การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2552 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยใช้แบบจำลองซิป (CIPP Model) ประเมินด้านบริบท ได้แก่ วัตถุประสงค์หลักสูตร โครงสร้างและเนื้อหาของหลักสูตร ด้านปัจจัยเบื้องต้น ได้แก่ ผู้เรียน ผู้สอนและสื่อการเรียนการสอน ด้านกระบวนการ ได้แก่ กิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน การบริหารหลักสูตรและด้านผลผลิต ได้แก่ คุณภาพบัณฑิตประกอบด้วยคุณลักษณะทั่วไป สมรรถนะตามวัตถุประสงค์หลักสูตร ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน ความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน 14 คน นักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษา 10 คน ผู้บังคับบัญชา 10 คน รวมทั้งหมด 34 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาทั้งหมดเป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่อายุ 31-40 ปี ทำงานก่อนเข้าศึกษาในหลักสูตร 6-10 ปี ปัจจุบันเป็นพยาบาลวิชาชีพ ผู้บังคับบัญชาโดยมากเป็นเพศหญิง อายุ 40-50 ปี วุฒิการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาโท ปฏิบัติงานในหน่วยงานเอกชน ทำงานในองค์กร 21 ปีขึ้นไป ระยะเวลาในการเป็นผู้บังคับบัญชาของนักศึกษาหรือผู้สำเร็จการศึกษาน้อยกว่า 5 ปี และคุ้นเคยกับผู้สำเร็ขการศึกษาในระดับดี 2. ด้านบริบท: วัตถุประสงค์ของหลักสูตรสอดคล้องกับความต้องการของสังคม พัฒนาผู้เรียนด้านสติปัญญา ทักษะ เจตคติ การเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.49 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.04) โครงสร้างของหลักสูตรในประเด็นระยะเวลาเรียน จำนวนหน่วยกิตวิชาแกน วิชาเฉพาะสาขา วิชาเลือก การศึกษาอิสระและแผนการศึกษา เนื้อหาสาระของวิชาแกนและวิชาเฉพาะสาขาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.11) 3. ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านอาจารย์ในประเด็นความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในวิชาที่สอนการศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ การเป็นแบบอย่างที่ดี การเอาใจใส่ ความตรงต่อเวลาและการปฏิบัติต่อนักศึกษาอย่างเสมอภาคโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 5.00) ด้านนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในประเด็นทัศนคติที่ดีต่อการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและความสัมพันธ์กับอาจารย์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 5.00) ด้านการให้คำปรึกษาในประเด็นการส่งเสริมให้นักศึกษาแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 5.00) ด้านตำรา หนังสือ คอมพิวเตอร์และสื่อต่างๆ ในประเด็นการส่งเสริมการค้นคว้าด้วยตนเองอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48) ด้านสถานที่เกี่ยวกับห้องเรียนมีความเห็นในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52) ด้านการบริการเกี่ยวกับวัสดุ/อุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนมีความเห็นในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.90 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.32) 4. ด้านกระบวนการ: การจัดการเรียนการสอนในประเด็นการกำหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขตกิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินผลรายวิชาอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.99 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33) กิจกรรมเสริมหลักสูตรในประเด็นการส่งเสริมความรู้และทักษะให้นักศึกษาทำงานเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงมีความเห็นในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 5.00) 5. ด้านผลผลิต: ผู้บังคับบัญชามีความเห็นต่อคุณลักษณะของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาตามที่เป็นจริงในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.22 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.42) และตามที่คาดหวังในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.44 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.20) ทั้งความรับผิดชอบ การเป็นผู้มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ/คุณธรรม/จริยธรรม ความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น ความสามารถในการติดต่อสื่อสารและการใช้ภาษาไทย ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและความสามารถในการใช้ชีวิตในสังคม ข้อเสนอแนะ: ปรับการจัดการเรียนการสอนให้สามารถพัฒนาผู้เรียนให้แสดงออกซึ่งการปฏิบัติการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ให้สามารถชี้แนะวิธีพัฒนาบทบาทนักศึกษาสู่การเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน จัดให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้สำเร็จการศึกษากับนักศึกษาเพื่อถ่ายทอดการสร้างคุณลักษณะการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง การบริหารจัดการการบริการพยาบาล การให้ความรู้และคำปรึกษา การสร้างองค์ความรู้ใหม่ การทำวิจัยและนำผลการวิจัยไปใช้ การเป็นผู้นำทางความคิดและผู้นำการเปลี่ยนแปลง การใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศและการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
The purpose of this research was to evaluate the curriculum of Master Degree of Nursing Science (Community Nurse Practitioner) from the Faculty of Nursing, Huachiew Chalermprakiet University in 2013 by CIPP model. The context (objectives, structures, and contents), input (students, instructirs, and medias), process (learning activities, evaluations, and administration), and output (general and specific performances and customer satisfaction) of curriculum were interested. The study sample were 34 subjects who were 14 curriculum committee and instructors, 10 students and graduate students, and 10 superiors. The research instrument was rating scale questionnaire. The quantitative data were analyzed by descriptive statistics and content analysis included with in-depth interview and focus group. The results were as following: 1. All students and graduate students were female. Most of them were 31-40 years of age, 6-10 years of work before learning, and registered nurses. Most of their superiors we're female, 40-50 years of age, master degree, working in private sectors, more than 21 years of work, less than 5 years for being superiors of students and graduate students, and well familiar with them. 2. Context evaluation: The curriculum objectives were accordingly to social needs and facilitated the cognitive, psychomotor, and attitude of students and graduate students to be community nurse practitioner in high level (Mean 4.49, S.D. 0.04). The credit in the whole, core subjects, specific subjects, and in each subject both thesis and independent studies were appropriate in the highest level (Mean 4.70, S.D. 0.11) 3. Input evaluation: The instructors were specialized, experienced, inquired, role model, cared, and prompt in the highest level (Mean 5.00). The students and graduate students had positive attitude to curriculum, instructors, and confidence in the highest level (Mean 5.00). The instructor's counselor were beneficial for students and graduate students to be inquiry in the highest level (Mean 5.00). Also, they satisfied with learning resource supports (Mean 4.70, S.D. 0.11), classroom (Mean 4.60, S.D. 0.52), and services in the highest level (Mean 4.90, S.D. 0.32). 4. Process evaluation: The students and graduate students satisfied with learning activities both in and out class in the highest level (Mean 4.99, S.D. 0.33). The instructors regularly forced the students and graduate students to learn by sharing in seminar, self-study, and community practitioner leader practicing in appropriate roles and areas services in the highest level (Mean 5.00). 5. Product evaluation: The superiors expected and reflect to the performance of students and graduate students in responsibility, ethical practice, caring, communicating skill, coordinating role, and workable with others in high level (Mean 4.22, S.D. 0.42). They satisfied with knowledge utilization, performance, and professional attitude in the highest level (Mean 4.44. S.D 0.20). Suggestions: The results of this research could be evidence based for integrative improving and directing to curriculum structures and objectives by improving performance of instructors for fulfilling students to be community nurse practitioner appropriately, increasing academic services and resources both quantities and qualities, designing various learning activities emphasizing on sharing knowledge to achieve advanced practice, nursing administrative, counseling, knowledge developing, scholar leader, change agent, communication roles, and technology and information practicing.