การวิจัยเรื่อง นโยบายและแนวทางการพัฒนาระบบการตรวจพิจารณาภาพยนตร์โฆษณาทางสื่อโทรทัศน์ระบบดิจิทัล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศีกษาปัญหาและนโยบาย รวมถึงแนวทางการพัฒนาด้านโครงสร้างกระบวนการตรวจพิจารณา ด้านกฎหมาย และด้านบุคลากรในการตรวจพิจารณาภาพยนตร์โฆษณาทางสื่อโทรทัศน์ และเพื่อนำไปกำหนดเป็นนโยบาย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานด้วยการค้นคว้าวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และจัดการอภิปรายกลุ่มแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า จุดเริ่มต้นของระบบการตรวจพิจารณาภาพยนตร์โฆษณาทางสื่อโทรทัศน์เริ่มขึ้นตั้งแต่การโฆษณามีการถูกตรวจสอบจากคณะกรรมการเซ็นเซอร์ของหน่วยงานภาครัฐ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2510 จากนั้นมีจุดเปลี่ยนสำคัญปี พ.ศ. 2537 ยกเลิกการตรวจโฆษณาโดยภาครัฐ แต่ให้สถานีโทรทัศน์ตรวจพิจารณากันเอง นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการกำกับดูแลตนเอง จนปี พ.ศ. 2558 เป็นช่วงเวลาของการปรับเปลี่ยนระบบโทรทัศน์จากอนาล็อกเป็นดิจิทัล เป็นผลให้ต้องมีการปรับโครงสร้างระบบการตรวจพิจารณาภาพยนตร์โฆษณาทางสื่อโทรทัศน์ และจากผลการวิจัยมีข้อเสนอเชิงนโยบายและแนวทางการพัฒนาด้านโครงสร้างและกระบวนการตรวจพิจารณาภาพยนตร์โฆษราทางสื่อโทรทัศน์ ด้วยการเสนอให้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมในรูปแบบองค์กร มีการประสานงานกับ กสทช. จากนั้น เสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ 5 ชุด พร้อมทั้งกำหนดโครงสร้าง หน้าที่ของคณะกรรมการฯ ได้แก่ คณะกรรมการกำกับนโยบาย คณะกรรมการตรวจพิจารณาภาพยนตร์โฆษณา คณะทำงานรับเรื่อง/กลั่นกรอง คณะกรรมการอุทธรณ์ และคณะกรรมการจรรยาบรรณา โดยมีการเสนอองค์ประกอบของคณะกรรมการรวม 8 Model อีกทั้งเสนอให้กำหนดขั้นตอนใหม่ในการส่งงานโฆษณาเข้ารับการตรวจพิจารณา ทั้ง Pre-Censor / Post-Censor และเสนอให้คณะกรรมการตรวจพิจารณาฯ ชุดเดิม ทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกฝน (Trainer) ให้กับผู้ปฏิบัติงานของช่องดิจทัลกลุ่มใหม่ ด้วยการให้เข้ามามีส่วนร่วมกับการตรวจพิจารณาด้วยตนเอง เรียนรู้ไปพร้อมกับการปฏิบัติงานจริง (On the Job Training)
This research titles "Policies and Approached for the Digital TV Advertising Censorship System Development" has the main objective to study the problems and previous policies of the TV advertising censorship system. This study worked out an developing approach, structure, law/regulation, and human resources in the TV advertising censorship system whicch were leaded to policy making. The qualitative mixed method research methodology such as documentary research, in depth-interview, and specific focus group discussion were used in this research. The research found that the original of TV advertising censorship system was started since 2510 B.E. by the government censor agents. In 2537 B.E., however, the TV advertising censorship system was changed from goovernment censor agents to TV station self-regulation. That system was changed one more time when TV platform has been changed from analog to digital in 2558 B.E. The organization model with co-operation to Office of the National Broadcasting and Telecommunications Commission (NBTC) was issued by participator. The 5 Commission with their organization structure and roles were exhibited. Those commissions consisted of the policy regulate commission, the TV advertising censorship commissiom, the complaint acceptance and screened commission, the appeal commission, and the ethics commission. This research recommended 8 models of commissions composition and new procedures of TV advertisiong censorship both of pre-censor and post-censor. Moreover, recommended that the previous TV advertising censorship committees should be transferred to be trained for training the self-regulation principles to the new digital TV operator officers with on the job training.