DSpace Repository

ผลของอุปกรณ์ประคองเข่าต่อการรับรู้ตำแหน่งของข้อในภาวะปกติและภาวะล้าของนักกีฬาเซปักตะกร้อไทย

Show simple item record

dc.contributor.author ดวงพร สังข์สัพพันธ์
dc.contributor.author พรรัชนี วีระพงศ์
dc.contributor.author Duangporn Sungsuppun
dc.contributor.author Pornratshanee Weerapong
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy th
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy
dc.date.accessioned 2023-03-13T05:41:57Z
dc.date.available 2023-03-13T05:41:57Z
dc.date.issued 2002
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1250
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสวมใส่อุปกรณ์ประคองข้อเข่าต่อการรับรู้ตำแหน่งของข้อเข่า ในภาวะปกติและภาวะกล้ามเนื้อล้าในนักกีฬาเซปักตะกร้อไทย โดยการทดสอบในนักกีฬาเซปักตะกร้อ รุ่นอายุ 12-18 ปี ที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี และไม่มีประวัติการบาดเจ็บข้อเข่าอย่างรุนแรง จำนวน 36 คน แบ่งเป็นชาย 18 คน หญิง 18 คน โดยทำการวัดองศาของมุมการเคลื่อนไหวข้อเข่าซ้ำในท่างอเข้า 30 ° และ 60 ° ด้วยเครื่องวัดมุมการเคลื่อนไหวชนิด universal goniometer แล้วนำมาคำนวณหาค่าองศาความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ของมุมการเคลื่อนไหวข้อเข่า ซึ่งเป็นความแตกต่างของค่าองศาการเคลื่อนไหวที่ได้จาก ค่าองศามุมการเคลื่อนไหวซ้ำที่นักกีฬาทำได้บวกหรือลบด้วยค่าองศาของมุมการเคลื่อนไหวที่กำหนด ในขณะสวมใส่อุปกรณ์ประคองข้อเข่า และไม่ใส่อุปกรณ์ประคองข้อเข่า ก่อนและหลังการออกกำลังกาย ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน 2544 ผลการศึกษาค่าองศาความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ของมุมการเคลื่อนไหวข้อเข่า จากการวัดมุมการเคลื่อนไหวข้อเข่าที่ 30° พบว่านักกีฬาที่ไม่ใส่อุปกรณ์ประคองเข่าสามารถเคลื่อนไหวข้อเข่าให้ใกล้เคียงมุมงอเข่า 30 ° ภายหลังการออกกำลังกาย (ค่าองศาความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เท่ากับ 2.20+-2.55) ได้มากกว่าก่อนออกกำลังกาย (ค่าองศาความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เท่ากับ 4.20+-4.00) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.05 ส่วนการวัดมุมการเคลื่อนไหวข้อเข่าที่ 60° กลับพบว่านักกีฬาที่สวมใส่อุปกรณ์ประคองเข่า สามารถเคลื่อนไหวข้อเข่าให้ใกล้เคียงมุมงอเข่า 60° ภายหลังการออกกำลังกาย (ค่าองศาความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เท่ากับ 5.09+-3.13) ได้น้อยกว่าก่อนออกกำลังกาย (ค่าองศาความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เท่ากับ 4.36+-3.29) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.05 และสำหรับผลของการสวมใส่อุปกรณ์ประคองเข่าในภาวะปกติคือก่อนออกกำลังกาย ทำให้นักกีฬาที่สวมใส่อุปกรณ์ประคองเข่าสามารถเคลื่อนไหวข้อเข่า (ค่าองศาความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เท่ากับ 4.36+-3.29) ให้ใกล้เคียงมุม 60° ได้มากกว่าการไม่ใส่อุปกรณ์ประคองค่าองศาความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เท่ากับ 5.83+-5.44) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.05 ในขณะที่การสวมใส่อุปกรณ์ประคองเข่าในภาวะหลังออกกำลังกายซึ่งทำให้กล้ามเนื้อล้า พบว่านักกีฬาที่สวมใส่อุปกรณ์ประคองเข่าสามารถเคลื่อนไหวข้อเข่า (ค่าองศาความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เท่ากับ 5.09+-3.13) ให้ใกล้เคียงมุม 60° ได้น้อยลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.05 เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใส่อุปกรณ์ประคองเข่า (ค่าองศาความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เท่ากับ 4.62+-3.78) จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การสวมใส่อุปกรณ์ประคองเข่าในนักกีฬาที่ไม่เคยมีอาการบาดเจ็บรุนแรง อาจช่วยเพิ่มความสามารถในการรับรู้ตำแหน่งของข้อเข่า ได้เฉพาะในภาวะปกติซึ่งแสดงได้จากค่าองศาความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ของมุมการเคลื่อนไหวข้อเข่าที่น้อยกว่า ในขณะที่การสวมใส่อุปกรณ์ประคองเข่าขณะกล้ามเนื้ออยู่ในภาวะล้า อาจจะทำให้ความสามารถในการรับรู้ตำแหน่งของข้อเข่าลดลงได้ ดังนั้นการส่งเสริมให้นักกีฬาสวมใส่อุปกรณ์ประคองเข่าในการออกกำลังกาย จึงควรต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และเพื่อให้การสวมใส่อุปกรณ์ประคองเข่าเกิดประโยชน์สูงสุด ควรพิจารณาถึงรูปแบบของอุปกรณ์ประคองเข่าแต่ละชนิด รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ เช่น วัสดุที่ใช้ทำน้ำหนักของอุปกรณ์ แรงกดและแนวการพยุง ตลอดจนความยืดหยุ่นของอุปกรณ์ th
dc.description.abstract The purpose of this study was to determine the effects of wearing knee brace on joint positioning sense in normal and fatigue stage. 36 young Sepak Takraw players age 12-18 years, who study in sport school at Supanburi province and did not have severe knee joint injury. All athletes were measured knee propripception by mean of the active reproduction of specific joint angle at 30° and 60° knee flexion using universal goniometer during braced and nonbraces at before and after exercise. This test used the absolute angular error to determine ability of the subject. This study found that nonbraced in post-exercise stage, the absolute angular error at 30° knee flexion is less than nonbraced in pre-exercise. While braced in post-exercise stage, the absolute angular error at 60° knee flexion is greater than braces in pre-exercise stage. For the effect of bracing, braced legs can move to 60° knee flexion better than nonbraced significantly only before exercise. Whereas after exercise condition, nonbraced legs can move to 60° knee flexion better than braced legs significantly. These results cannot indicate that wearing brace may improve proprioceptive sense of both normal and fatigue stage in young Sepak Takraw players. It may beacuse of the athletes, who did not have severe injury, have high effiecient of muscle performance. In addition, exercise in this study may not cause muscle fatigue so that it also cannot alter proprioceptive sense. th
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2543 th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject ข้อเข่า th
dc.subject Knee th
dc.subject ความล้า th
dc.subject Fatigue th
dc.subject กายภาพบำบัด -- เครื่องมือและอุปกรณ์ th
dc.subject Physical therapy -- Equipment and supplies th
dc.subject เซปักตะกร้อ th
dc.subject Sepak Takraw th
dc.subject นักกีฬา th
dc.subject Athletes th
dc.title ผลของอุปกรณ์ประคองเข่าต่อการรับรู้ตำแหน่งของข้อในภาวะปกติและภาวะล้าของนักกีฬาเซปักตะกร้อไทย th
dc.title.alternative The Effects of Knee Brace on Joint Position Sense in Normal and Fatigue Stages of Thai Sepak Takraw Athletes th
dc.type Technical Report th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account