วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ ทำเพื่อศึกษาความคงตัวทางกายภาพ ทางเคมีและการเกิดเชื้อจุลชีพของยาเตรียมสไปโรโนแลคโตนความเข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรที่เตรียมสำหรับผู้ป่วยเฉพาะรายในโรงพยาบาล โดยบรรจุยาเตรียมในขวดต่างชนิดกัน 3 ประเภท ยาเตรียมสไปโรโนแลคโตนสำหรับผู้ป่วยเฉพาะรายเตรียมได้จากยาเม็ดสไปโรโนแลคโตนขนาด 25 มิลลิกรัมผสมกับน้ำกระสายยาให้มีความเข้มข้นของตัวยาสำคัญเท่ากับ 2 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร นำยาที่เตรียมได้บรรจุใส่ขวด HDPE, PET และขวดสีชา เก็บไว้ที่อุณหภูมมิ (5+-3 องศาเซลเซียส) และอุณหภูมิห้อง (25+-3 องศาเซลเซียส) นำตัวอย่าางยาจากขวดต่างๆ มาวิเคราะห์หาปริมาณตัวยาสไปโรโนแลคโตนเมื่อเตรียมเสร็จใหม่และที่เวลา 7,14, 30, 60 และ 90 วัน โดยใช้เทคนิคโครมาโตรกราฟฟี่สมรรถนะสูง ความคงตัวทางเคมีขอยาสไปโรโนแลคโตนในตำรับได้จากการการคำนวณร้อยละของยาที่เหลืออยู่ที่เวลาต่างๆ ร้อยละของยาสไปโรโนแลคโตนต้องมีค่ามากว่า 90 ของปริมาณยาตั้งต้นจึงจะจัดว่ายาเตรียมนั้นมีความคงตัว ทำการประเมินความคงตัวทางกายภาพและเชื้อจุลชีพเป็นระยะ ผลจากการศึกษา พบว่าปริมาณตัวยาสไปโรโนแลคโตนยังคงเหลืออยู่ในตำรับอย่างน้อยร้อยละ 90 ของปริมาณยาตั้งต้น เมื่อเวลาผ่านไป 30 วัน โดยไม่ขึ้นกับชนิดของภาชนะบรรจุ ลักษณะของยาเตรียม เช่นสีและการกระจายตัวของผงยาของตัวอย่างที่เก็บไว้ในตู้เย็นและที่อุณหภูมิห้องไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ค่าความเป็นกรด-ด่างของตำรับที่เก็บไว้ที่อุณหภูมมิห้องมีค่าลดลงเรื่อยๆ จากค่าตั้งต้น ไม่พบเชื้อจุลชีพในตำรับตลอดระยะเวลา 30 วัน จากผลการวิจัยพบว่า น้ำกระสายยาที่ใช้ในการเตรียมยาน้ำสไปโรโนแลคโตนสำหรับผู้ป่วยเฉพาะรายความเข้มขัน 2.0 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ทำให้ยาเตรียมมีอายุหนึ่งเดือนเมื่อเก็บไว้ที่อุณภูมิห้อง โดยไม่ขึ้นกับชนิดของขวดที่บรรจุยาเตรียม
The objectives of this study are to investigate physical, chemical, and microbiological stability of 2.0 mg/mL spironolactone extemporaneous suspension prepared in a hospital. The suspension was filled in three differenct types of bottles. An extemporaneous spironolactone suspensions were prepared from commercially available spironolactone 25-mg tablets using compounded suspending vehicles. The final concentration of spironolactone formulation was 2 mg/mL. Samples were separatelt filled in HDPE, PET and amber glass bottles then stored at 5+-3°C and room temperature (25+-3°C). A sample was collected from each bottle immediately after preparation and at 7,14, 30, 60 and 90 days. The high performance liquide chromatography was utilized for quantitative analysis of spironolactone in each sample. The chemical stability of spironolactone in suspensions was determined by calculating the percentage of the remaining spironolactone on each sampling interval. The acceptable stability was defined as retention of at leaset 90% of the initial spironolactone concentration. The physical and microbiological stabilities were intermittenly evaluated. The results revealed that at leaset 90% of the initial spironolactone concentration remained in the compounding suspensions for up to 30 days regardless of packaging material. There were no substantial changes in the appearence (color and consistency) of the samples stored at 5+-3°C and room temperature. The pH values of the samples kept at room temperature decreased significantly compared with the initial pH value. The suspension maintained microbiological stability for 30 days. In the conclusion, utilizing the studied suspending vehicle for the compounding of 2.0 mg/mL spironolactone extemporaneous suspension afforded a preparation stability for a month storage at room temperature regardless of material types of filling bottle.