DSpace Repository

การพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมในสถานศึกษาของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดสมุทรปราการ

Show simple item record

dc.contributor.author อภิชัจ พุกสวัสดิ์
dc.contributor.author Apichat Puksawadde
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Communication Arts th
dc.date.accessioned 2023-03-19T09:49:17Z
dc.date.available 2023-03-19T09:49:17Z
dc.date.issued 2020
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1278
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานภาพการจัดกิจกรรมนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อศึกษาสถานภาพการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสมุทรปราการ รวมทั้งเพื่อสร้างรูปแบบนวัตกรรมการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสมุทรปราการ ตลอดจนเพื่อสร้างการยอมรับรูปแบบนวัตกรรมการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสมุทรปราการจากอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรม งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ 1) การวิจัยคุณภาพ เลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเฉพาะเจาะจงและใช้การสนทนากลุ่มย่อยกับอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมและนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 10 คน 2) การวิจัยเชิงปริมาณ เลือกกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของ Taro Yamane ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลกับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 400 คน 3) การวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเฉพาะเจาะจงและใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 30 คน และ 4) การวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเฉพาะเจาะจงและใช้การสนทนากลุ่มย่อยกับอาจารย์ที่ปรึกษาจำนวน 10 คน ผลการวิจัย พบว่า การจัดกิจกรรมในสถานศึกษาประกอบด้วย 1) รูปแบบและลักษณะของกิจกรรมแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ (1.1) กิจกรรมของภาคส่วนตต่างๆ ของโรงเรียน (1.2) กิจกรรมที่ดำเนินงานโดยสภานักเรียน 2) รูปแบบและการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์กิจกรรม ประกอบด้วย (2.1) กระบวนการวางแผนการสื่อสารและ (2.2) การออกแบบเนื้อหา 3) กระบวนการวางแผนกิจกรรมประกอบด้วย (3.1) การวางแผนและออกแบบกิจกรรม (3.2) การปฏิบัติการและการสื่อสาร และ (3.3) การประเมินผลกิจกรรม ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมในขั้นตอนของการวางแผนกิจกรรมโรงเรียนในระดับ "ปานกลาง" และมีส่วนร่วมในระดับปฏิบัติการในระดับ "ปานกลาง" ด้านการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมในสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีส่วนร่วมในฐานะผู้รับสารในระดับ "มาก" การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมี 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมความคิด ประกอบด้วย (1.1) วิเคราะห์บริบทโรงเรียน (1.2) ประเมินความสามารถทางการสื่อสาร ผู้ให้ข้อมูลมีความสามารถในการใช้นวัตกรรมการสื่อสารระดับ "ปานกลาง" และ (1.3) ตั้งโจทย์การวิจัย ผู้ให้ข้อมูลใช้การเล่าเรื่องอัตลักษณ์โรงเรียน และใช้การเล่าเรื่องผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ของสถาบันการศึกษา 2) ขั้้นปฏิบัติการ ประกอบด้วย (2.1) ผู้ให้ข้อมูลมีส่วนร่วมในการวางแผนการปฏิบัติการภายใต้กรอบแนวคิด PDCA (Plan, Do, Check, Action) (2.2) การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลมีส่วนร่วมในฐานะผู้รับสาร/ผู้ใช้สาร/มีส่วนร่วมในฐานะผู้ส่งสาร/ผู้ผลิตสื่อ/มีส่วนร่วมในฐานะผู้วางแผน 3) ขั้นถอดบทเรียน ประกอบด้วย (3.1) การประเมินความสามารถทางการสื่อสาร โดยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลมีความสามารถในการใช้นวัตกรรมการสื่อสารในระดับ "มาก" (3.2) การประเมินทักษะที่เกิดขึ้นกับผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่กิจกรรมนักเรียน มีความรู้ ความสามารถในการจัดกิจกรรมในระดับ "มาก" และมีคุณลักษณะส่วนบุคคลในระดับ "มากที่สุด" การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมในสถานศึกษา ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากตัวแปรของงานวิจัยซึ่งประกอบด้วยย กระบวนการวางแผน (Planning) การวางแผนแบบมีส่วนร่วม (Participatory Student Affair Planning) รูปแบบกิจกรรม (Pattern) และการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม (Participatory Communication) th
dc.description.abstract This research aimed to study the upper secondary schools in Samutprakarn province regarding the following: the status of school activity arrangement, the status of students' participatory communication in school activity arrangement, the pattern of innovative participatory communication in school activity arrangement, and the acceptance the pattern of innovative participatory communication in school activity arrangement in the viewpoints of school activity advisors. The research had been organizing using mix methods of qualitative and quantitative research in 4 steps as follows: 1) Qualitative research, the researcher gathered data by interviewing 10 selectied purposively school activity advisors and secondary students 2) Quanitative research, the researcher used the questionnaire to collect data from 390 secondary students, the sample size of which was determined from using Yamane formula. 3) Qualitative research, the researcher gathered data by using participatory action research with 30 purposively secondary students. 4) Qualitative research, the researcher gathered data by using focus group interview with 10 selected purposively school activity advisors. The following were the research findings: The status of school activity arrangement comprised 1) activity patterm and nature activity that includes: 1.1) school activity of the sector, and 1.2) school activity of student council; 2) communication process of activity arrangement that include 2.1) Communicaton process plan, and 2.2 PR message design; 3) student affairs planning process that include 3.1) activity arrangement planning, 3.2) operating and communication action and 3.3) activity evaluation. In parts of the status of students' participatory communication in school activity arrangement, the samples' participation in student affairs planning process were evaluated as in the moderate level. The samples' participatory practitioner were evaluated as in the moderate level. The samples' performance as audience or user were evaluated as in the much level. In terms of participatory action research, there were 3 steps. The first is the preparation of ideas that consists of 1) analysis of school context 2) communication competence evaluation pre-participatory action research, in which the samples' innovative communication skills were evaluated as in the moderate level, and 3) research problem setting in which the samples used story telling of school identity via school PR media. The second step is the operating procedure that includes 1) the samples took part in implementation process under the concept of PDCA (Plan, Do, Check, Action) 2) participatory communication in which the samples took part in every step of participatory communication as a receiver or user, as a sender or media producer, and as a planner. The third step is the lession learned visualizing that includes 1) communication competence evaluation, in the post-participatory action research, in which the samples'innovative communication skills were evaluated as in the much level 2) skill evaluation, in the post-participatory action research, in which the samples' responsibility for school based activity assignment; their knowledge of school activity arrangement were evaluated as in the much level, and personal attributes were evaluates as in the much level. The variables derived from research findings were used to create the pattern of development of innovative participatory communication in school activity. The pattern comprises planning, participatory student affair planning, pattern and participatory communication. th
dc.description.sponsorship การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติปีการศึกษา 2561 th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject โรงเรียนมัธยมศึกษา -- ไทย -- สมุทรปราการ th
dc.subject High schools -- Thailand -- Samut Prakarn th
dc.subject นวัตกรรมทางเทคโนโลยี. th
dc.subject Technological innovations th
dc.subject การสื่อสาร th
dc.subject Communication th
dc.title การพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมในสถานศึกษาของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดสมุทรปราการ th
dc.title.alternative Development of Innovative Participatory Communication in School Activities of Upper Secondary Schools in Samutprakarn Province th
dc.type Technical Report th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account