การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเสพยาบ้า : ศึกษากรณีนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการอบรมเลี้ยงดูเด็กในครอบครัว การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียน การคบหาสมาคมและการเสริมแรงทัศนคติต่อการป้องกันการเสพยาบ้า ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเสพยาบ้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเด็กที่เสพยาบ้ากับเด็กที่ไม่เสพยาบ้ากลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2541 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นจังหวัดชลบุรี จำนวน 10 โรงเรียน จำนวน 366 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบวัดความคิดเห็น มี 5 ตอน 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัว 2) แบบวัดแบบแผนการอบรมเลี้ยงดู 3) แบบวัดระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม 4) แบบวัดการเสริมแรงและการคบเพื่อน 5) แบบวัดทัศนคติต่อการป้องกันการเสพยาบ้า เมื่อได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว นำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS/PC+ เพื่อศึกษาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดี่ยวและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่าเด็กนักเรียนส่วนใหญ่มีอายุ 14 ปี เป็นเพศชาย สถานภาพสมรสของบิดามารดาคือสมรสและอยู่ร่วมกัน นักเรียนส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่กับบิดามารดา และบิดามารดาเป็นผู้อบรมเลี้ยงดู ความสัมพันธ์ของบิดามารดาและของบุคคลภายในครอบครัวมีความรักและผูกพันห่วงใยกันพอสมควร เพศ อายุ ชั้นเรียน ค่าใช้จ่าย สถานภาพสมรสของบิดามารดา ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายในครอบครัว บุคคลที่ให้การอบรมเลี้ยงดูและบุคคลที่นักเรียนพักอาศัยอยู่ด้วย กับพฤติกรรมการเสพยาบ้าของนักเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแบบแผนการอบรมเลี้ยงดู เด็กได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบที่ให้พึ่งพาตนเองเร็วมากที่สุด การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนและแบบให้พึ่งตนเองกับพฤติกรรมการเสพยาบ้าของนักเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม เด็กส่วนใหญ่จะมีระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมสูงกว่าการกระทำตามผู้อื่นทำหรือผู้อื่นเห็นว่าดี และเกือบอยู่ในระดับการกระทำโดยเพราะเป็นหน้าที่ในสังคม การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมกับชั้นเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมสูงกว่านักเรียนชั้นอื่น เด็กที่เสพยาบ้ามีระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมต่ำกว่าเด็กที่ไม่เสพยาบ้าการเสริมแรงและการคบเพื่อน เด็กที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้เสพยาบ้าจะคุ้นเคยกับกลุ่มเพื่อนในหมู่บ้านซึ่งเสพยาบ้าและเคยพบเห็นหรือทราบว่ามีผู้เสพยาบ้าอยู่ในหมู่บ้านเมื่อจำแนกความแตกต่างระหว่างปัจจัยทางชีวสังคม พบความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเด็กชายอายุ 15 ปี อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้เสพยาบ้ามาก เป็นเด็กที่บิดามารดาและบุคคลภายในครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีต่อกัน เด็กหญิงมีการยอมรับผลเสียเกี่ยวกับพฤติกรรมการเสพยาบ้ามากกว่าเด็กชาย ส่วนทัศนคติต่อการป้องกันการเสพยาบ้า เด็กส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด ภัยหรือผลร้ายของยาบ้าค่อนข้างดี เด็กหญิงมีความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดภัยหรือผลร้ายของยาบ้ามากกว่าเด็กชาย เด็กส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อต้านการเสพยาบ้าค่อนข้างดี โดยเด็กหญิงมีทัศนคติต่อต้านการเสพยาบ้ามากกว่าเด็กชาย เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวน และวิเคราะห์ถดถอย พหุคูณ พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเสพยาบ้าของนักเรียนคือ 1) การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนและแบบให้พึ่งตนเอง 2) การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม 3) การเสริมแรงและการคบเพื่อน 4) ทัศนคติต่อต้านการเสพยาบ้าผลการวิจัยครั้งนี้พบประเด็นที่พิจารณาเป็นข้อเสนอแนะดังนี้1. ควรจะได้มีการศึกษางานวิจัยเรื่องนี้ต่อไป โดยควรที่จะได้ศึกษาให้ครบวงจร เช่น ศึกษาถึงการเริ่มเสพ ความรู้สึกเมื่อได้เสพ จนถึงขั้นตอนการเลิกเสพยาบ้า2. ควรจะได้ศึกษาถึงวงจรการแพร่ระบาดของยาบ้า ตั้งแต่วงจรการผลิต การลำเลียง การค้า ว่ามีลักษณะขบวนการอย่างไร และเหตุใดยาบ้าจึงแพร่ระบาดได้รวดเร็ว เพื่อเป็นประโยชน์ในการกำจัดวงจรการแพร่ระบาดที่กำลังเป็นปัญหาอยู่3. การวิจัยเพื่อศึกษาพฤติกรรมในลักษณะนี้ควรจะใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบโดยเข้าไปสังเกตการณ์และสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายและผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เที่ยงตรงเป็นประโยชน์ต่อไป
