DSpace Repository

ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุในชุมชน

Show simple item record

dc.contributor.advisor จริยาวัตร คมพยัคฆ์
dc.contributor.advisor วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย
dc.contributor.advisor Jariyawat Kompayak
dc.contributor.advisor Vanida Durongrittichai
dc.contributor.author พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์
dc.contributor.author Phatcharaphan Chaiyasung
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
dc.date.accessioned 2022-04-23T10:31:22Z
dc.date.available 2022-04-23T10:31:22Z
dc.date.issued 2009
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/128
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2552 th
dc.description.abstract การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิต ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกอย่างเจาะจงจากผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงเกินระดับ 1 ขึ้นไป และมารับการตรวจรักษาที่สถานีอนามัยตำบลทับตีเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 54 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเอง และแบบสอบถามพฤติกรรมดูแลตนเอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.78 การดำเนินการวิจัยเริ่มจากประเมินความดันโลหิตและพฤติกรรมการดูแลตนเอง จากนั้นดำเนินการตามโปรแกรม 4 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ขั้นสลายพฤติกรรมและขั้นสร้างมนุษยสัมพันธ์และเกิดปฏิสัมพันธ์ ครั้งที่ 2 ขั้นสร้างมนุษย์สัมพันธ์เกิดปฏิสัมพันธ์และขั้นสร้างสรรค์ก่อเกิดความคิดริเริ่ม ครั้งที่ 3 ขั้นสร้างสรรค์ก่อเกิดความคิดริเริ่มและขั้นการระดมความคิด ครั้งที่ 4 ขั้นการระดมความคิดและขั้นประเมินผล ใช้ระยะเวลา 10 สัปดาห์ จึงวัดความดันโลหิต และพฤติกรรมการดูแลตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (paired t-test) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในวัยสูงอายุ มีระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษาและไม่ได้ทำงาน ส่วนใหญ่รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาทและป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงน้อยกว่า 5 ปี ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเอง อาการที่ปรากฏในระยะ 1 ปีที่ผ่านมาพบว่าเวียนศีรษะมากที่สุดคือ ร้อยละ 59.3 พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำแนกรายด้านพบว่าด้านการปฏิบัติตัวทั่วไปค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.0 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.4 ด้านการรับประทานยาและการเลือกอาหารค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.0 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.4 ด้านการออกกำลังกาย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.2 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.7 และด้านการผ่อนคลายความเครียดค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.4 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.6 และหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองพบว่ามีอาการเวียนศีรษะคิดเป็นร้อยละ 37.0 พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองพบว่า อยู่ในระดับดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเอง ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองในภาพรวมหลังเข้าโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเอง ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองในภาพรวมหลังเข้าโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.001) โดยพฤติกรรมการดูแลตนเอง ด้านการปฏิบัติตัวทั่วไปด้านการรับประทานยาและเลือกอาหารไม่แตกต่างจากก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.09 และ 0.08) ขณะที่ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการออกกำลังกายและด้านการผ่อนคลายความเครียดสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p=0.001) สำหรับระดับความดันโลหิตภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมพบกว่าต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.001) ผลการวิจัยเสนอแนะให้พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและบุคลากรสาธารณสุขประยุกต์โปรแกรมส่งการดูแลตนเองแก่ผู้ที่มีระดับความดันโลหิตสูงเกิน 1 ในชุมชนอื่นๆ th
dc.description.abstract The objective of this quasi-experimental reserach is to investigate the effectiveness of Promoting Self-care Behavior Program on Self-care Behavior and Blood Pressure Level in essential hypertensive clients. The purposive sampling was employed and the 54 patients who has high blood pressure at the first level and continue their hypertensive drugs at Tabteelek health service center, Amphur Mueng, Supanburi province were selected. The research instruments were the Promoting Self-care Behavior Program and questionnaire related to self care behaviors. The content validity and reliability of the questionnaire related to self care behaviors. The content validity and reliability of the questionnaire were tested, the alpha coefficient was 0.78. The research process were composed of blood pressure assessment, self-care behavior assessment, and self-care behavior program implementation, respectively. The Promoting Self-care Behavior Program consisted of 4 times in 10 weeks: 1)Ice Breaking and Humanization with interaction 2) Humanization with interaction and Creation 3) Creation and Brain stroming and 4) Brain stroming and Evaluation. Data were analyzed by percentage, average, standard deviation, and paired t-test. The result of this research found that the major of sample study were female, aging, income lower than 5,000 baht, and had high blood pressure at the first level less than 5 years, 59.3 percentage had dizziness in the past year. For their self-care bahaviors before Self-Care Behavior program, means of their basic self-care were 3.0, S.D = 0.4 means of their drug administration and diet management were 3.0, S.D. = 0.4 means of their exercise behavior were 3.2, S.D. = 0.7 and means of their stress management were 3.4, S.D. = 0.6 respectively. After program, 37.0 percentage had dizziness. All of their self-care behaviors were better than before program (p=0.001). But means of the basic self-care behaviors, drug administration and diet management were non-significantly different (p=0.09 and 0.08). However, means of the exercise behavior and stress management were significantly different (p=0.001). Also, blood pressure level, especially systolic score, were significantly decrease (p=0.001). The suggestions from this research were the Community Nurse Practitioner and health care personnel should apply this program for the high blood pressure level 1 in other communities. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject ความดันเลือดสูง -- ผู้ป่วย th
dc.subject การส่งเสริมสุขภาพ th
dc.subject การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง th
dc.subject Hypertension -- Patients
dc.subject Health promotion
dc.subject Self-care, Health
dc.title ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุในชุมชน th
dc.title.alternative The Effectiveness of Promoting Self-Care Behavior Program on Self-Care Behavior and the Blood Pressure Level in Essential Hypertensive Clients in Community. th
dc.type Thesis th
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account