การประเมินหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2555) มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หลักสูตรและประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาหลักสูตร ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการบริหารหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และด้านผลลัพธ์ของหลักสูตร โดยผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร ผู้บริหารหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน นักศึกษาปัจจุบัน ผู้สำเร็จการศึกษา และผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร จำนวน 3 คน ผู้บริหารหลักสูตร จำนวน 1 คน อาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตร จำนวน 8 คน นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 94 คน บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา จำนวน 24 คน และผู้บังคับบัญชาของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา จำนวน 8 คน การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสอถบาม และการวิเคราะห์เอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วยเครื่องมือแตกต่างกัน 3 ชนิด คือ (1) แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้บริหารหลักสูตร (2) แบบสอบถามเกี่ยวกับวิเคราะห์หลักสูตรสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร และ (3) แบบสอบถามสำหรับอาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตร นักศึกษาปัจจุบัน บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา และผู้บังคับบัญชาของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา โดยผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า ปัจจุบันหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตของแต่ละสถาบันการศึกษามีโครงสร้างโดยภาพรวมที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้น เพื่อสร้างความโดดเด่นให้กับบัณฑิตจากหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จึงควรเน้นรายวิชาบางกลุ่มที่มีความสอดคล้องกับอัตลักษณ์ขององค์กร และให้ความสำคัญกับกฎหมายพื้นฐานของประเทศที่มีบทบาทต่อประเทศไทย (รายวิชาในกลุ่มเอกเลือก) เช่น กฎหมายประเทศจีนในด้านต่างๆ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้บัณฑิตมีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายจีนอย่างชัดเจน และเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน นอกจากนั้นแล้ว หลักสูตรควรส่งเสริมให้บัณฑิตเป็นผู้มีความรู้ในทางกฎหมายและในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ควรมุ่งเน้นกฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยี เพราะความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก ที่ยังต้องการการบัญญัติกฎหมายออกมารองรับ เช่น อาจเพิ่มความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายโทรคมนาคม กฎหมายไซเบอร์ และกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ที่ทันสมัย รวมถึงกฎหมายในกลุ่มกฎหมายระหว่างประเทศที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้ อาจเปิดวิชาเอกเลือกเป็นสัมมนากฎหมายแพ่ง หรือสัมมนากฎหมายอาญาเพื่อเป็นช่องทางในการนำประเด็นหัวข้อกฎหมายใหม่ๆ มาสอนในรายวิชาดังกล่าว ตลอดจนอาจเตรียมทำหลักสูตรรองรับผู้ที่ต้องการศึกษานิติศาสตร์เป็นปริญญาตรีใบที่สองด้วย เพื่อเป็นการขยายโอกาสในการเรียนให้กับผู้ที่ทำงานแล้ว 2) ผลการประเมินด้านปัจจัยป้อนเข้า คุณลักษณะของนักศึกษา นักศึกษาปัจจุบันมีอัตราการออกระหว่างการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 62.72 อยู่ในระดับมาก โดยกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาส่วนใหญ่มีเกรดเฉลี่ยสะสมอยู่ในระดับ 2.00-2.49 คิดเป็นร้อยละ 37.23 ของจำนวนกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาทั้งหมด คุณลักษณะของอาจารย์ผู้สอน จากเกณฑ์คุณวุฒิปริญญาเอก พบว่า คุณลักษณะของอาจารย์ ในปีการศึกษา 2555 ถึงปีการศึกษา 2559 อยู่ในระดับน้อยที่สุดถึงน้อย ส่วนเกณฑ์ตำแหน่งทางวิชาการ พบว่า คุณลักษณะของอาจารย์ ในปีการศึกษา 2555 ถึงปีการศึกษา 2559 อยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง อย่างไรก็ตามบัณฑิตและนักศึกษาปัจจุบันได้ประเมินคุณลักษณะด้านความรู้ความสามารถอยู่ในระดับมากที่สุด คุณลักษณะด้านการสอนอยู่ในระดับมาก แต่คุณลักษณะด้านจรรยาวิชาชีพครูของอาจารย์ บัณฑิตประเมินอยู่ในระดับมาก ในขณะที่นักศึกษาประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษา อาจารย์ บัณฑิต และนักศึกษามีความพึงพอใจในการบริการของห้องสมุดและสื่อการศึกษา ในระดับมาก ส่วนความพึงพอใจต่อความสะดวกในการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อาจารย์ และนักศึกษา มีความพึงพอใจในระดับมาก ในขณะที่บัณฑิตมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง และความเหมาะสมของอาคร สถานที่ สิ่งแวดล้อมและห้องเรียน บัณฑิตและนักศึกษามีความพึงพอใจในระดับมาก ในขณะที่อาจารย์มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ทั้งนี้ มีข้อเสนอแนะของบัณฑิตต่อปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษาว่าควรปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านการเรียนการสอน