การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน การพัฒนาเครื่องมือครั้งนี้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ 1) การกำหนดโครงสร้างและองค์ประกอบของเครื่องมือ 2) การวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือ 3) การสรุปโครงสร้างและองค์ประกอบของเครื่องมือ โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างเพศชายและเพศหญิงอายุ 25-59 ปีที่อยู่ในชุมชนเคหะแจ้งวัฒนะกรุงเทพมหานครจำนวน 201 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ การวัดความดันโลหิต วัดค่าดัชนีมวลกาย การประเมินพฤติกรรมเสี่ยงและการประเมินความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและค้นหาปัจจัยทำนายด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอย โลจิสติค ซึ่งการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติคคำนวณจากกลุ่มตัวอย่าง 182 รายเฉพาะผู้ที่มีความดันโลหิตปกติและผู้ที่มีภาวะก่อนความดันโลหิตสูงผลวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ค่าดัชนีมวลกาย (r = 0.338) อายุ (r = 0.334) เพศ (r = -0.265) และการบริโภคเกลือโซเดียมสูง (r = -0.171) ปัจจัยที่มีอำนาจทำนายภาวะความดันโลหิตสูง ได้แก่ เพศ (Exp(B) = 0.251, 95% CI = 0.094-0.671) อายุ ( Exp(B) = 1.089, 95% CI = 1.043-1.136) และค่าดัชนี มวลกาย ( Exp(B) = 1.162, 95% CI = 1.067-1.266) นำปัจจัยดังกล่าวทั้งหมดมาสร้างเครื่องมือ โดยให้ตัวแปรในองค์ประกอบของเครื่องมือสามารถคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุได้มากที่สุด คำนึงถึงความสำคัญของน้ำหนักตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อปัจจัยเสี่ยง และความสามารถในการนำไปใช้ได้จริง รวมทั้งมีการกำหนดคะแนนความเสี่ยงให้กับข้อคำถามแต่ละข้อตามผลที่คำนวณได้และกำหนดเกณฑ์คะแนนความเสี่ยงรวมที่ได้พร้อมการแปลผลความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงเป็น 3 ระดับเพื่อเป็นแนวทางในการติดตามดูแลต่อเนื่อง คือ ระดับที่ 1 มีความเสี่ยงน้อย หมายความว่า ผู้ให้บริการต้องให้คำแนะนำและติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยงเป็นระยะ ระดับ 2 มีความเสี่ยงปานกลาง หมายความว่า ผู้ให้บริการต้องให้คำแนะนำและติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยงสม่ำเสมอ และระดับ 3 มีความเสี่ยงมาก หมายความว่า ผู้ให้บริการต้องให้คำแนะนำและติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยงอย่างใกล้ชิด ผู้วิจัยเสนอแนะให้นำเครื่องมือคัดกรองที่ได้พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนต่าง ๆ และควรมีการประเมินคุณภาพหลังจากได้นำไปทดลองใช้แล้ว
The descriptive research was objected to develop a screening tool of primary hypertension which will be used by community nurse practitioner. There were three main processes: 1) Determine the structure and the component of the screening tool. 2) Analyze content validity and reliability. 3) Finalize the structure and component of the tool. This study was conducted in 201 people of Keha Jangwattana community, Bangkok Metropolitan using the primary questionnaire which composed of demographic, blood pressure measurement, body mass index (BMI), health risk behavior, and stress assessment. The statistical analysis of this survey was descriptive, Pearson’s correlation, and logistic regression statistic. However, the 182 people who had normal and pre-hypertension were employed by the logistic regression statistic.The result showed that the statically significant factors relating to blood pressure were BMI (r = 0.338, p < 0.01), Age (r = 0.334, p < 0.01) ,Sex (r = -0.265, p < 0.01) and high sodium intake (r = - 0.171, p < 0.05) Among these factors, only three could be predictable factors of primary hypertension which were Sex (Exp(B) = 0.251, 95% CI = 0.094-0.671), Age (Exp(B) = 1.089, 95% CI = 1.043-1.136) and BMI (Exp(B) = 1.162, 95% CI = 1.067-1.266). All of these factors were included in developing the screening tool for community nurse practitioner and set the score for each factors. The total score was classified in 3 levels according to the management role of community nurse practitioner. The first lever was for the lowest risk who should be given an advice and then periodically fallowed up. The second level was for the moderate risk who the advice and reassessment must be frequently given. The last level was for the highest risk who the intensive management should be done. This questionnaire should be tested with other populations in various communities and should be reassessed its quality to be the effective tool for screening primary hypertension for community nurse practitioner.