การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ และปัจจัยคัดสรรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็น นักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 435 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองประกอบด้วย แบบรวบรวมข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา แบบวัดการรับรู้ประโยชน์ต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการกับความเครียด และด้านพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ แบบวัดการรับรู้อุปสรรคต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการสร้างเสริมสุขภาพ แบบวัดอิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ แบบวัดอิทธิพลด้านสถานการณ์สิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย และแบบวัดพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึงกันยายน พ.ศ. 2552 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการกับความเครียด อยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.96 (SD=0.57), 2.73 (SD=0.88) และ 3.11 (SD=0.57) ตามลำดับ ยกเว้นด้านพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ อยู่ในระดับต่ำ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.17 (SD=0.46) 2. การรับรู้ความสามารถตนเองต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การรับรู้อิทธิพล ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการรับรู้ประโยชน์ต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการกับความเครียด และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ เป็นปัจจัยที่ถูกคัดสรรและสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ร้อยละ 63.30 (R[superscript2]=0.633, P<0.01) ซึ่งสามารถเขียนสมการทำนายพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัวหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้ สมการถดถอยในรูปของคะแนนดิบ คือ พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการกับความเครียด และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ = 45.681+2.220 (การรับรู้ความสามารถของตนเอง) + 0.653 (การรับรู้อิทธิพลของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล) + 0.435 (การรับรู้ประโยชน์ต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ) จากสมการถดถอยที่ได้ พบว่า การรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้อิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการรับรู้ประโยชน์ต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ สามารถร่วมกันอธิบายพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการกับความเครียด และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้ ร้อยละ 63.30 (R[superscript2]=0.633) ผลการวิจัยให้ข้อเสนอแนะว่า แนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพด้านบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการกับความเครียด และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ควรเน้นถึงการรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้อิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการรับรู้ประโยชน์ต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเป็นหลัก
The purpose of this research was to study health promoting behaviors and factors predicting promoting behaviors on nutrition, exercise, coping with stress, and sexual risk behavior among undergraduate students in Huachiew Chalermprakiet University. Multi-stage sampling method was used to recruit a sample, which consisted of 435 undergraduate students in Huachiew Chalermprakiet University. The instruments consisted of a four-levels rating-scales questionnaire on perceived benefit, perceived barrier, perceived self-efficacy, international influence and situational influence, and a five-levels rating-scaled questionnaire on health-promoting behaviors. The data were collected from July to September 2009. Frequency, percent, mean, standard deviation and stepwise multiple regression were employed to analyzed the data. The results of the study were as follows: 1. Undergraduate students in Huachiew Chalermprakiet University showed a middle level in the overall of health-promoting behaviors (mean=2.24, SD=0.62). Health-promoting behaviors on nutrition (mean=2.96, SD=0.57), exercise (mean=2.73, SD=0.88), and coping with stress (mean=3.11, SD=0.57) were also in moderate level, while that on sexual risk behavior was in low level (mean=0.17, SD=0.46). 2. Three variables: perceived self-efficacy, interpersonal influence and perceived benefit of health-promoting behaviors on foods, exercise, coping with stress and sexual risk behavior were significant predictors of the health-promoting behaviors among undergraduate students in Huachiew Chalermprakiet University at the percentage of 63.30 (R[superscript2]=0.633, P<0.01). The regression equation in raw score was shown as follows: Health-promoting behavior among level 1-4 undergraduate students in Huachiew Chalermprakiet University was 45.681 + 2.220 (Perceived self-efficacy) + 0.653 (Interpersonal influence) + 0.435 (Perceived benefit). The results suggest that ways for developing health-promoting behaviors on nutrition, exercise, coping with stress and sexual risk behavior among undergraduate students in Huachiew Chalermprakiet University should utilize perceived self-efficacy, interpersonal influence and perceived benefit as strategies in a health promotion program.