เช่น ไมโครโฟน เครื่องเสียง จอโปรเจคเตอร์ โต๊ะนั่งเรียนที่ทรุดโทรม อินเตอร์เน็ต เป็นต้น และควรอำนวยความสะดวกและการบริการแก่อาจารย์พิเศษที่ได้รับเชิญมาสอนนอกจากนั้้นแล้ว 3) ผลการประเมินด้านการกระบวนการผลิต การบริหารหลักสูตร คณะนิติศาสตร์มีคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ทำหน้าที่่ในการวางแผนการบริหารหลักสูตรการกำกับติดตามและการประเมินหลักสูตรตามมาตรฐาน ตลอดจนมีคณะกรรมการบริหารกลุ่มวิชาหรือรายวิชา ทำหน้าที่กำกับติดตามและประเมินการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปในทิศทางตามที่มาตรฐานหลักสูตรกำหนด ทั้งนี้ อาจารย์ บัณฑิต และนักศึกษามีความพึงพอใจกับการบริหารหลักสูตร อยู่ในระดับมาก ส่วนการให้คำปรึกษาของอาจารย์ บัณฑิตมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ในขณะที่นักศึกษามีความพึงพอใจในระดับมาก การจัดการเรียนการสอ อาจารย์ประจำรายวิชาได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชา โดยเน้นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญผ่านการอภิปราย การตอบคำถามในชั้นเรียน การนำเสนอรายงาน ตลอดจนมีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรในรายวิชาต่างๆ อาทิ โครงการศึกษาดูงาน โครงการฝึกงานภาคฤดูร้อน โครงการแสดงศาลจำลอง โครงการสอนเสริมให้แก่นักศึกษา เป็นต้น การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ อาจารย์ได้มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยใช้การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค การทดสอบย่อย การสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน ตลอดจนการมอบหมายงานต่างๆ การประเมินการสอนของอาจารย์ หลักสูตรมีการประเมินการสอนของอาจารย์โดยใช้ระบบการประเมินการสอนออนไลน์ของมหาวิทยาลัย เพื่อนำมาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ในคณะโดยที่ผ่านมาผลการประเมินการสอนของอาจารย์เฉลี่ยอยู่ในระดับตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป 4) ผลการประเมนด้านผลลัพธ์ของหลักสูตร การใช้เวลาศึกษาตามแผน นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาตามแผน (รหัส 55xxxx) คิดเป็นร้อยละ 27.17 ของจำนวนของนักศึกษาแรกเข้าในปีการศึกษา 2555 อยู่ในระดับน้อย ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ผู้สำเร็จการศึกษา 25 คน มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 3.00-3.49 เป็นจำนวน 9 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 36.00 ของผู้สำเร็จการศึกษาตามแผนในปีการศึกษา 2558 ประสิทธิภาพของบัณฑิต บัณฑิตที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 24 คน ได้งานทำจำนวน 16 คน (รวมบัณฑิตที่ได้งานทำและศึกษาต่อในขณะเดียวกัน) คิดเป็นร้อยละ 66.67 ส่วนบัณฑิตอีก 8 คน อยู่ในระหว่างการศึกษาต่อ คิดเป็นร้อยละ 33.33 อย่างไรก็ตาม บัณฑิตที่มีงานทำส่วนใหญ่ได้งานทำที่ไม่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ทั้งนี้ บัณฑิตกลุ่มนี้มีความพึงพอใจในงานที่ปฏิบัติอยู่ในระดับมาก คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษา บัณฑิตได้ประเมินคุณลักษณะของตนเองหลังสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร โดยพบว่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ระดับมาก ส่วนผู้ใช้บัณฑิตประเมินคุณลักษณะของบัณฑิต พบว่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน โดยผู้ใช้บัณฑิตให้ความเห็นว่าบัณฑิตของหลักสูตรเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม รู้จักหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี มีมนุษยสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน สามารถทำงานเป็นทีมได้ สามารถนำความรู้ด้านกฎหมายมาใช้ประกอบกับงานที่ทำได้ เรียนรู้งานเร็ว ทำงานได้ดี ขยันและรับผิดชอบต่อหน้าที่ ส่วนจุดที่ควรเพิ่มเติมคือความรู้ในการใช้ภาษาอังกฤษ และการเพิ่มเติมความรู้นอกหลักสูตรเพื่อจะได้มีความรอบรู้ในมุมที่กว้างขึ้น
The Evaluation of Law Undergraduate Curriculum, Revised Edition 2012 aimed to analyzed the curriculum and to evaluate the effectiveness of the curriculum management in various aspects such as context, input, the process of curriculum and learning management and the outcome of the curriculum. Information sources are curriculum experts, curriculum administrator, lecturers, students, graduates and their supervisors. The sampling groups are comprised of 3 curriculum experts, 1 curriculum administrator, 8 lecturers, 94 students in academic year 2016, 24 graduates and 8 their job supervisors. Methods of data collecting included interviews, questionnaires and document analyses. Tools used in gathering information are: (1) interviews with curriculum administrator (2) analysis handbook for curriculum assessment (3) questionnaires answered by lecturers, student, graduated and their job supervisors. 