การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดรูปแบบการปฏิบัติงานบริการเภสัชกรรมชุมชนให้สอดคล้องกับความประสงค์ของผู้บริโภค โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคของศูนย์ยา มฉก. จำนวน 403 ราย จำแนกเป็นประชาชนทั่วไป 158 ราย (ร้อยละ 39.2) บุคลากรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 94 ราย (ร้อยละ 23.2) และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย 151 ราย (ร้อยละ 37.5) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติที่ไม่ใช้พาราเมตริก ครูสคาล-วอลลิสและไค-สแควร์ ผลการวิเคราะห์ 1) พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการซื้อยา พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 75.9 เลือกซื้อยาจากร้านยาที่มีเภสัชกรประจำเท่านั้น กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 41.7 เลือดช่วงเวลาสะดวกซื้อระหว่างเวลา 16.00 น.-18.00 น. การมีระบบประกันสุขภาพไม่มีผลต่อความถี่ของการซื้อยาที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 จำนวนเงินซื้อยาในรอบปีที่ผ่านมาขึ้นกับรายได้ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 2) ระดับคะแนนเฉลี่ยความต้องการของประเภทกิจกรรมบริการที่พึงประสงค์ จำนวน 18 ประเภทพบว่า จำนวน 12 ประเภทที่มีคะแนนเฉลี่ย 4.02-4.52 จากคะแนนเฉลี่ยเต็ม 5 โดยความต้องการบริการปรึกษาเรื่องยามีระดับความต้องการค่าเฉลี่ยสูงสุด (4.52) การจำหน่ายยามีคะแนนเฉลี่ย 4.39 ความต้องการให้จัดทำทะเบียนประวัติและความต้องการบริการส่งต่อผู้ป่วยมีคะแนนเฉลี่ย 4.13 และ 4.19 ตามลำดับ ส่วนความต้องการอีกจำนวน 6 ประเภท มีค่าระดับค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.22-3.92 โดยมีการบริการตรวจการตั้งครรภ์มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (คะแนนเฉลี่ย = 3.22) การศึกษาและอาชีพที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับความต้องการบางประเภท 3) ระดับความต้องการการบริบาลทางเภสัชกรรม 14 ประเภทขณะซื้อยา พบว่าลำดับค่าเฉลี่ยของระดับความต้องการทุกประเภทที่กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดต้องการอยู่ในระดับ 4.12-4.58 ซึ่งการแนะนำวิธีใช้ยามีระดับความต้องการสูงสุด (ค่าเฉลี่ย 4.58) และการเก็บประวัติการใช้ยามีระดับความต้องการอันดับสุดท้าย (ค่าเฉลี่ย 4.12) และการศึกษาต่างกันมีผลต่อระดับความต้องการบางประเภท 4) ลำดับความมสำคัญของคุณสมบัติ 10 ประการของบุคลากรจ่ายยาในสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนเป็นดังนี้ อันดับที่หนึ่ง คือ ความรู้เรื่องยา (ค่าเฉลี่ย 4.68) อันดับที่สอง คือ ความสามารถสื่อสาร (ค่าเฉลี่ย 4.64) อันดับสาม คือ จริยธรรม (ค่าเฉลี่ย 4.63) กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าคุณสมบัติเกือบทุกประการมีความสำคัญมากกว่าระดับ 4 มีเพียงอันดับสุดท้าย คือ ความรู้ในการปรุงยา ที่ค่าเฉลี่ยของระดับความสำคัญคือ 3.86 ผู้บริโภคของศูนย์ยาอย่างน้อยสองกลุ่มให้ความสำคัญของบุคลิกภาพของบุคลากรแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 การวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางการกำหนดรูปแบบการปฏิบัติงานบริการเภสัชกรรมชุมชน มาตรฐานของกระบวนการให้บริบาลทางเภสัชกรรมของผู้ปฏิบัติการ การเลือกสรรบุคลากรและระบบบริหารที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนสามารถใช้เป็นแนวทางการปรับปรุงเนื้อหารายวิชาการบริบาลเภสัชกรรมระดับปฐมภูมิเพื่อการผลิตบัณฑิตให้มีคุณสมบัติสอดคล้องกับการปฏิบัติงานและความต้องการของผู้บริโภค
The purpose of this research is to find the suitable pattern of community phamacy practice to satisfy the consumer's need. By interviewing the 403 customer of HCU Drug Center, including 158 general people (39%), 94 HCU staff (23.2%), and 151 HCU students (37.5%), the data were analyzed by using Descriptive Statistics, mean, percentage, and Non-parametric Statistics, Kruskal-Wallis and Chi's square. Results of analysis; 1) Drug purchasing behaviors, the findings are 75.9% of sample group prefer to purchase drugs from licensed pharmacists, 41.7% prefer to purchase drug during 4-6 p.m., the frequency of drug purchasing are not affected by health insurance systems at 0.05 significant level, and the volume of purchase depends on the income at 0.05 significant level. 2) Means of customer reauirements of community pharmacy services selecting from 18 activities, there are 12 activities that have average score at 4.02-4.52 out of 5 full score. The requirement of drug counseling service has the heighest score (4.52). The average scores of the requirements of drug selling, medication history profile, and referring service system to secondary health services are 4.39, 4.13 and 4.19 consecutively. The remaining 6 activities have average score between 3.22-3.92, the lowest score (3.22) is pregnancy test service. 3) Means of 14 requirement of pharmaceutical care at the point of purchase, the average score of all activities are between 4.12-4.58. The heighest score 4.58, is drug counseling requirement. The lowest average score (4.12) is medication profile requirement. There are 2 different educational groups having significantly different level of some requirements, 4) Priority of 10 qualifications of drug dispensingg personnel, the first priority qualification is drug knowledge (average score 4.68), the second is communication ability (average score, 4.64), and the third is moral (average score 4.63). The average scores of other 9 qualifications are above 4, except drug compounding knowledge (average score 3.86). The qualification of dispensing personnel was considered different priority at least by 2 different groups of HCU drug center customers at 0.05 significant level. The result of this study could by applied to improve the operation of the community pharmacy services, set up the standard of pharmaceutical care, select qualified personnel and improve operation management. This research can provide the information to the Faculty of Pharmaceutical Science to properly train pharmacy students in response to customer demand for community pharmacy services.