DSpace Repository

ประสิทธิผลของโปรกรมการควบคุมความดันโลหิตสูงของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในชุมชนโดยใช้ระบบปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมายของทฤษฎีการพยาบาลของคิง

Show simple item record

dc.contributor.advisor หทัยชนก บัวเจริญ
dc.contributor.advisor ทวีศักดิ์ กสิผล
dc.contributor.advisor Hathaichanok Buajaroen
dc.contributor.advisor Taweesak Kasiphol
dc.contributor.author รัตน์ชรีญาภรณ์ คำราพิศ
dc.contributor.author Rattchareeyaporn Kamrapis
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
dc.date.accessioned 2023-03-02T08:59:24Z
dc.date.available 2023-03-02T08:59:24Z
dc.date.issued 2012
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1205
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2555 th
dc.description.abstract การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตในชุมชน โดยใช้ระบบปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมายของทฤษฎีการพยาบาลของคิงและประสิทธิผลของการใช้ระบบปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมายของทฤษฎีการพยาบาลของคิงในพฤติกรรมการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงโดยแพทย์และส่งต่อมารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแดนชุมพล อำเภอสอง จังหวัดแพร่ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 60 คน ได้รับการพยาบาลโดยใช้ระบบปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมายของทฤษฎีการพยาบาลของคิงจากผู้วิจัย 23 สัปดาห์ต่อเนื่องตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2553 ถึง 11 พฤษภาคม 2554 เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่มที่สัมพันธ์กัน (Dependent T-test) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson's Corelation) ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง พฤติกรรมการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงในระบบบุคคล ระหว่างบุคคล ระบบสังคม พฤติกรรมการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001) และพบว่าหลังการทดลอง การรับรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงในระบบบุคคล ระหว่างบุคคล ระบบสังคม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง (r=0.50, 0.53, r=0.39) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.001) และพบว่าภายหลังการทดลอง การรับรู้ การเรียนรู้ ปฏิสัมพันธ์ การสื่อสาร บทบาท ของผู้ป่วยต่อระบบบุคคล ระหว่างบุคคล ระบบสังคม มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น (4.74, 4.77, 4.58 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=value <0.001) นอกจากนี้ ภายหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว (Systolic Blood Pressure) ลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.001) และกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว (Diastolic Blood Pressure) ลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.001) จากผลการศึกษา การใช้ระบบปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมายของทฤษฎีการพยาบาลของคิง มีผลทำให้ความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงลดลง และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ทั้งในระดับบุคคล ระหว่างบุคคล ระบบสังคม ให้เป็นไปทิศทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน ดังนั้นการให้บริการผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนโดยใช้ระบบปฏิสัมพันธ์ อย่างมีเป้าหมายของทฤษฎีการพยาบาลของคิง จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีความเหมาะสมสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามวิถีชีวิตลและบริบทของผู้ป่วยและชุมชน th
dc.description.abstract The purposes of this quasi-experimental research were to examine control vehaviors with hypertension and to study the effect and effectiveness of nursing care using transaction of King's goal attainment theory on control behaviors in hypertension patient of community. The research sample consisted of 60 hypertension patients were selected by purposive sampling. Inclusion alternative diagnosed hypertension disease by doctor, and continuing care at Danchumpol Health Promoting Hospital. Data collection were received nursing care using transaction of King's goal attainment theory for 23 weeks (1 December 2009 to 11 May 2010). The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, dependent t-test and Pearson product moment correlation coefficient. The results found that the experimental had significant and higher level of the mean score on control behaviors in hypertension in person system, interpersonal system and social than before experiment (p-value < 0.001). Perception was significantly correlated with control behaviors in hypertension of person interpersonal social system (r=0.50, r=0.53 and r=0.39, p-value<0.001). There were statistically significant perception, learning transaction, communication and role of personal system interpersonal system and social system (p-value<0.001). And level mean score after experiment higher than before (x̄=4.74, 4.77 and 4.58). The result of nursing care using transaction of King's goal attainment theory to be effective on control systolic and diastolic blood pressure and control behaviors in person system, interpersonal syste, and social system of hypertension patient. So nursing care using transaction of King's goal attainment theory that was not of appropriate alternatives for community nurse practitioner in change health behavior allow community context. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject ความดันเลือดสูง -- ผู้ป่วย -- การดูแล th
dc.subject Hypertension -- Patients -- Care th
dc.subject ทฤษฎีการพยาบาล th
dc.subject Nursing Theory th
dc.title ประสิทธิผลของโปรกรมการควบคุมความดันโลหิตสูงของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในชุมชนโดยใช้ระบบปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมายของทฤษฎีการพยาบาลของคิง th
dc.title.alternative The Effectiveness of Control Behaviors Program Using Transaction of King's Goal Attainment Theory in Hypertension Patients in the Community th
dc.type Thesis th
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account