The purpose of the research were to study the factors relating to amphetamine consumption of secondary students in Chonburi Province. The first purpose was to study the relationship among the members of the family in ringing up children, the way the students make their decision upon reasonable moral, the way of socializing among friends, the reinforcement towards students’ attitude to prevent consuming amphetamine which affected the secondary students who consumed amphetamine. The other was to compare the factors which related to the students who consumed amphetamine with the opposite group.The subjects were 366 students in secondary school in Chonburi in 1998. The questionnaire used to inquire students’ opinion consisted of 5 parts which are personal data, the way of bringing up children, the level of making decision upon reasonable moral, reinforcement and socializing and attitude towards preventing amphetamine consumption. The collected data was analysed by SPSS/PC computer programme to find out percentage, mean, variance and coefficient of correlation. The study indicated that most 4 year-old boys living with their parents and being brought up by their own parents had fairy good relation among the members of the family. Sex, age, classroom study, payment, parents’ marital status, relationship among the members of the family, the person the students lived with, the person who brought up the students and the behaviour of consuming amphetamine had a different level of significance. Ways of bringing up by allowing them to support themselves as quickly as they can, supporting them with love and encouraging them support themselves and the behaviour of consuming amphetamine had a different level of significant, Most children used reasonable moral rather than followed others or they did is as a part of their duty in society. To use reasonable moral in the classroom had a different level of significance. The students in Mattayomsuksa 2 had a higher level of reasonable moral than any other class. The children who consumed amphetamine had a lower level of reasonable moral than the opposite group. The children who had relationship with ones who consumed amphetamine acquainted with their friends who consumed amphetamine in the area or were able to tell who consumed amphetamine in the area. These things related to each other at the level of significance. The study also found that the 15-year-old boys in Mattayom 3 Whose parents had a poor relation had very close relation with ones who consuming amphetamine rather than male students. Most students had fairy good knowledge of what amphetamine was and its negative effects of consuming amphetamine. Girds had better knowledge of amphetamine and its consuming effects than boys. The majority of children had fairy good knowledge of anti-amphetamine consumption and girls had stronger attitude towards anti-amphetamine consumption than boys.After testing the relation of variance, it is revealed that the factors affecting students’ behaviour of consuming amphetamine were as follows: 1.The ways of bringing up children with love-support and self-support2.Reasons based moral 3.Reinforcement and socialization4.Attitude towards anti-amphetamine consumptionThe result of the research suggested that:1.The research should be carried on to cover all problems, such as the study of theStarting point of consuming amphetamine, the felling when consuming amphetamine and the steps to stop consuming amphetamine. 2.The research should deal with the following procedures: The circulation of wide spread of amphetamineThe procedures of producing amphetamineThe trafficking of amphetamineThe reason why amphetamine was spread out so widely and quickly The suggested procedures would assist the way to prevent the wide spread of amphetamine3. The research studying the behaviour of consuming amphetamine should be linked with the qualitative research by observing and interviewing the target group and ones who concerned with this matter to obtain the correct data which would be beneficial in the future.