dc.contributor.author |
นิภาพร เหล่าชา |
|
dc.contributor.author |
รุ้งเพ็ชร สงวนพงษ์ |
|
dc.contributor.author |
Nipaporn Loacha |
|
dc.contributor.author |
Rungpetch Sanguanpong |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy |
th |
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy |
|
dc.date.accessioned |
2023-03-15T08:48:01Z |
|
dc.date.available |
2023-03-15T08:48:01Z |
|
dc.date.issued |
2017 |
|
dc.identifier.uri |
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1254 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลทันทีของการติดเทปที่มีต่ออาการปวดและความสามารถในการทำกิจกรรมในผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม ตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม จำนวน 40 คน สุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 20 คน กลุ่มทดลอง ติดเทปเพื่อการรักษาร่วมกับการจัดแนวกระดูกสะบ้า การติดเทปเริ่มจากขอบด้านบนของสะบ้าด้านนอกแล้วดึงมาด้านใน พันรอบหลังเข่าอ้อมมาสิ้นสุดที่สะบ้าด้านหน้า กลุ่มควบคุมติดเทปโดยไม่มีการจัดแนวกระดูกสะบ้า เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบประเมินข้อเข่า (Knee osteoarthritis outcome score) ระดับอาการเจ็บปวดของข้อเข่า (visual analogue scales) และความสามารถในการทำกิจกรรม คือ การลุกนั่ง 5 ครั้ง (Five times sit to stand) และการเดินไปกลับระยะทาง 6 เมตร (Time up and go) ก่อนและหลังการติดเทปทันที วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าที (dependent-sample T-test) เปรียบเทียบก่อนและหลังภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และค่าที (Independent-sample T-test) เปรียบเทียบก่อนและหลังการติดเทประหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ผลการวิจัยพบว่า ก่อนและหลังการติดเทปของกลุ่มควบคุมของระดับความเจ็บปวด (P=0.64) ระยะเวลาที่ใช้ในการลุก-นั่งเก้าอี้ (P=0.894) และระยะเวลาที่ใช้ในการเดินไปกลับในระยะทาง 6 เมตร P=0.213 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ และกลุ่มทดลองพบว่าระดับความเจ็บปวด (P=0.002) ระยะเวลาที่ใช้ในการลุก-นั่งเก้าอี้ (P=0.006) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ P<0.05 แต่ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินไปกลับในระยะทาง 6 เมตร (P=0.330) ก่อนและหลังการติดเทปของกลุ่มทดลอง ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า ก่อนการติดเทปของกลุ่มควบคุมเทียบกับกลุ่มทดลองของระดับความเจ็บปวด (P=0.684) ระยะเวลาที่ใช้ในการลุก-นั่งเก้าอี้ (P=0.433) และระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางไปกลับในระยะทาง 6 เมตร (P=0.358) ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ และหลังการติดเทป กลุ่มควบคุมเทียบกับกลุ่มทดลองของระดับความเจ็บปวด (P=0.008) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ระยะเวลาในการลุก-นั่งเก้าอี้ (P=0.819) และการเดินไปกลับ 6 เมตร (P=0.348) ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ดังนั้น การติดเทปสามารถลดอาการปวดและเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรมการลุก-นั่งได้ทันที |
th |
dc.description.abstract |
The purpose of this research was conducted to investiagte the immediate effects of taping on pain functional ability of knee osteoarthritis. This study consisted of 40 participants who live in Nongprue, Bang Pli, Samuthprakarn. 20 subjects were random sampled into the experimental group and 20 subjects were random sampled into the control group. The experimental group performed taping as anteroposterior tilt and medial glide of patella technique while the control group performed taping only. The researcher examined the knee and osteoarthritis outcome score (KOOS). Pain scale (visual analogue scales; VAS) and functional ability consist of 5 times sit-to-stand (5SST) and time up and go (TUG). The obtained data were analyzed in term of mean, standard deviations. Then compared within group with pair t-test (t-test for dependent samples) and compared between control group and experimental group with unpaired t-test (t-test for independent sample) before and after taping immediately. If there were any significant differences at the statistical significance of p<.
05. It was found that: Compares before and before and after of taping with dependent-sample T-test of visual analogue scales (VAS) P=0.064, 5 times sit-to-stand (5SST) P=0.894 and time up and go (TUG) P=0.213 within control group were no any significant difference. Compared before and after of taping with dependent-sample T-test of visual analogue scales (VAS) P=0.002, 5 times sit-to-stand (5SST) P=0.006 were sinificantly different at the statistical level of p<.05 and time up and go (TUG) P=0.330 within experimental group were no any sinificant differences. Compared between control group and experimental group with unpaired t-test (t-test for independent samples) before and after taping immediately of before taping were no any significant differences. And after taping of 5 times sit-to-stand (5SST) P=0.819 and time up and go (TUG) P=0.348 were no any significant differences and visual analogue scales (VAS) P=0.008 were significantly different at the statistical level of p<.05. The results of this study showed that performing the therapeutic tape may be used as decrease pain and improve functional ability as 5 times sit-to-stand. |
th |
dc.description.sponsorship |
การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2558 |
th |
dc.language.iso |
th |
th |
dc.publisher |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
th |
dc.subject |
ความเจ็บปวด |
th |
dc.subject |
Pain |
th |
dc.subject |
ข้อเข่า -- การรักษา |
th |
dc.subject |
Osteoarthritis, Knee -- Therapy |
th |
dc.title |
ผลทันทีของการรักษาด้วยเทคนิคการติดเทปต่ออาการปวดและความสามารถในการทำกิจกรรมในผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม ตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ |
th |
dc.title.alternative |
Immediate Effects of Adhesive Tape on Pain and Functional Ability of Knee Osteoarthritis at Nongprue, Bangple Distric Samutprakarn |
th |
dc.type |
Technical Report |
th |