การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยความรอบรู้ทางด้านสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง และอำนาจการทำนายของปัจจัยส่วนบุคคล แรงสนับสนุนทางสังคม และการรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนหนองปรือ จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนหนองปรือ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 220 คน สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม 4 ส่วนได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แรงสนับสนุนทางสังคม 3) การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง และ 4) ความรอบรู้ทางด้านสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง แบบสอบถามส่วนที่ 2-4 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ 0.761, 0.867 และ 0.968 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ปัจจัยทำนายด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบทีละขั้น ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ทางด้านสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 2.04, S.D.=0.40) การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง และแรงสนับสนุนทางสังคมด้านการประเมินผล โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 1.81, S.D. = 0.92) (x̄=2.24, S.D.=0.45) ตามลำดับ และสามารถร่วมทำนายความรอบรู้ทางด้านสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ร้อยละ 28.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01 (R=.356, R[superscripy 2] = .288, F=6.402, p<.001) ผลการวิจัยครั้งนี้นำมาใช้ในการพัฒนาสุขภาพชุมชน และเป็นแนวทางในการวางแผนกลยุทธ์ หรือกลวิธีในการพัฒนาในระดับท้องถิ่นและหน่วยงานสุขภาพในระดับปฐมภูมิ
The purposes of this predictive research aimed to examine health literacy of older persons with hypertension, and to examine personal factors, social support, and perceived severity of hypertension could perdict health literacy of older persons with hypertension in Nong Prue Community, Samut Prakan Province. Two hundred and twenty-two participants were recruited by using a purposive random sampling technique. 1) Data were collected by the questionaires of demographic data, 2) social support 3) perceived severity of hypertension and 4) health literacy of older persons with hypertension. The reliability of these questionnaires was 0.76, 0.86 and 0.96, respectively. Statistical analysis used descriptive statistics, Pearson's product moment correlations coefficient and stepwise multiple regression. The results revealed that health literacy, social support and perceived severity of hypertension were in moderate level (x̄ = 2.04, S.D.=0.40 ; x̄ = 1.81, S.D. = 0.92, x̄=2.24, S.D.=0.45). Perceived severity of hypertension and social support in the evaluation part (SEVA) were able to perdict health literacy of older persons with Hypertension 28.80% (R[superscripy 2] = 0.288, p<.001). The results are used to improve health, community health system, and can be guideline for strategic planning or develop local strategies and primary health agencies.