การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโอกาสเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำ พัฒนารูปแบบการจัดการความเสี่ยงร่วมกันระหว่างผู้ป่วย ครอบครัว และบุคลากรสุขภาพ และเพื่อศึกษาผลของรูปแบบการจัดการความเสี่ยงที่พัฒนาขึ้น กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดครั้งแรกอายุ 60 ปีขึ้นไป อาศัยประจำในชุมชนเซนต์หลุยส์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน กลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ ครอบครัว/ผู้ดูแล แพทย์อายุรกรรมหัวใจ พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน พยาบาลวิชาชีพ เภสัชกร นักโภชนาการ และนักกายภาพบำบัด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยผู้ป่วยที่สัมพันธ์กับโอกาสเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำอย่างมีนัยสำคัญ คือ การรับรู้อุปสรรคในการป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำ ปัจจัยครอบครัว คือ การรับรู้ความรุนแรงของภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำในผู้ป่วย บทบาทของผู้เกี่ยวข้องที่อาจมีผลต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำแยกได้ 4 ประเด็น คือ 1) พยาบาลยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการสืบค้นสิ่งที่จะเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำและครอบครัว/ผู้ดูแลไม่ทราบสิ่งบ่งชี้หรืออาการเตือนของภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำ 2)แพทย์ขาดการแบ่งระดับความรุนแรงของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว และพยาบาลให้ การพยาบาลตามอาการ แต่ไม่มีการจัดลำดับของปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำ 3) ให้สุขศึกษาก่อนการจำหน่ายแบบทั่วไปไม่เฉพาะเจาะจง และ 4) ขาดการประเมินผลการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว รูปแบบการจัดการความเสี่ยงที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ร่วมกันรับรู้ปัจจัยเสี่ยง 2) ร่วมกันกำหนดบทบาทใหม่ในการประเมินหรือวิเคราะห์ความเสี่ยง 3) ลงมือปฏิบัติจัดการความเสี่ยงโดยผู้ป่วยครอบครัว/ดูแล และบุคลากรสุขภาพ 4) ติดตามผลลัพธ์การจัดการความเสี่ยง กิจกรรมที่ร่วมกันออกแบบ คือ คู่มือป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำที่บ้าน แบบบันทึกการรับประทานอาหาร การรับประทานยา การควบคุมน้ำดื่ม การชั่งน้ำหนัก การออกกำลังกาย การสังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำสำหรับครอบครัว/ผู้ดูแล แนวปฏิบัติการจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำที่บ้านสำหรับบุคลากรสุขภาพ ภายหลังการพัฒนารูปแบบพบว่าผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำ ค่าเฉลี่ยก่อนและหลัง = 3.74 และ 4.61 และพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ค่าเฉลี่ยก่อนและหลัง = 3.43 และ 4.49 ส่วนน้ำหนักตัว ค่าเฉลี่ยก่อนและหลัง = 54.84 และ 53.20 และการรับรู้อุปสรรคในการป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ค่าเฉลี่ยก่อนและหลัง = 2.05 และ 2.48 ด้านครอบครัว/ผู้ดูแล พบว่าการรับรู้ความรุนแรง ค่าเฉลี่ยก่อนและหลัง = 4.17 และ 4.95 และพฤติกรรมการป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำในผู้ป่วยสูงขึ้น ค่าเฉลี่ยก่อนและหลัง = 3.75 และ 4.55 อย่างมีนัยสำคัญ การวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรติดตามประเมินผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องในกลุ่มตัวอย่างเดิม และวิเคราะห์เปรียบเทียบอุบัติการณ์ภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำ พฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วย และครอบครัว/ผู้ดูแล เพื่อประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการความเสี่ยงที่พัฒนาขึ้น
The purpose of this action research aimed to study the relative factors of congestive heart failure's recurrent situation, develop the system of risk management in parcipitation among patients, family and medical profession and study the result develop system. Major perspectives sample are 30 ischemic heart disease' patients aged 60 years or higher in St.Louis community Bangkok. And have diagnosis from doctor that the first time of CHF was happened and cure continuingly at least 1 year at St.Louis hospital, minor perspectives sample are relations caregives, cardiologist, community nurse practitioner, nurse, phamacist, nutritionist and physical therapist. Data collection was carried out using the questionnaires, interview and participatory notification. Data analysis was perfomed using Paired. t-test and content analysis. The result showed that the relative factors of CHF's recurrent situation included patient and family factors. Patient factor is perceived barriers, family factor is perceived severity. The role of relative people could be effected to th e recurrent situation in 4 cases. Firstly nurse doesn't concern about searching the recurrent situation's causes and relations and caregivers don't know the symptom or condition of the recurrent. Secondly doctors don't of patient's severity and ordered nurse to follow the sympto but don't rearrange the relative factors. Thirdly giving the knowledge before the treatment plan in common way. Finally the evaluation of curing CHF's patient wasn't found. The develop risk management system consisted 4 steps. First, know the risk factors together, secondly set the new role for risk evaluation and analysis. Thirdly doing the risk management in action by relations caregivers and medical profession. Finally following the result of the risk' managements. The risk management activity is the manual of the recurrent CHF prevention for patient, relations and caregivers. Included the symptom observation and symptoms of the recurrent situaton at home. And the way to management risk of the recurrent situation for medical profession. Ater the system was developed mean of perceived susceptibilty before develop system = 3.74, after develop syste, = 4.45, health behavior before develop system = 3.43, after develop system = 4.49. Patient weight before develop system = 58.84, after develop system = 53.2 it was lower significantly. Perceived barriers was lower significantly before develop system = 2.45, after develop syste, = 2.05. Relations and caregiver found that perceived severity was higher significantly from 3.75 to 4.55. Medical profession have more role in searching risk factor of recurrent situation in continuigly system. The recommendation for this research is follow and evaluation the system that develop continuingly in the same case. And analyze the way recurrent situation was happened, patient's behavior relations and caregivers. For evaluation proficiency and efficiency of risk management system for the recurrent of CHF at home prevention.