DSpace Repository

การศึกษาแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของมุสลิมวัยทำงาน

Show simple item record

dc.contributor.advisor จริยาวัตร คมพยัคฆ์
dc.contributor.advisor พรศิริ พันธสี
dc.contributor.advisor Jariyawat Kompayak
dc.contributor.advisor Pornsiri Pantasri
dc.contributor.author ชุติมา สร้อยนาค
dc.contributor.author Chutima Soynahk
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
dc.date.accessioned 2022-04-22T14:11:28Z
dc.date.available 2022-04-22T14:11:28Z
dc.date.issued 2018
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/117
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2561 th
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันและความเสี่ยงการเกิดโรคเบางหวานชนิดที่ 2 ของมุสลิมวัยทำงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นมุสลิม อายุ 20-60 ปีที่ขึ้นทะเบียนเป็นสัปปุรุษประจำมัสยิดกลางประจำจังหวัดชลบุรี จำนวน 219 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้รับการตรวจสอบความตรงในเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน มีค่า CVI ระหว่าง 0.86-1.0 ทดสอบความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าระหว่าง 0.82-0.98 เก็บข้อมูลรวบรวมข้อมูลหลังได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Pearson product moment ที่ระดับการมีนัยสำคัญทางสถิติ <0.05 ผลการวิจัย พบว่า แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคและการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.755, p<0.001 และ r=0.795, p<.001 ตามลำดับ) การรับรู้ความรุนแรงของโรคมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.295, p<0.001) สิ่งชักนำไปสู่การปฏิบัติมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำมากกับพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.188, p<0.05) และการรับรู้อุปสรรคการปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับสูงมากกับพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=-0.904, p<0.05) ทั้งนี้การรับรู้โอกาสเสี่ยงมีความสัมพันธ์ทางลบกับดัชนีมวลกายในระดับต่ำและระดับปานกลางกับเส้นรอบเอว น้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต การรับรู้ความรุนแรงมีความสัมพันธ์ทางลบกับดัชนีมวลกายในระดับต่ำมากและระดับต่ำกับเส้นรอบเอว น้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติมีความสัมพันธ์ทางลยระดับต่ำกับดัชนีมวลกาย น้ำตาลในเลือด และระดับปานกลางกับเส้นรอบเอว ความดันโลหิต การรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับดัชนีมวลกาย น้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต การรับรู้สิ่งชักนำมีความสัมพันธ์ทางลบระดับต่ำกับดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว น้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.001. th
dc.description.abstract The study aimes to examine the association of health belief model with preventive behavior and risk of type 2 diabetes in working Muslim. Sample is Muslim age 20-60 years and registered at Chonburi province mosque, total 219. Data were collected by using a questionnaire which created by the researcher. Content validity of the questionnaire was verified by the 3 experts and the CVI was 0.86-1.0. Reliability was using Cronbach's alpha coefficient and the reliabiliity was 0.82-0.98. Data were collected after ethics approval from research committee, Huachiew Chalermprakiet University. Data analysis were frequency, percentage, minimum, maximum, mean, standard deviation and Pearson Product Moment (p<0.05). The result show that health belief model in perceived risk of disease and perceived benefits of prevention behaviors were highly positibe correlated with type 2 diabetes prevention behavior (r=0.755, p<0.001 and r=0.795, p<0.001 respectively). Perceived disease severity was lowly positive correlated with the prevalence of type 2 diabetes (r= 0.295, p<0.001) and what conductive to practice has a very low positive relationship with type 2 diabetes pervention (r=0.199, p<0.05). Perceived barriers to behaviors for disease prevention were significantly negatively correlated with type 2 diabetes prevention behaviors (r=-0.904, p<0.05). Anyhow, perceived risk was negatively low correlated with body mass index and moderate correlated with waist circumference, blood sugar, blood pressure. Perceived violence has a very low negative assoication with body mass index and low levels with waist circumference, blood sugar, blood pressure. Perceived benefits of practice has a low negative correlation with body mass index, blood sugar and moderate to waist circumference, blood pressure. Perceived impediiment ahs a low positive correlation with body mass index, blood sugar, blood pressure. Perceived induction was statistically significant associated with a low level of body mass index, waist circumference blood sugar, blood pressure (p<0.001). th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูอิน th
dc.subject มุสลิม -- ไทย -- ชลบุรี th
dc.subject พฤติกรรมสุขภาพ th
dc.subject Type 2 diabetes
dc.subject Health behavior
dc.subject Muslims
dc.title การศึกษาแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของมุสลิมวัยทำงาน th
dc.title.alternative A Study of Health Belief Model and the Risk of Type 2 Diabetes in Eorking Muslim Populations th
dc.type Thesis th
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account