DSpace Repository

แนวทางการพัฒนากิจกรรมและสื่อการเรียนรู้ศิลปะเพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งกันของนักเรียนระดับประถมศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.author ปทุมา บำเพ็ญทาน
dc.contributor.author Patumma Bumpentan
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Communication Arts th
dc.date.accessioned 2023-03-30T14:01:33Z
dc.date.available 2023-03-30T14:01:33Z
dc.date.issued 2019
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1298
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์และแนวคิดการจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งของนักเรียนประถมศึกษาในทัศนะของครูทัศนศิลป์ 2) ศึกษาความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนากิจกรรมที่ควรจะเป็น และ 3) ประเมินและนำเสนอแนวทางการพัฒนากิจกรรม การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับพัฒนาแนวทาง ประกอบด้วย 1.1) ศึกษาสถานการณ์และแนวคิดเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมศิลปะด้วยการสัมภาษณ์ครูทัศนศิลป์ของโรงเรียนประถมศึกษาจำนวน 5 คน 1.2) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนากิจกรรมที่ควรจะเป็นด้วยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 8 คน ในด้านการจัดการศึกษาศิลปะ ศิลปะบำบัด จิตวิทยาเด็ก และการออกแบบสื่อการเรียนรู้ และ 2) พัฒนาและนำเสนอแนวทางการจัดกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการพัฒนาแนวทางการจัดกิจกรรมสรุปได้ว่า หลักการและจุดมุ่งหมายของกิจกรรมคือ การใช้กิจกรรมศิลปะเป็นสะพานเชื่อมสื่อสารอารมณ์และความรู้สึกภายในของผู้เรียน ผ่านการแสดงออกและถ่ายทอดเป็นผลงานศิลปะ เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าในตนเอง เคารพและมีเจตคติที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น เนื้อหาสาระของกิจกรรมเป็นไปตามหลักสูตร บูรณาการกับประเด็นต่าง ๆ โดยยกกรณีศึกษาหรือกำหนดสถานการณ์ให้ผู้เรียนคิดเชื่อมโยงกับเรื่องราวในชีวิตประจำวัน กระบวนจัดกิจกรรมแบ่งเป็น 5 กระบวนการ คือ 1) รับรู้ข้อมูล (Recognition) สังเกตและเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกตนเอง 2) ปลดปล่อย (Release) แสดงความรู้สึก และสร้างสรรค์งานศิลปะที่หลากหลาย 3) สร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น (Relationship) โดยทำงานกลุ่ม ช่วยเหลือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 4) สะท้อนคิด (Reflection) ฝึกสะท้อนคิด วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ ประเมินผลงานของตนเอง และการให้และรับข้อมูลย้อนกลับจากผู้สอน และ 5) การเสริมแรงทางบวก (Reinforcement) การชื่นชมให้กำลังใจ สื่อและอุปกรณ์จัดกิจกรรมสามารถใช้อุปกรณ์ศิลปะทั่วไปที่สอดคล้องกับกิจกรรม สร้างบรรยากาศเชิงบวก ความสัมพันธ์ที่ดี ประเมินผลการเรียนรู้ 3 ด้าน ทั้งพฤติกรรม ผลงาน และประเมินความสำเร็จในสิ่งที่ผู้เรียนทำได้ดี โดยมีปัจจัยสนับสนุนการจัดกิจกรรมคือ 1) ความเข้าใจที่มีต่อผู้เรียนทั้งด้านธรรมชาติของผู้เรียน การอบรมเลี้ยงดู และวุฒิภาวะ 2) ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดี 3) โรงเรียนและหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ สร้างระบบเฝ้าระวัง สร้างกลุ่มและเครือข่ายเด็กดี 4) ครูทุกรายวิชาควรร่วมมือกันจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 5) ครอบครัวต้องให้ความร่วมมือ ผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางการพัฒนากิจกรรมต่อครูทัศนศิลป์ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ และผู้นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ จำนวน 59 คน ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางพบว่า ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (x̄= 4.46 และx̄=4.22) โดยผลการประเมินกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.58) ส่วนความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก (x̄=4.41) th
dc.description.abstract The purposes of this research were 1) to study the situation and concept of organizing art activities to prevent bullying of elementary school students in the view of visual arts teachers, 2) to study experts’ opinions on how activities should be developed, and 3) to evaluate and present the activities development guidelines. The research was divided into two phases: 1) studying fundamental information for develop the guideline that consisted of 1.1) Studying the situation and concept of organizing art activities by interviewing 5 elementary school visual arts teachers. 1.2) Studying opinions on how activities should be developed by interviewing 8 experts in the field of art education management, art therapy, child psychology, and learning media design. 2) Developing and presenting the activities guideline. The data were analyzed by using frequency, means, standard deviation, and content analysis. As the result of the activities development guideline concluded: The principle and aim of the activity are to use art activities as an entry point to communicate the inner emotions and feelings of the students through expression and conveying it as a work of art to develop self-esteem, respect, understand, and have a positive attitude towards oneself and others. The contents of the activities follow the curriculum, integrated with various issues by raising case studies for students to think about in connection with everyday stories. The activity process is divided into 5 processes: 1) Recognition: observe and understand self-emotions. 2) Release: express feelings and create a variety of artworks. 3) Relationship: build relationships by working in groups, helping, and exchanging ideas. 4) Reflection: practice self-reflection, constructive criticism, self-evaluate, and giving and receiving feedback from teachers. 5) Reinforcement: encouraging appreciation. Media and equipment can use general art equipment that corresponds to the activities. Build a positive atmosphere. Evaluate learning outcomes in 3 aspects: behavior, performance, and achievements in what learners do well. The factors supporting the activities are: 1) Understanding the learner's natural, nurture and maturity. 2) Teachers must be role models. 3) Schools and sectors create surveillance systems. Create good children's groups and networks. 4) Teachers of all subjects should collaborate on learning activities. 5) Families should be collaborative. The researcher presented the activities development guidelines to 59 visual arts teachers, other department teachers, and stakeholders. The evaluation of propriety and feasibility of the guidelines were as follows: The overall mean score for propriety and feasibility evaluation were at high level (x̄= 4.46 and =x̄ 4.22). The evaluation of the learning activity process was propriety at highest level (x̄= 4.58), while the feasibility evaluation was at high level (x̄= 4.41). th
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ประจำปี พ.ศ.2562 th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject จิตวิทยาเด็ก th
dc.subject Child psychology th
dc.subject พัฒนาการของเด็ก th
dc.subject Child development th
dc.subject ศิลปกรรมบำบัด th
dc.subject Art therapy th
dc.subject การกลั่นแกล้งในโรงเรียน th
dc.subject Bullying in schools th
dc.title แนวทางการพัฒนากิจกรรมและสื่อการเรียนรู้ศิลปะเพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งกันของนักเรียนระดับประถมศึกษา th
dc.title.alternative Guidelines for Developing the Art Learning Activities and Media to Prevent Bullying among Primary School Students th
dc.type Technical Report th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account