1) Assessment of Context. Nowadays, the Law Undergraduate Curriculum of each institution is similar, so the curriculum must be unique to the graduated, focusing on certain disciplines that are consistent with the identity of the university and focus on the fundamental laws of countries that play a role in Thailand such as Chinese Law in various fields. In addition, the curriculum should encourage the graduates to have knowledge in law and in other disciplines related to social charge. Because of the rapidly changing world that still requires legislative support, the curriculum should focus on Law on Technology such as Telecommunication Law, Cyber Law, Computer Crime Law and International Law that can increase economic value. The curriculum may open elective courses such as Civil Law Seminar and Criminal Law Seminar as a channel for introducing new legal topics to teach in such courses. The curriculum may also prepare courses for the student who want to study law in the second bachelor's degree and extend the learning opportunities for them. 2) Assessment of the Inputs. Student Qualifications: The number of current students failing out is high level. Most students had GPA between 2.00-2.49. Lecturers Qualifications: In academic year 2012 to 2016, found that the doctorate degree of the lecturers be evaluated at the low and the lowest level and academic positions be evaluated at the moderate and the low level. The graduates and current students have evaluated the lecturers about the knowledge at the highest level, the teaching abilities at the high level, while the ethic of teaching profession be evaluated at the high level by the graduates and the highest level by the current students. Learning Facilities for students: The lecturers, the graduates and the current students felt satisfied with the library services and learning aid. Moreover, the lecturers and the current students felt with facilities of internet network, whereas the graduates felt moderated. Finally, the graduates and the current students felt satisfied with buildings, classrooms and general environment as the lecturers felt moderated. The graduates and the current students also commented on efficiency and quality problems of equipment and facilities in classroom such as microphone, sound system, projector screen, desk, and internet network. Furthermore, the faculty should facilitate and service the special lecturers. 3) Assessment of Graduate Producing Process. Curriculum Management: The faculty's curriculum management committee plans, follows up and evaluates curriculum standard while the faculty's course management committee follows up and evaluate student learning process in the direction of curriculum standard. In general, the lecturers, the graduates and the current students evaluate the curriculum management of the faculty positively and the graduates and the current students feel pleased with talking to their advisors. Learning Activities: The student learning activities conform to course descriptions. Students are encouraged to participate in learning process through discussion, asking and answering questions in class, presentation and creating supplementary activities in various courses such as class field trips, internship program, moot court and tutoring program. Student Learning Assessment: Students evaluate the teaching of faculties on-line through the assessment system of the university. Students' assessment will be used to improve the teaching activities of the faculties. By the way, the Lecturers' evaluate scores ranged from 3.51 points or above. 4) Assessment of Curriculum Outcome. Planned Graduate Time: The numbers of students who graduate within four years plain is low. GPA: Most students who graduated in academic year 2558 had GPA between 3.00-3.49. Efficiency of Graduates: Most of the graduates are employed and they are satisfies with their jobs. However, most of the graduates don't get the jobs corresponding directly to their professional study areas. Graduates Qualifications: The graduates evaluate themselves with preferable scales. There job supervisors also evaluate them positively. Their job supervisors agree that graduates of the curriculum are ethical, know their duties well, have good human relations with colleagues, work as a team legal knowledge to work with the job, learn fast, work hard and be diligent and accountable. The point should be more knowledge of the use of English and additional extracurricular knowledge to gain a broader perspective.