การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในชุมชนมัสยิมหานคร กรุงเทพมหานคร จากการใช้รูปแบบการเสริมสร้างการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชุมชนอิสลาม กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในชุมชนมัสยิดมหานาค กรุงเทพมหานคร จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 23 คน จากการใช้รูปแบบการเสริมสร้างการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในชุมชนอิสลาม ผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้ในการดูแลตนเองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านพฤติกรรมสุขภาพ มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุพบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 น้ำหนักตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระดับความดันโลหิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า การเสริมสร้างการดูแลตนเองจะทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้ พฤติกรรมในการดูแลตนเอง และภาวะสุขภาพสอดคล้องกับการมีสุขภาพที่ดี จึงควรให้มีการสนับสนุนนำรูปแบบการเสริมสร้รางการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชุมชนอิสลาม เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนต่อไป
This is a quasi-experimental research, designed to study the self-care of the elderlies in community at the Mahanak Mosque, Bangkok. The group in the study is those over 60 years of age, living the vicnity of the Mahanak Mosque, Bangkok. There are 23 people in the study group. Utilizing the promotion of the self-care platform for the Islamic elderlied, the elderlies have a higher score in the self-care knowledge, statistically significant at 0.05. For the self-care behavior, there is a higher average score, statistically significant at 0.05. In the health of the elderlies category, it is found that the blood glucose level is slightly lower but not statistically significant at 0.05. The blood triglyceride level is higher. The body weight is lower, statistically significant at 0.05. The blood pressure is lower, statistically significant at 0.05. From this study it is concluded that the self-care will assist the elderlies to become more proficiant in the self-care behavior, more knowledgable. There should be some way to promote the self-care for the elderlies in the Islamic people. This will be the database for the development of quality of life in the elderlies.