW 4243. And collection of datausing the research tools which the researcher had created and consisting of: 1) participatory learning technique scale reliability coefficient (alpha) of .80 and 2) affective Factors Learning, attitude toward studying of SW 4243 technique scale, achievement motive technique scale, and behavioral intention for social benefits technique scale with a reliability coefficient (alpha) of .89, .91, and .88, respectively, and 3) learning achievement in subject SW 4243 from score of the test in the final examination. The research results were as follows. 1. Result of classroom action research was participatory learning of the students using group process, and existing student's experience in 4 steps. The exchange of experience: in this step the students were brainstorm to solve the problem prepared by the teacher using existing experience and exchanging ideas. Discussion and reflective thinking: in this step the students were brainstorm using reasons and accepting the ideas of the majority, and assigned clear responsibility. Conclusive thoughts: in this step the students were able to summarize the knowledge gained from the exchange, synthesize the knowledge, summarize the abstract ideas and explain them concretely. Application, in this final step the students were able to apply the knowledge gained from the exchange in solving theproblem prepared by the teacher in a reasonable manner. 2. This research found that participatory learning, attitude toward learning SW 4243, and achievement motive influenced the achievement learning, and only the behavioral intention for social benefits did not influence the achievement learning. |
th |
dc.description.sponsorship |
การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติปีการศึกษา 2557 |
th |
dc.language.iso |
th |
th |
dc.publisher |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
th |
dc.subject |
การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม |
th |
dc.subject |
Participatory learning |
th |
dc.subject |
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน |
th |
dc.subject |
Academic achievement |
th |
dc.subject |
สังคมสงเคราะห์ |
th |
dc.subject |
Social welfare |
th |
dc.subject |
บริการสังคม |
th |
dc.subject |
Social services |
th |
dc.title |
การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและแผนสวัสดิการสังคมของนักสังคมสงเคราะห์ |
th |
dc.title.alternative |
Participatory Learning and Affective Factors Learning Influence on Learning Achievement in pParticipation of Social Workers in Social Welfare Policy and Planning (SW 4243) in Social Welfare Policy and Planning (SW 4243) |
th |
dc.type |
Technical Report |
th |