dc.contributor.author |
โสภา อ่อนโอภาส |
|
dc.contributor.author |
นวลใย วัฒนกูล |
|
dc.contributor.author |
นุชนาฎ ยูฮันเงาะ |
|
dc.contributor.author |
Sopa Onopas |
|
dc.contributor.author |
Nuanyai Wattanakoon |
|
dc.contributor.author |
Nutchanat Yuhanngoh |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
th |
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
|
dc.date.accessioned |
2023-03-28T02:29:58Z |
|
dc.date.available |
2023-03-28T02:29:58Z |
|
dc.date.issued |
2000 |
|
dc.identifier.uri |
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1292 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยเรื่อง “สัมฤทธิผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม : กรณีศึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการจัดกิจกรรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มที่มีผลต่อการเรียนรู้ตนเองและสังคมระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองและเพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรมให้คำปรึกษาแบบกลุ่มแก่นักศึกษา โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง ซึ่งได้เข้าร่วมกิจกรรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มจำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมซึ่งไม่ได้รับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม จำนวน 30 คน ผลการวิจัยโดยวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ กลุ่มทดลองมีการเรียนรู้ตนเองและสังคมโดยภาพรวม 4 ด้าน คือ การเห็นคุณค่าในตนเอง และความมั่นใจในตนเอง การมีระเบียบวินัยและการวางแผนชีวิต การจัดการกับอารมณ์และความเครียด และการเข้าใจและเห็นใจผู้อื่น สูงกว่าแต่ก่อนการทดลอง ซึ่งสอดคล้องกับการวิเคราะห์ข้อมูล จากบันทึกการประชุมกลุ่ม พบว่าสมาชิกโดยส่วนใหญ่เห็นคุณค่าและมีความมั่นใจในตนเองสูงขึ้น สามารถที่จะวางแผนการเรียนและการดำเนินชีวิตตัวเองได้ นอกจากนี้เมื่อเกิดความเครียดนักศึกษามีแนวทางที่จะจัดการกับอารมณ์และความเครียดได้ ตลอดจนมีความสนใจในปัญหาและต้องการช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความจริงใจ ในขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่ากลุ่มทดลองมีการเรียนรู้ตนเองและสังคมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2 ด้าน คือ การมีระเบียบวินัยและการวางแผนชีวิต และด้านการจัดการกับอารมณ์ และความเครียด สำหรับรูปแบบที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม ควรมีลักษณะดังนี้ จำนวนสมาชิกกลุ่มควรมี 5-7 คน และใช้ระยะเวลาการจัดกลุ่มแต่ละครั้งประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาทีโดยมีความถี่สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จำนวน 10 ครั้ง ลักษณะของกลุ่มควรเป็นกลุ่มแบบปิด มีลักษณะการนั่งเป็นวงกลมหันหน้าเข้าหากัน โดยมีสมาชิกเป็นศูนย์กลาง สำหรับสถานที่ควรมีความเป็นส่วนตัว ลักษณะผู้นำกลุ่มควรเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหรืออาจารย์ประจำคณะวิชาที่นักศึกษาสังกัดอยู่ ในขณะที่สมาชิกกลุ่มควรจะเป็นผู้ที่มีความสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม ตลอดจนเนื้อหาของกิจกรรมควรเน้นในเรื่องที่มีความใกล้เคียงกับช่วงวัยของนักศึกษา ข้อเสนอแนะ ควรทดลองจัดกิจกรรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มแก่นักศึกษาที่ประสบปัญหาด้านการเรียนเพื่อป้องกันการพ้นสภาพนักศึกษาหรือการแก้ไขปัญหาที่ไม่เหมาะสม |
th |
dc.description.abstract |
This research on group counseling effectiveness : case study on first year students of Huachiew Chalermprakiet University is aimed to study and compare the effects of group counseling on self-learning of controlled group and experimental group and to find a suitable style of group counseling for students. 60 samples include 30 students of the experimental group participating in the group counseling and 30 students of the controlled group not participate in to. The research can be concluded after analysis of statistical data that the experimental group can better learn themselves and the society in 4 aspects being self-esteem and self-confidence, discipline and life planning, emotional and seriousness control as well as understanding and empathy toward other persons. This conclusion is according to the data analyzed from the minutes of group meetings which show us that most members have higher self-esteem and self-confidence, and plan their study and life, know how to control their emotion and seriousness and pay attention to others’ problems and sincerely wants to help them. When comparing the experimental group with the controlled group, we realize that the experimental group can better learn themselves and the society in 2 aspects being discipline and life planning as well as emotional and seriousness control. The suitable style of group counseling for students : there should be 5-7 group members and each activity should last for 1 hour and 30 minutes and one activity should be provided every week for 10 weeks. Should be closed-group and group members should sit in a circle facing each other in a private place. The group leader should be their general adviser in their faculty and the group member should be willing to participate in the group counseling and the subject of which should be related to their age. Suggestion: group counseling should be experimentally provided for the students having learning problems for preventing their retirement of unsuitable solution to such problems |
th |
dc.description.sponsorship |
ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2543 |
th |
dc.language.iso |
th |
th |
dc.publisher |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
th |
dc.subject |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ -- นักศึกษา |
th |
dc.subject |
Huachiew Chalermprakiet University -- Students |
th |
dc.subject |
การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม |
th |
dc.subject |
Group counseling |
th |
dc.title |
สัมฤทธิผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม : กรณีศึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
th |
dc.title.alternative |
A Study of Group Counseling Effectiveness : Case Study on First Year Students of Huachiew Chalermprakiet University |
th |
dc.type |
Technical Report |
th |