DSpace Repository

การประเมินหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2553 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Show simple item record

dc.contributor.author นิก สุนทรธัย
dc.contributor.author ช.ชยินทร์ เพ็ชญไพศิษฏ์
dc.contributor.author ภัทรวดี ยังน้อย
dc.contributor.author วุฒิชัย เต็งพงศธร
dc.contributor.author ธนาชัย สุนทรอนันตชัย
dc.contributor.author วราภรณ์ แจ่มแจ้ง
dc.contributor.author Nick Soonthorndhai
dc.contributor.author Chor Chayin Petpaisit
dc.contributor.author Pataravadee Youngnoi
dc.contributor.author Wuthichai Tengpongsthorn
dc.contributor.author Thanachai Suntonanantachai
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Law th
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Law
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Law
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Law
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Law
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Law
dc.date.accessioned 2023-03-06T02:13:21Z
dc.date.available 2023-03-06T02:13:21Z
dc.date.issued 2015
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1219
dc.description.abstract การประเมินหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2553) มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หลักสูตรและประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาหลักสูตร ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการบริหารหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และด้านผลลัพธ์ของหลักสูตร ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารหลักสูตร ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน นักศึกษาปัจจุบัน ผู้สำเร็จการศึกษา ผู้บังคับบัญชาชองผู้สำเร็จการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญ กลุุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารหลักสูตรจำนวน 1 คน ผู้เชี่ยวชาญ ด้านหลักสูตร จำนวน 3 คน อาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตร จำนวน 6 คน นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 34 คน ผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 23 คน และผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 7 คน การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และการวิเคราะห์เอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล่ประกอบด้วยเครื่องมือแตกต่างกัน 2 ชนิด คือ (1) แนวทางการวิเคราะห์หลักสูตรสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร (2) แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้บริหารหลักสูตร (3) แบบสอบถามสำหรับอาจารย์ผู้สอน นักศึกษาปัจจุบัน บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา ผู้บังคับบัญชาของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา 1) ผลการประเมินด้านบริบท คณะควรพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย ได้มาตรฐาน และเกิดประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถที่เพียงพอต่อประกอบวิชาชีพกฎหมายและครอบคลุมในทุกด้านที่เป็นพื้นฐานปริญญาตรีทางนิติศาสตร์ และคำนึงถึงคุณธรรมควบคู่กัน นอกจากนั้นแล้วควรพิจารณาปรับปรุงรายวิชาและคำอธิบายรายวิชาที่มีเนื้อหาซ้ำซ้อนกัน หรือมีความจำเป็นน้อย และให้ความสำค้ญกับรายวิชาอื่นที่มีความเหมาะสมหรือจำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพ การศึกษาต่อ และตอบสนองต่อความต้องการหรือแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคในปัจจุบัน รวมทั้งพิจารณาสัดส่วนวิชาภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้มีความเหมาะสม นอกจากนั้นแล้ว มหาวิทยาลัยควรให้อิสระแก่คณะในการบริหารงานเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมงบประมาณในการบริหารงานอย่างเพียงพอ 2) ผลการประเมินด้านปัจจัยป้อนเข้า คุณลักษณะของนักศึกษา นักศึกษาปัจจุบันมีอัตราการออกระหว่างการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 57.50 อยู่ในระดับปานกลาง และนักศึกษาส่วนใหญ่มีเกรดเฉลี่ยสะสมอยู่ในระดับ 2.00-2.49 คิดเป็นร้อยละ 32.40 ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมด คุณลักษณะของอาจารย์ผู้สอน จากเกณฑ์คุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ พบว่าคุณลักษณะของอาจารย์ในปีการศึกษา 2553 และปีการศึกษา 2553 และปีการศึกษา 2555 อยู่ในระดับน้อยที่สุด ส่วนปีการศึกษา 2554 และปีการศึกษา 2556 อยู่ในระดับน้อย อย่างไรก็ตาม บัณฑิตและนักศึกษาปัจจุบันได้ประเมินคุณลักษณะด้านความรู้ ความสามารถ คุณลักษณะด้านการสอน และคุณลักษณะด้านจรรยาบรรณในวิชาชีพครูของอาจารย์ อยู่ในระดับมากทั้งหมด ปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษา คณาจารย์ และนักศึกษามีความพึงพอใจในการบริการของห้องสมุดและสื่อการศึกษา