การประเมินหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2551 มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หลักสูตรและประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาหลักสูตร ในด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน และผลลัพธ์ของหลักสูตร ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน นักศึกษาปัจจุบันรุ่นปีการศึกษา 2551-2553 ผู้สำเร็จการศึกษา ผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารหลักสูตร 1 คน กลุ่มอาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตร จำนวน 9 คน กลุ่มนักศึกษาปัจจุบันรุ่นปีการศึกษา 2551-2553 จำนวน 228 คน กลุ่มผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 24 คน กลุ่มผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 25 คน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน การรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์ และการวิเคราะห์เอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แนวทางการวิเคราะห์หลักสูตรสำหรับผู้เชี่ยวชาญ 2) แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารหลักสูตร 3) แบบสอบถามนักศึกษาปัจจุบัน ผู้สำเร็จการศึกษา และผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษา 1) ผลการประเมินด้านบริบท หลักสูตรยังขาดความเชื่อมโยงกับปรัชญาของหลักสูตร และยังไม่สะท้อนหรือแสดงเอกลักษณ์ของสถาบัน ควรนำหลักคุณธรรมมาใช้เป็นกรอบในการผลิตบัณฑิตให้มีลักษณะเด่น กลุ่มวิชาแกนยังมีรายวิชาที่ไม่ครอบคลุมพื้นฐานการทำงานด้านนิเทศศาสตร์ มีรายวิชาที่น่าสนใจและเป็นเพื้นฐานการทำงานด้านนิเทศศาสตร์ได้แต่กระจายอยู่ในกลุ่มวิชาชีพต่างๆ เนื้อหารายวิชาซ้ำซ้อน การจัดแผนการศึกษาไม่สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ ขาดรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ปัจจุบันรายวิชาด้านทักษะบางรายวิชาามีเนื้อหามาก ทำให้กระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาทำได้ไม่เต็มที่ วิชาพื้นฐานทั่วไปที่กำหนดไว้ในหลักสูตรไม่สอดคล้องกับหลักสูตรฯ การจัดการเรียนระบบสหกิจศึกษาเหมาะสมแต่ควรปรับย้ายแผนการศึกษาไปอยู่ในชั้นปีที่ 4 2) ผลการประเมินด้านปัจจัยป้อนเข้า บัณฑิตและนักศึกษาปัจจุบันประเมินคุณลักษณะด้านความรู้ ความสามารถของอาจารย์ คุณลักษณะด้านการสอนและคุณลักษณะด้านความเป็นครูระดับมาก แต่คุณลักษณะของอาจารย์จากเกณฑ์คุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ อยู่ในระดับน้อย ด้านนักศึกษาพบว่าขาดแรงจูงใจ ความรับผิดชอบ วินัยและความพากเพียรในการเรียน ส่งผลต่อระดับผลการเรียนของนักศึกษา ขาดความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง ยังไม่สามารถพัฒนาประเด็นหรือวิเคราะห์ได้เนื่องจากอ่านและติดตามข้อมูลข่าวสารน้อย บัณฑิตและนักศึกษาชั้นปีที่ 2-4 พึงพอใจด้านความสะดวกในการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การใช้บริการของห้องสมุดและสื่อการศึกษา และด้านอาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อมและห้องเรียนระดับปานกลาง ระบบของอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยไม่รองรับการเรียนการสอนและสนับสนุนให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง อุปกรณ์ด้านคอมพิวเตอร์ในห้องเรียนไม่ทันสมัย ขาดโปรแกรมที่ครอบคลุมการจัดการเรียนการสอน 3) ผลการประเมินกด้านกระบวนการผลิต นักศึกษาปัจจุบันด้านการบริหารหลักสูตร การให้คำปรึกษาของอาจารย์ โดยมีภาพรวามความพึงพอใจระดับมาก การบริหารหลักสูตร คณะนิเทศศาสตร์มีระบบและกลไกในการบริหารหลักสูตร คือ คณะกรรมการบริหารหลักสูตร ทำหน้าที่วางแผน กำกับติดตามและตรวจสอบการจัดการเรียนการสอน มีคณะกรรมการวิชาการ ทำหน้าที่กำกับ ติตดามและประเมินผลการทำงานของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ 5 ด้านตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้ระดับชาติ (TQF) เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรในรายวิชาต่างๆ โดยให้นักศึกษาเป็นผู้ดำเนินโครงการตามระบบ PDCA เพื่อสร้างทักษะและประสบการณ์ของนักศึกษา และส่งเสริมทักษะการทำงานจริงของนักศึกษาโดยจัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษา การประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา ประเมินนักศึกษาหลายแบบทั้งการสอบ การทดสอบ การมอบหมายงาน การให้นักศึกษาประเมินตนเองและประเมินการมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม วิเคราะห์การทำงานของตนเองและสมาชิกในกลุ่ม ถอดบทเรียนหลังการทำกิจกรรมเพื่อเรียนรู้ การประเมินการสอนของอาจารย์ ใช้ระบบประเมินการสอนออนไลน์ ซึ่งเป็นระบบประเมินผลของมหาวิทยาลัย เมื่อรับทราบผลการประเมินจากนักศึกษาอาจารย์ผู้สอนจะนำข้อเสนอและประเด็นที่ควรแก้ไขมาปรับปรุงวิธีการสอน สื่อการสอน นอกจากนี้ยังใช้วิธีประเมินเชิงคุณภาพในชั้นเรียน 4) ผลการประเมินด้านผลลัพธ์ของหลักสูตร การใช้เวลาศึกษาตามแผน บัณฑิตใช้เวลาศึกษาตามแผนในระดับปานกลาง จำนวนนักศึกษาที่พ้นสภาพและคัดชื่อออกอยู่ในระดับปานกลาง ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2553 ที่มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม 2.50 ขึ้นไป ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษา บัณฑิตคณะนิเทศศาสตร์ประเมินความสามารถของตนเองในระดับมาก ผู้ใช้บัณฑิตประเมินคุณภาพของบัณฑิตจากคณะนิเทศศาสตร์ ม.หัวเฉียวฯ ในระดับมาก ประสิทธิภาพการผลิตบัณฑิต บัณฑิตนิเทศศาสตร์มีงานทำอยู่ในระดับมากที่สุด บัณฑิตพอใจงานที่ทำระดับมาก และทำงานตรงสาขาที่เรียนระดับปานกลาง
