การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังการสอน และเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องกระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการสอนแบบปกติ กับการสอนแบบเน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปี 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่กำลังศึกษาวิชากระบวนการพยาบาลและการประเมินภาวะสุขภาพ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546 จำนวน 66 คน ซึ่งได้จากการแบ่งนักศึกษาในชั้นเรียนตามผลการเรียนแล้วสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากแต่ละกลุ่มผลการเรียน เป็นกลุ่มควบคุม 33 คน กลุ่มทดลอง33 คน ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือดังนี้ 1) แผนการสอนกระบวนการพยาบาลแบบปกติและแผนการสอนที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) แบบประเมินความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) แบบประเมินความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาล 4) ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องกระบวนการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows ใช้ค่าสถิติคือค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบที (T-test) ผลการศึกษาพบว่า 1.ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาหลังได้รับการสอนที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าแต่ก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2.ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาที่ได้รับการสอนที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณกับกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติไม่แตกต่างกัน 3.ความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาที่ได้รับการสอนที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .005 4.ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนเรื่องกระบวนการพยาบาลของนักศึกษาที่ได้รับการสอนที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณกับกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติไม่แตกต่างกัน รูปแบบการสอนที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถเพิ่มความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาล แต่ต้องใช้ระยะเวลานานเพียงพอต่อการปลูกฝังกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ คือ ควรจัดการสอนที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง และควรใช้อย่างต่อเนื่องโดยเริ่มตั้งแต่ในระยะปีแรกของการศึกษา เพื่อให้เกิดกระบวนการฝึกฝนและหล่อหลอมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณอย่างยั่งยืน
The purposes of this experimental research were 1) to compare the critical thinking ability of nursing students and 2) to compare the the students’ ability in applying nursing process and learning achievement between the students who received the critical thinking teaching method and those who received the conventional teaching method. The samples consisted of 66 sophomores of Huachiew Chalermprakiet nursing students. They were assigned into experimental group (n=33) and control group (n=33). The experimental group was taught by critical thinking teaching method while the control group was taught by conventional teaching methods. Research instruments included 1) lesson plans of critical thinking and conventional teaching methods, 2) MEQ test 1 for testing critical thinking ability, 3) MEQ test 2 for testing the ability in applying nursing process, and 4) nursing process learning achievement test. The data were analyzed by descriptive statistics and t-test. The results indicated that: 1)The critical thinking ability of the students after being taught by critical thinking method was significantly higher than before being taught, at the .001 level. 2)After taught, the critical thinking ability of the students in the experimental group and the control was not significant difference. 3)After being taught, the student’ ability in applying nursing process in the experimental group was significantly higher than the control group, at the .005 level. 4)The learning achievement of the students after being taught in the experimental group and the control group was not significant difference. The critical thinking teaching method increase students’ abilities in critical thinking and applying nursing process. Teaching and learning process of nursing curriculum both theoretical and practicum courses should include the critical thinking teaching method, which was a student centered model that facilitates the process of developing critical thinking skill.