DSpace Repository

ความคิดเห็นต่อวิชาชีพพยาบาลและปัญหาในการฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Show simple item record

dc.contributor.author อรพินท์ สีขาว
dc.contributor.author สุภาวดี ธนัพประภัศร์
dc.contributor.author พรศิริ พันธสี
dc.contributor.author Orapin Sikaow
dc.contributor.author Supawadee Tanaprapat
dc.contributor.author Pornsiri Pantasri
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing th
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
dc.date.accessioned 2023-03-19T09:35:40Z
dc.date.available 2023-03-19T09:35:40Z
dc.date.issued 1996
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1277
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อวิชาพยาบาลและศึกษาปัญหาในการฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติประชากรนักศึกษาชั้นปีที่ 2,3 และ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ จำนวน 169 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามสาเหตุที่เลือกเรียนพยาบาล แบบสอบถามความคิดเห็นต่อวิชาชีพพยาบาลก่อนและหลังเข้าเรียนพยาบาล และแบบสอบถามเกี่ยวปัญหาในการฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยทั้ง 6 ด้าน คือปัญหาสภาพแวดล้อมทางภายภาพในหอผู้ป่วย การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ความพร้อมในการฝึกปฏิบัติภาคปฏิบัติของนักศึกษา พฤติกรรมการนิเทศของอาจารย์ บรรยากาศกลุ่มเพื่อนและบรรยากาศในการทำงานของทีมการพยาบาล ผลการวิจัยพอสรุปได้ดังนี้ 1.สาเหตุอันดับแรกที่นักศึกษาเลือกเรียนวิชาชีพพยาบาล คือ บิดา-มารดา หรือผู้ปกครองอยากให้เรียน (ร้อยละ 28.4) อันดับสองคือ สนใจและชอบวิชาชีพนี้ (ร้อยละ 23.1) และอันดับที่สามคือ เรียนสำเร็จแล้วหางานทำได้ง่าย (ร้อยละ 21.9) 2.นักศึกษาชั้นปีที่ 2 เช่นเดียวกับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีความเห็นต่อวิชาชีพพยาบาล ก่อนและหลังเข้าเรียนพยาบาลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มีคะแนนต่อวิชาชีพพยาบาลสูงกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 3 ทั้งก่อนและหลังเข้าเรียน นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีคะแนนความคิดเห็นต่อวิชาชีพพยาบาล หลังเข้าเรียนต่ำกว่าก่อนเข้าเรียนพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <.05) 3.ปัญหาด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพในหอผู้ป่วย ปัญหาด้านพฤติกรรมการนิเทศของอาจารย์ ระหว่างนักศึกษาชั้นปีที่ 2,3 และ 4 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4.นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ประสบปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติน้อยกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <.05) 5.ปัญหาด้านความพร้อมในการฝึกภาคปฏิบัติโดยรวมของนักศึกษาชั้นปีที่ 2,3 และ 4 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเฉพาะความพร้อมด้านสุขภาพความพร้อมด้านจิตใจ แต่ความพร้อมด้านสมองพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีคะแนนความพร้อมด้านสมองสูงกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <.05) 6.นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ประสบปัญหาด้านบรรยากาศกลุ่มเพื่อนน้อยกว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <.05) และประสบปัญหาในการทำงานร่วมกับทีมการพยาบาลน้อยกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <.05) 7.ปัญหาการขึ้นฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยทั้ง 6 ด้านพบว่านักศึกษาชั้นปีที่ 3 ประสบปัญหาด้านการฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยมากที่สุด นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ประสบปัญหาด้านนี้น้อยที่สุด th
dc.description.abstract The purposes of this descriptive study were to investigate nursing students toward the nursing profession and to study the problems of clinical practicum at Hua Chiew Chalermprakiet University. One hundred and sixty nine sophomore, junior, and senior nursing students were to Asked to fill in three questionnaires on their opinions toward the profession prior to and after their enrollment in the nursing program and on problems occurring during their practicum training. The questions were defined in six areas : the facilities of the practicum area, the management of the nursing practice course, students’ readiness for nursing practice, supervising behavior of the instructors, peer group atmosphere, and cooperation among team members. The results of the study indicated that: 1.The reasons for enrollment in nursing were : fulfillment of parental desires (28.4 %), students’ own interest and their positive attitudes toward the profession (23.1%) and employment opportunities (21.9%) 2.There was no significant difference in the scores on the opinions toward the profession prior to and after enrollment in the sophomores and the juniors. In contrast, the seniors’ scores showed that their attitudes toward the profession were statistically lower after joining the program. 3.There was no statistical difference among the sophomore, junior, and senior students regarding the problems in the facilities of the practicum area and in supervising behavior of the instructors. 4.The senior students demonstrated significantly fewer problems related to management of the nursing practices courses than the other two groups (P <0.05). 5.There was no statistical difference among the sophomores, juniors, and seniors in the problems related to students’ readiness for nursing practice, especially in terms of physical and mental health. However, the senior students had significantly higher intel-lectual scores than the other two groups (P <0.05). 6.The sophomores demonstrated significantly fewer problems related to peer group atmosphere than the seniors (P <0.05) and significantly fewer problems regarding cooperation among team members juniors and the seniors (P <0.05). 7.Overall, the juniors expressed more problems in clinical practice than the sophomores and the seniors (P <0.05). th
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject นักศึกษาพยาบาล -- ทัศนคติ th
dc.subject Nursing students -- Attitudes th
dc.subject การฝึกภาคปฏิบัติ th
dc.subject Clinical practice th
dc.title ความคิดเห็นต่อวิชาชีพพยาบาลและปัญหาในการฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.title.alternative Opinions Concerning of Nursing Profession and Nursing Problems in Clinical Practice of Nursing Students at Huachiew Chalermprkiet University th
dc.type Technical Report th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account