การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และการจัดการขยะ การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อจัดการขยะชุมชน และความพึงพอใจ ผลกระทบจากการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อจัดการขยะตำบลศีรษะจรเข้น้อย อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ผลการศึกษาพบว่า 1) สถานการณ์และการจัดการขยะของตำบลศีรษะจรเข้น้อย ก่อนดำเนินโครงการ ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 50.5 เห็นว่าการจัดการขยะเป็นหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ร้อยละ 44.5 ตอบว่าทิ้งขยะรีไซเคิลในถังขยะของ อบต. และร้อยละ 47 ระบุว่ามีจัดการขยะรีไซเคิลด้วยการนำไปขายสร้างรายได้ ด้านปัญหาที่ประสบเกี่ยวกับการจัดการขยะที่ผ่านมา ร้อยละ 56.5 ระบุว่าถังรองรับขยะมีน้อยหรือบางจุดไม่มีถังขยะ ร้อยละ 35 ระบุว่าไม่มีความรู้เรื่องขยะและการแยกขยะ ด้านข้อมูลข่าวสารหรือความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ ร้อยละ 57 ระบุว่าได้รับข้อมูลข่าวสารหรือความรู้จากสื่อวิทยุและสื่อโทรทัศน์ ร้อยละ 39 ได้ข้อมูลข่าวสารหรือความรู้จากเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลศีรษะจรเข้น้อย/เจ้าหน้าที่ อสม. สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์การจัดการขยะ ร้อยละ 68.5 เห็นว่าตำบลศีรษะจรเข้น้อยยังคงมีปัญหาเรื่องขยะ ร้อยละ 84.5 ระบุว่าคนในชุมชนทุกคนต้องมีส่วนร่วมจัดการขยะ ด้านความสนใจเข้าร่วมโครงการจัดการขยะ ร้อยละ 55.5 สนใจและประสงค์เข้าร่วมโครงการธนาคารขยะออมทรัพย์หากทาง อบต. มีการดำเนินการ 2) รูปแบบการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อจัดการขยะชุมชนตำบลศีรษะจรเข้น้อย พบว่ามีวิธีการดังนี้ คือ (1) สร้างการมีส่วนร่วมกับองค์กรภายในพื้นที่และภายนอกพื้นที่เพื่อร่วมมือทำงานด้านสิ่งแวดล้อม (2) ใช้รูปแบบธนาคารขยะออมทรัพย์เป็นเครื่องมือจัดการขยะของชุมชน โดยสมาชิกธนาคารมีส่วนร่วมในเงินปันผล (3) จัดตั้งคณะกรรมการบริหารธนาคารขยะออมทรัพย์จากความสมัครใจ มาจากตัวแทนภาคประชาชน มีการกำหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ (4) การสื่อสารของคณะกรรมการธนาคารขยะออมทรัพย์ใช้การสื่่อสารแนวราบมีบรรยากาศที่เป็นมิตร ทุกคนเสมอภาคและมีส่วนร่วม เกิดการรับฟังและเรียนรู้ซึ่งกันและกันโดยยึดผลประโยชน์ของชุมชน ประเด็นการสื่อสารเป็นการติดตามงานธนาคารขยะออมทรัพย์ สะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข ใช้การสื่อสาร เช่น การประชุม โทรศัพท์ อีเมล การสื่อสารผ่านไลน์กลุ่ม สื่อสังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ก) เป็นการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ (5) สื่อสารแบบมีส่วนร่วมกับสมาชิกชมรมเรื่อง "การคัดแยกขยะ" "ขยะสร้างรายได้" และ "ธนาคารขยะออมทรัพย์" (6) การสื่อสารกับ "วัดหัวคู้" ในฐานะที่วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน (7) ใช้สื่อช่วยสร้างการรับรู้เรื่องธนาคารขยะออมทรัพย์ เช่น ป้ายไวนิล โลโกรณรงค์ ป้าย X-Stand สมุดบัญชีธนาคาร ใบปลิว สื่อสังคมออนไลน์ เฟชบุ๊กขององค์การบริหารส่วนตำบลศีรษะจรเข้น้อย (8) ใช้กิจกรรมอบรมสื่อสารกับเยาวชนเรื่องการคัดแยกขยะและธนาคารขยะออมทรัพย์ และ (9) จัดเวทีพูดคุยในพื้นที่สถานประกอบการตลาดสด "ศรีวารี" และภายในหมู่บ้านโดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อคัดแยกขยะที่ต้นทางในรูปแบบขยะออมทรัพย์ 3) ความพึงพอใจ ผลกระทบจากการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อจัดการขยะด้วยรูปแบบธนาคารขยะออมทรัพย์ จากผลการสำรวจสมาชิกจำนวน 42 คน พบว่า ผู้ตอบแแบบสอบถามที่เป็นสมาชิกได้นำขยะมาฝากธนาคารขยะออมทรัพย์ทุกเดือน ร้อยละ 47.6 นำขยะมาฝาก 2-3 เดือน/ครั้ง ร้อยละ 23.8 ด้านการมีส่วนร่วมจัดการขยะในชุมชนในประเด็นต่างๆ พบว่า (1) มีการมีส่วนร่วมด้านการวิเคราะห์ปัญหา โดยสนับสนุนให้จัดตั้งธนาคารขยะออมทรัพย์ร้อยละ 54.8 เสนอวิธีการจัดการขยะในชุมชนร้อยละ 26.2 ช่วยวางแผนการดำเนินการธนาคารขยะออมทรัพย์ ร้อยละ 30.9 แสดงความคิดเห็นเพื่อแก้ไขปัญหาของธนาคารขยะออมทรัพย์ ร้อยละ 23.8 (2) มีการมีส่วนร่วมด้านการดำเนินงานธนาคารขยะออมทรัพย์ โดยร้อยละ 76.2 สมัครสมาชิกและนำขยะที่คัดแยกมาฝากธนาคารขยะออมทรัพย์ ชักชวนให้คนในชุมชนสมัครเป็นสมาชิกธนาคารขยะออมทรัพย์ ร้อยละ 28.6 (3) ด้านผลประโยชน์และการติดตามประเมินผลพบว่า ร้อยละ 57.1 มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายขยะรีไซเคิล และมีปริมาณขยะในครัวเรือนลดลงร้อยละ 30.9 สำหรับความพึงพอใจของสมาชิกที่มีต่อธนาคารขยะออมทรัพย์ พบว่า เรื่องความพร้อมให้บริการ พึงพอใจระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.86) การประชาสัมพันธ์การเปิดธนาคารและการรับซื้อ พึงพอใจระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.76) การสมัครสมาชิกและการฝาก-ถอนเงินพึงพอใจระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.67) และด้านประโยชน์และผลกระทบจากการตั้งธนาคารขยะออมทรัพย์ สมาชิกมีความเห็นระดับมาก ในประเด็นได้แก่ เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ชุมชนอื่น (ค่าเฉลี่ย=3.88) ชุมชนสามารถจัดการสิ่งแวดล้อมด้วยคนในชุมชน (ค่าเฉลี่ย=3.76) ลดปริมาณขยะในครัวเรือน (ค่าเฉลี่ย=3.74) และสร้างจิตสำนึกคัดแยกขยะ (ค่าเฉลี่ย=3.74)