ในระดับปานกลาง ในขณะที่บัณฑิตมีความพึงพอใจในระดับมาก ส่วนความพึงพอใจต่อความสะดวกในการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และความเหมาะสมของอาคารร สถานที่ สิ่งแวดล้อมและห้องเรียน คณาจารย์และบัณฑิตมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ในขณะที่นักศึกษามีความพึงพอใจในระดับน้อย ทั้งนี้ มีข้อเสนอแนะของคณาจารย์ บัณฑิต และนักศึกษาที่สอดคล้องกันที่ให้ปรับปรุงอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในห้องเรียน ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ สื่อการเรียนการสอน อาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพมากกว่าเดิม 3) ผลการประเมินด้านกระบวนการผลิต การบริหารหลักสูตร คณะนิติศาสตร์ มีคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ทำหน้าที่ในการวางแผนการบริหารหลักสูตรการกำกับติดตามและการประเมินหลักสูตรตามมาตรฐาน ตลอดจนมีคณะกรรมการบริหารกลุ่มวิชาหรือรายวิชา ทำหน้าที่กำกับติดตามและประเมินการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปในทิศทางตามที่มาตรฐานหลักสูตรกำหนด ทั้งนี้ บัณฑิตมีความพึงพอใจกับการบริหารหลักสูตรและการให้คำปรึกษาของอาจารย์ในระดับมาก ในขณะที่นักศึกษามีความพึงพอใจในระดับปานกลาง การจัดการเรียนการสอ อาจารย์ประจำรายวิชาได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชา โดยเน้นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญผ่านการอภิปราย การตอบคำถามในชั้นเรียน การนำเสนอรายงาน ตลอดจนมีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรในรายวิชาต่างๆ อาทิ โครงการศึกษาดูงาน โครงการฝึกงานภาคฤดูร้อน โครงการแสดงศาลจำลอง โครงการสอนเสริมให้แก่นักศึกษา เป็นต้น การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ อาจรย์ได้มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยใช้การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค การทดสอบย่อย การสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน ตลอดจนการใช้การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค การทดสอบย่อย การสัเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน ตลอดจนการมอบหมายงานต่างๆ การประเมินการสอนของอาจารย์ คณะนิติศาสตร์มีการประเมินการสอนของอาจารย์โดยใช้ระบบการประเมินการสอนออนไลน์ของมหาวิทยาลัย เพื่อนำมาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ในคณะ 4) ผลการประเมินด้านผลลัพธ์ของหลักสูตร การใช้เวลาศึกษาตามแผน นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาตามแผน (รหัส 53xxxx) คิดเป็นร้อยละ 38.98 ของจำนวนของนักศึกษาแรกเข้าในปีการศึกษา 2553 อยู่ในระดับน้อย ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ผู้สำเร็จการศึกษา 23 คน มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 2.50-2.99 เป็นจำนวน 13 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 56.60 ของผู้สำเร็จการศึกษาตามแผนในปีการศึกษา 2556 ประสิทธิภาพของบัณฑิต บัณฑิตได้งานทำ (รวมทั้งได้งานทำและศึกษาต่อในขณะเดียวกัน) คิดเป็นร้อยละ 52.17 โดยบัณฑิตที่เหลืออยู่ในระหว่างการศึกษาต่อ อย่างไรก็ตาม บัณฑิตที่มีงานทำส่วนใหญ่ได้งานทำที่ไม่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ทั้งนี้ บัณฑิตกลุ่มนี้มีความพึงพอใจในงานที่ปฏิบัติอยู่ในระดับมาก คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษา บัณฑิตได้ประเมินคุณลักษณะของตนเองหลังสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร โดยพบว่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ระดับมาก ส่วนผู้ใช้บัณฑิตประเมินคุณลักษณะของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร โดยผลการประเมินพบว่า คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน th
dc.description.abstract The Evaluation of Law Undergraduate Curriculum, Revised Edition 2010 Faculty of Law aimed to analyze the curriculum and to evaluate the effectiveness of the curriculum management in various aspects as context, input, the process of curriculum and learning management and the outcome of the curriculum. Information sources are curriculum administrator, curriculum experts, faculties, students, graduated and their supervisors. The sampling groups are comprised of one curriculum administrator, three curriculum, six faculties, 34 senior students in academic year 2014, 23 graduated and 7 their job supervisord. Methods of data collecting included interviews, questionnaires and document analyses. Tools used in gathering information are: (1) handbook for curriculum assessment (2) interviews with curriculum administrator (3) questionnaires answered by faculties, student, graduates and their job supervisors. 