การวิจัยเชิงสํารวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิตด้านสุขภาพ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตด้านสุขภาพ และความคิดเห็นในการที่จะทําให้วิถีชีวิตดานสุขภาพมีความถูกต้องอย่างยั่งยืน กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในตําบลบางโฉลง อําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ นานกว่า 5 ปีขึ้นไป ซึ่งได้จากการสุ่มเชิงระบบแบบจัดชั้น จํานวน 418 คน และบุคคลผู้เกี่ยวข้องซึ่งเลือกอย่างเจาะจงอีกจํานวน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2556 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2557 จากการสัมภาษณ์และสัมภาษณ์เชิงลึกตามแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสรางขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและผ่านกระบวนการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและทดสอบความตรงของแบบทดสอบความรู้โดย K.R.-20 ได้ค่า = 0.78 ทดสอบความตรงของแบบสอบถามเจตคติ ปัจจัยนํา ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมและวิถีชีวิตด้านสุขภาพทั้งฉบับ โดย α - coefficient ได้ค่า 0.77, 0.79, 0.72, 0.81 และ 0.84 ตามลําดับ วิเคราะห์ขอมูลโดยสถิติพรรณนาและสถิติวิเคราะห์ ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียรสันและสเปียส์แมน ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีวิถีชีวิตสุขภาพด้านการสร้างเสริมสุขภาพอยู่ในระดับดี (ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.64 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.50) ยกเว้นการออกกําลังกายอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการป้องกันการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุอยู่ในระดับดี (ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.82 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.23) ด้านการรักษาพยาบาลและการดูแลตนเอง เมื่อเจ็บป่วยเล็กนอย คือ ซื้อยารับประทานเอง ร้อยละ 50.47 ไปคลินิกแพทย์ ร้อยละ 16.98 และเมื่อเจ็บป่วยมากขึ้นไปโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลและโรงพยาบาลเอกชนในชุมชน ร้อยละ 37.32 และร้อยละ 30.63 ยาที่ใช้เป็นประจํา คือ ยาสมุนไพร ร้อยละ 80.00 ยาที่ใช้เมื่อจําเป็น คือ ยาแก้ปวดลดไข้ ร้อยละ 96.67 ด้านการฟื้นฟูสภาพหลังการ เจ็บป่วยเรื้อรัง คือ การปฏิบัติตามคําแนะนําของแพทย์ เช่น เดินออกกําลังกาย ควบคุมอาหารรับประทานยาตามสั่ง กลุ่มตัวอย่างมีปัจจัยนํา ด้านความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ด้านเจตคติอยู่ในระดับดี ปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยนํา ปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์กับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับการรักษาพยาบาลและการดูแลตนเอง และการฟื้นฟูสภาพอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านความคิดเห็นในการที่จะทําใหวิถีชีวิตด้านสุขภาพมีความถูกต้องอย่างยั่งยืน คือ ต้องส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเนื่องจากมีจํานวนมาก
This survey research aimed to study lifestyle in health, factors related to life style in health, and opinions toward sustainably healthy lifestyle. Samples were people aged over thirty five years old and living in Tambol Bangchalong more than five years. Four hundred eighteen samples were recruited by the stratified systematic random sampling and ten related samples were recruited by purposive sampling.Data were collected from November, 2014 to February, 2015. The questionnaire and the in-depth interview guideline had been developed by reviewing literatures, which these instruments had been tested content validity and reliability. Descriptive statistics, Pearson Correlation, and Spearman Correlation had been used as data analysis. The results of this study found that four hundred eighteen samples had overall in health promotion in the good level (x-= 3.64, S.D = 1.50), whereas the exercise was in the moderate level. The prevention of illness and accident was in the good level (x-= 3.82, S.D = 1.23). The medical care and self-care were found that buying medication for their mild illness was 50.47 percent. Going to medical clinical was 16.98 percent. Going to Tambol Health Promoting hospital and private hospital in the community for their severely illness was 37.32 percent and 30.63 percent respectively. The herbal medicine was used regularly (80 percent). Approximately ninety – seven percent used analgesic drugs as essential medicine. The rehabilitation after chronic illness consisted of doing by advising of the doctors, such as walking, diet control, take medication as doctor’s prescription. The samples had predisposing factors on knowledge in the moderate level, whereas predisposing factors on attitude in the good level. Enabling factors and reinforcing factors were in the moderate level. Predisposing factors, enabling factors, and reinforcing factors had statistically significant related with health promotion, ill and accidental prevention at.01 ; whereas these factors had no statistically significant related with medical care and self care, and rehabilitation at .05. The sustaining healthy lifestyle had been viewed on promoting health of older adults because the older adults would be the majority of the populations.