The research aimed to study waste situation and menagement of Srisa Jorake-Noi, Bangsaothong District, Samutprakarn Province. It also intended to study the participatory communication for community waste management, the satisfaction and the impact of participatory communication for waste management of this area. The research found that: 1. Situation and waste management of Srisa Jorake-Noi before the project. Fifty point five percent of the questionnaire respondents thought that community waste management is the responsibility of Tambon Administration or the government officials. For recyclable waste, 44.5% of respondents said they dumped it in the Tambon Administration garbage bin and 47% said they sold recyclable for money. For waste management problems, 56.5% of respondents said there were few or no barbage bins in some areas. Thirty-five percent of respondents had no knowledge about waste separation. For information and knowledge about waste separation, 57% said they received this kind of information from radio and television whilc 39% received information and learned about waste separation from officials of Srisa Jorake-Noi Tambon Administration or Village Health Volunteers. For their opinions about waste situation and management, 68.5% said Tambon Srisa Jorake-Noi still had waste management problems while 84.5% said everyone in this Tambon should participate in waste management. For the interest in joining in the waste management project in the form of Srisa Jorake-Noi Waste Saving Bank, 55% were interested in and would join the project if there is any. 2. The Patterns of Participatory Communication for Srisa Jorake-Noi Community Waste Management. The research found that there were several communication patterns as follows: 2.1)cooperation with organizations inside and outside community area to work together, 2.2) creation of waste saving to be the tool of community waste management, and participating bank clients receive dividents, 2.3) selecting board members of the waste Saving Bank from participating community representatives and assigning their roles and responsibilities, 2.4) the communication pattern of these bank board members is friendly, horizontal, with equal participation from every party concerned. They would listen to each other and work together for the community benefits. Their communication topics are the working of the waste saving bank, its problems and ways to solve these problems. The pattern of their communication are various, such as holding a meeting, telephoning, writing e-mail, communication with "Line group" and other kinds of informal communication, 2.5) participatory communication was conducting among members on the topics of "waste Separation" "Income Generating Waste" and Waste Saving Bank". 2.6) communication with "Hua Koo Temple" since this temple is the center of the community, 2.7) utilizing media to raise awareness of the waste saving bank, such media are vinyl boards, campaign logos, x-stand boards, bank books, leaflet, online social media and Facebook of Srisa Jorake-Noi Tambon Administration, 2.8) using training activities to communicate with young people in community about waste separation and waste saving bank, and 2.9) set up a talking stages at "Srivari" fresh-food market in the community area to promote the participation of the communication people about waste separation at its origin for money saving waste. 3. Satisfaction and impacts of participatory communication for waste management in the form of waste saving bank. The results of interviewing 42 participating members found that 47.6% of them brought their waste to waste saving bank every month and 23.8% did the same 203 times a month. For their participation in community waste management in other areas, the study found as follows: 3.1) participation in problem analysis, 54.8% supported in setting up waste saving bank; 26.2% proposed ways to manage community waste; 30.9% helped in planning of waste saving bank operation, and 23.8% share their opinion to solve the problems of the waste saving bank, 3.2) participation in the waste saving bank operation, 76.2% signed up to be members of the bank and sold their separated waste to the bank while 26.8% persuaded other people in the community to apply to be members of the bank, 3.3 for benefits and evaluation, the study found that 57.1% earned more income from selling recyclable waste and 30.9% could reduce their household waste. For the satisfaction level about the waste saving bank, the study found that the satisfaction level were all very high for the bank's readiness for service (x̄=3.86), for public relations about bank openning and buying waste (x̄=3.76), and for applying to be members and depositing and withdrawing (x̄=3.67). For the benefits from and the impacts of the setting up of the waste saving bank, the bank members thought that the benefits and the impacts were very favorable at high level in the following areas. It is a good example for other communities (x̄=3.88). The community can manage its environment by their own people (x̄=3.76). The community can reduce their household waste (x̄=3.74) and the project helped raise the consciousness of the people in the community to separate their waste (x̄=3.74).