The assessment of communication Arts Undergraduate Curriculum 2551 aimed to analyze the curriculum and to aralyze the curriculum and to evaluate the effectiveness of the curriculum management in various aspects such as context, input, the process ofcurriculum and leaming management and the outcome of the curriculum. Information sources are curriculum administrators, faculties, 2551-2553 students, graduates and their supervisors, and curriculum experts. The sampling groups are comprised of one curriculum administrator, nine faculties,228 students in 2551-2553 classes,24 graduates and 25 theirjob supervisors, and three curiculum experts. Methods of data collecting included group discussions, interviews and document analyses. Tools used in gathering information are : (l) handbook for curriculum assessment (2) interviews with curriculum administrators (3) questionnaires answered by students, graduates and theirjob supervisors. l) Assessment of context. The curriculum did not link up to its philosophy and did not reflect or show up the univeBity identity either. The university morality principles should have been used as frames to produce graduates with prominent moral featurcs. Core courses still lacked subjects covering communication ans fundamentals. Some interesting fundamental communication arts courses were scattered in specific professional group arcas. The contents of some courses overlapped with those of the others. The education plans did not conform to occupational skills development. The 2551 curriculum lacked some necessary courses to keep up with current situatiorls. Some skill courses had too much content materials causing students hard to keep up with learning process. Some basic courses did not conform to the curriculum. Though co-operation study is still suitable io be in third year ofthe study, it will help students find jobs easier if moved to be in the founh year. 2) Assessment of the Inputs. Both the graduates and the current students have eyaluates the knov/ledge and the teaching abilities of the faculties positively at the preferable scales, However, they have evaluated the qualifications and academic positions of the faculties negatively at lower s€ales. Students were found lacking motivation, responsibility, discipline and perseverance to study, thus reflecting clearly in their grades. They seemed not to believe in their potentials. Furthermore, they were not able to analyze current situations since they did not read and follow up breaking news and information. The graduates and the students in the second, third and fourth years felt moderately content with facilities ofthe intemet network ofthe university, the Library services, the study media the buildings, the lecturing classrooms and the general environment. The university intenet network does not efficiently support the learning process. Computer equipment in classrooms is rather old and cannot efficiently support leaming process. 3) Assessment of Graduate Producing Process. In general, present students evaluate tbe curriculum management of the faculty positively and they feel very pleased with talking to their advisors.Curriculum Management. The faculty's curriculum management committee plans, follows up and monitors student learning process while the faculty's academic committee supervises, follows up and evaluate the work ofthe curriculum management committee. Learning Activities. The student learning activities conform to the five-aspect learning skill development of the national TQF standards. Students are encouraged to participate in learning process through creating supplementary activities in vadous courses and carrying them out according to the PDCA system in order to improve their learning skills and experiences. The cooperation study program also educates the students in the real working environment. Student Learning Assessment. Student learning skills evaluation is carried out lhrough examinations, tests, assignments, selfevaluation and group-panicipation evaluation. Students arg lo rgview their performance ofactiviti6s to improve their leaming skills.Assessment of faculties' teaching. Students evaluate the teaching of faculties on-line through the assessment system of the university. Students' assessment and proposals will be used to improve the teaching activities of the faculties. Other qualitative assessments are also done in class. 4) Assessment of Curriculum Outcome: Planned Graduation Time. The numbers of studeots who graduate within four years plan is moderate. The number of students failing out is also moderate. GPA. Most students who graduated in academic year 2553 had GPA above 2.50. Graduate Oualifications. The graduates evaluate themselvcs with preferable scales. Their job supervisors also evaluatc thempositively. Efficiency of Graduates. Most of the graduates are employed and they are satisfied with theirj obs. However only a moderatenumber of the graduates get tbe jobs corresponding directly to their profossional study areas.