การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของนักเรียน ศึกษาความรู้ ความสามารถและพฤติกรรมสุขภาพในการดูแลตนเองของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนขนาดใหญ่ 1 โรง จำนวน 24 คน และโรงเรียนขนาดเล็ก 1 โรง จำนวน 27 คน โดยรูปแบบการดูแลตนเองประกอบด้วยเรื่องการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อนนอนหลับ การขับถ่าย การทำความสะอาดร่างกาย การเปลี่ยนแปลงทางด้านกายวิภาคและสรีระวิทยาในวัยรุ่น การมีเพศสัมพันธ์และความรู้เรื่องเพศศึกษาและคุมกำเนิด การเสพสิ่งเสพติดและความรู้เรื่องสิ่งเสพติด การดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย การดูแลสุขภาพจิตของตนเอง การป้องกันโรคและอุบัติเหตุต่าง ๆ ผลการวิจัยภายหลังการใช้รูปแบบการดูแลตนเอง พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยความรู้ ความสามารถ และพฤติกรรมสุขภาพในการดูแลตนเองสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.005 ซึ่งเป็นผลจากการใช้รูปแบบการดูแลตนเอง จากการวิจัยครั้งนี้สรุปว่า การเสริมสร้างการดูแลตนเองจะทำให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความรู้ ความสามารถและพฤติกรรมสุขภาพในการดูแลตนเอง ซึ่งจะส่งผลให้มีภาวะสุขภาพที่ดี จึงควรให้มีการสนับสนุนในการนำรูปแบบการดูแลตนเองของนักเรียนไปประยุกต์ใช้ในระดับต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน ซึ่งจะเจริญเติบโตเป็นกำลังของชาติต่อไป
The quasi-experimental research aims to develop a good pattern of self-care for students. The methodology of the study is to observe the knowledge, ability and behavior in relation to self-care of fifty – one Mathayom Suksa 4, in which twenty-four students were randomly selected from a large school and another twenty – seven students were randomly selected from a small school, under the Department of General Education, within Bangkok. The study takes into account the following factors : nutrition, exercise, resting and sleeping, excretion hygiene, personal hygiene, anatomy and physical changes in adolescent, sexual behavior, sex education and birth control, narcotics consumption and knowledge on narcotics, maintaining of physical and mental health, and disease and accident prevention. The result of this study indicates that the pattern of self-care employed helped the students significantly improve their knowledge, ability, and behavior of self-care, to the level of 0.05. This study concludes that the self-care pattern can improve knowledge, ability, and self-care behavior of Mathayom Suksa 4 students. It is, therefore, should be further applied to students in different levels to improve their quality of life and become an importance force of the nation in the future.