งานวิจัยเรื่อง “การสื่อความหมายในบทเพลงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด แรงบันดาลใจและโอกาสในการสร้างสรรค์บทเพลงเทิดพระเกียรติ วิธีการสื่อความหมายเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ในบทเพลง และรูปแบบการนำเสนอภาษาเนื้อของเพลง โดยศึกษาจากเพลงเทิดพระเกียรติจำนวน 129 เพลง และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สร้างสรรค์เพลงเทิดพระเกียรติ คือผู้ประพันธ์เพลงและผู้ขับร้องจำนวน 8 คน ผลการศึกษาเรื่องแนวคิดและแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์เพลงเทิดพระเกียรติ พบว่ามาจาก 1) ความรู้สึกรักเทิดทูนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 2) ความปรารถนาที่จะแบ่งเบาพระราชภาระของพระองค์ 3) การนำพระปรีชาสามารถ พระอัจฉริยภาพ พระราชกรณียกิจมาเป็นแก่นความคิด และ 4) การนำโอกาสแห่งวาระสำคัญมาเป็นแก่นความคิด ผลการศึกษาชื่อเพลงเทิดพระเกียรติพบว่าสาระสำคัญมาจากพระบรมราโชวาท พระราชดำรัส พระราชดำริ และพระราชกรณียกิจร้อยละ 29.9 สัญลักษณ์/การเปรียบเทียบเพื่อสดุดีพระเกียรติคุณ แสดงพระอัฉริยภาพ/ พระบารมีร้อยละ 21.7 แสดงความรู้สึกของประชาชนร้อยละ 17.8 ตำงาส “พ่อ” “บิดา” ร้อยละ 16.2 แสดงถึงเหตุการณ์สำคัญร้อยละ 10 ใช้พระนาม “ภูมิพล” ร้อยละ 4.7 พบการสื่อสารด้วยระดับภาษาที่เป็นทางการหรือแบบประเพณีนิยมที่บรรจงเลือกสรรถ้อยคำที่ไพเราะสละสลวย เรียบเรียงเนื้อความให้มีความสูงส่ง และการสื่อสารด้วยระดับภาษาที่ไม่เป็นทางการเล่าเรื่องผ่านบทเพลงด้วยการใช้ถ้อยคำที่เรียบง่าย นอกจากนี้ยังพบการสร้างสัญญะที่สำคัญ 3 ประการ ประการแรกคือ “พ่อ” ทรงเป็นพ่อของคนไทยทั้งประเทศ ประการที่สอง “เหงื่อ” “หยาดเหงื่อ” “เสโท” เพื่อสื่อว่าทรงงานหนักเพื่อคนไทย ประการที่สาม “รอยเท้า” “รอยทาง” “พระบาท” สื่อถึงการดำเนินชีวิตตามแนวทางที่พระองค์ทรงสอน ผลการศึกษาภาษาพบการเล่นคำ การซ้ำคำ การสื่อความหมายเชิงเปรียบเทียบ เช่น อุปมา อุปลักษณ์ บุคคลวัต อติพจน์และสัญลักษณ์ ด้านการสื่อความหมายในเนื้อหาเพลงพบความหมายสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ ประการแรกสดุดีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินในดวงใจของพสกนิกร และความร่มเย็นเป็นสุขของคนไทยใต้ร่มพระบารมี ประการที่สองเสนอกระแสพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทเพื่อเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตและดำรงสังคมให้เป็นปกติสุข ประการที่สามเสนอแนวคิดเรื่องทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียง การปลูกป่า การพัฒนาแหล่งน้ำ และประการที่สี่สะท้อนความรักความห่วงใยของประชาชนที่มีต่อประบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สร้างความรู้สึกร่วมกันเพื่อทำความดี
The purposes of this research were (1) to study the ways of thinking, the inspiration and the occasions on the creation of the songs to honor His Majesty the King Bhumibol Adulyadej; (2) to study the methods employed to present the image of the King in the song contents and; (3) to study the presentation formats, the use of language and the contents of the songs, This research was done by examining 129 songs honoring His Majesty the King and by interviewing 8 songs writers and singers. The finding were concluded as follows. The ways of thinking and the inspiration to create the songs resulted from the deep gratefulness of song creators towards the love of His Majesty the King to his people and also from their appreciation of his loyal wisdom and genius. The song creators also intended to repay His Majesty’s kindness. For the communicative meanings in the songs titles, 29.9% are derived from important features in His Majesty’s address, speeches, initiatives and activities; 21.7% are the symbols and comparisons used to land the loyal good reputation, genius and charisma; 17.8% are the words showing the feelings of Thai people towards theirs beloved King; 16.2% are the words “Father” used to show that His Majesty the King is the father of all Thai people in the country. The songs also communicate that the King works hard for the benefits of his people by using the words “sweat” and “tired”. At the same time, the songs used the words “footprint”, “track” and “foot” to communicate that living the way according to the teaching of His Majesty the King was an expression of gratitude. The songs honor His Majesty the King by using outstanding and beautiful words, by playing on words and using some words repeatedly. The songs compose seasoned the contents by using metaphors and similes, personifications, hyperboles and symbols. The contents of the songs honoring His Majesty’s the King express four main themes. (1) To praise His Majesty the King as the beloved king of Thai people and to demonstrate the happiness and well being of Thai people under His Majesty’s reign. (2) To present His Majesty’s speeches and addresses as guideline for Thai people to work and live happily and peacefully in the society. (3) To present His Majesty’s New Theory”, “Sufficiency Economy”, “Reforestation”, “development of Water Sources” and “Royal development Activities”. (4) To reflect the love and respect of Thai people for their beloved King and to raise common feelings among Thai people to do good for the King.