1) Assessment of Context. The Faculty should improve and update curriculum to meet standards and effectiveness. By focusing on law skills knowledge and ability in order that the student are competent to practice law and cover law fundamental of bachelor's degrees well morality principles together. Moreover, curriculum are required to: improve contents of some courses overlapped with those of the others or unnecessary, focus on courses that are appropriate or necessary for professional graduate study and demand for technical problems in current situation and adjust the proportion of theory and practice courses to be appropriate. In addition, the university should increase the independence management for faculty and support adequate budget management. 2) Assessment of the Inputs. Student Qualifications: The number of current students failing out is moderate. Most students had GPA between 2.00-2.99. Faculties Qualifications: In academic year 2010 to 2013, found that the qualifications and academic positions of the faculties be evaluated at lower scale in academic year 2011 and 2013 as well as the least in academic year 2010 and 2012. Both the graduates and the current students have evaluated the knowledge, the teaching abilities and the characteristic of the faculties positively at the perferable scales. Learning Facilities for students: The faculties and students felt moderately with the library services and learning aid as the graduates are satisfied. Moreover, faculties and graduated felt moderately with facilities of internet network, building, lecturing classrooms and general environment but student felt negatively. The faculties, graduates also commented one efficiency and quality problems of equipment and facilities in lecturing classroom, internet network, computers, buildings and general environment. 3) Assessment of Graduate Producing Process. Curriculum Management: The faculty's curriculum management committee plans, followes up and evalutes curriculum standard while the faculty's course management committee follows up and evaluate student learning process in the direction of curriculum standard. In general, graduates evaluate the curriculum management of the faculty positively and they feel very pleased with talking to their advisors but current students evaluate moderately. Learning Activities: The student learning activities conform to course descriptions. Student are encouraged to participate in learning process through discussion, asking and answering question in class, presentation and creating supplementary activities in various courses such as class field trips, intership program, moot court and tutoring program. Student Learning Assessment: The faculties have evaluated student learning skill through midterm examinations, final examinations, tests, behavioral observation in classroom and assignments. Assessment of facuties' teaching: Students evaluate the teaching of faculties on-line through the assessment system of the university. Students assessment will be used to improve the teaching activities of the faculties. 4) Assessment of Curriculum Outcome. Planned Graduation Time: The numbers of students who graduate within four yeard plan is low. GPA: Most students who graduated in academic year 2556 had GPA betwee 2.00-2.99. Efficiency of Graduates: Most of the graduates are employed and they are satisfied with their jobs. However, most of the graduates don't get the jobs corresponding directly to their professional study areas. Graduate Qualifications: The graduated evaluate themselves with preferable scales. Their job supervisors also evaluate them positively. th
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2556 th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject การประเมินหลักสูตร th
dc.subject Curriculum evaluation th
dc.subject นิติศาสตร์ -- หลักสูตร th
dc.subject Law -- Curricula th
dc.subject นิติศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
dc.subject Law -- Study and teaching
dc.title การประเมินหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2553 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.title.alternative The Evaluation of Law Undergraduate Curriculum, Revised Edition 2010 Faculty of Law, Huachiew Chalermprakiet University th
dc.type Technical Report th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account