รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาความคงตัวและฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของสารผสมดอกอัญชันและน้ำมันรำข้าวเอนแคปซูเลชันผงจากวิธีสเปรย์แห้งเป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ มุ่งศึกษาให้ทราบความคงตัวและฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของสารสกัดผสมระหว่างดอกอัญชันและน้ำมันรำข้าวในรูปแบบเอนแคปซูเลชันแบบผงแห้ง โดยใช้การทดลองในระดับห้องปฏิบัติการ (in vitro) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสกัดวิเคราะห์ และทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ เป็นระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาให้เป็นแนวทางการสร้างโภชนเภสัชภัณฑ์ต่อไป ผลการวิจัยพบว่า สารสกัดดอกอัญชันตรวจพบปริมาณฟีนอลิกรวมและแอนโธไซยานินรวมและน้ำมันรำข้าว ตรวจพบปริมาณออไรซานอลในระดับที่สูงเมื่อเทียบกับงานวิจัยก่อนหน้า นอกจากนี้ยังแสดงฤทธิ์ต้านออกซิเดชันทัดเทียมกับวิตามินซีและโทรล็อกซ์อีกด้วย เมื่อนำสารสกัดดอกอัญชันและน้ำมันรำข้าวมาเตรียมให้อยู่ในระบบอิมัลชันที่เหมาะสมโดยใช้ทวีน 80 และโพรพิลลีนไกลคอลเป็นตัวเชื่อมระหว่างสารสกัดเฟสน้ำและเฟสน้ำมันสำหรับทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ผลพบว่าอิมัลชันมีความคงตัวทางกายภาพเป็นระยะเวลา 7 วัน อีกทั้งยังสามารถแสดงฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชันได้ดีกว่าการใช้ตัวทำละลายปกติ โดยพบว่าฤทธิ์ต้านออกซิเดชันที่แสดงสัมพันธ์กับปริมาณสารสกัดดอกอัญชันเป็นเส้นตรง การพัฒนาระบบเอนแคปซูเลชันผงแห้งของสารสกัดดอกอัญชันผสมกับน้ำมันรำข้าวด้วยวิธีสเปรย์แห้ง โดยมีแป้งมันสำปะหลังดัดแปรเป็นสารห่อหุ้ม ผลพบว่าการเก็บรักษาตลอดระยะเวลา 90 วันสีของผงสเปรย์แห้งที่อุณหภูมิ 4 และ 25 องศาเซลเซียส ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่สภาวะที่มีแสงและอุณหภูมิกว่า 25 องศาเซลเซียส สีของผงสเปรย์แห้งมีแนวโน้มจางลงเมื่อเวลาผ่านไปมากกว่า 60 วัน ส่วนปริมาณสารพฤกษเคมีกลุ่มฟีนอลิก แอนโธไซยานิน และออไรซานอล สามารถคงตัวในส่วนที่ถูกกักเก็บไว้ภายในมากกว่าร้อยละ 90 ในขณะที่ความคงตัวในส่วนที่ไม่ถูกกักเก็บไว้ภายในมากกว่าร้อยละ 85 ตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา 90 วัน ซึ่งความคงตัวของปริมาณสารพฤกษเคมีสัมพันธ์กับความสามารถในการต้านออกซิเดชันด้วย การวิจัยต่อไป คือ การพัฒนาต่อยอดสู่ตำรับโภชนเภสัชภัณฑ์ในรูปแบบที่คงตัว ได้แก่ รูปแบบแคปซูลและรูปแบบเม็ด ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือ การพัฒนาระบบโหลดสารสกัดให้มีปริมาณมากที่สุด เพื่อการกักเก็บในระบเอนแคปซูเลชันเพื่อที่จะนำไปสู่การผลิตให้เป็นโภชนเภสัชภัณฑ์ที่มีปริมาณสารสำคัญความเข้มข้นสูงต่อไป
Research title is stability and anti-oxidation activities study of butterfly pea flower and rice bran oil mixtures dry encapsulated powders, which is applied stud. This work was mainly study the stability and anti-oxidation activities of extracts of butterfly pea flower and rice bran oil mixtures in encapsulation system. The study was basically created usinh in vitro investiagtion. The data were collected and summarized from extraction, analysis and biological testing for 90 days. The results has been led to nutraceutical development. The results found that pea flower extracts detected total phenolics and total enthocyanins content, and rice bran oil deterted oryzanol content highly, which compared with previous study. Additionally, anti-oxidation activity of extracts exhibited equally to vitamin C and trolox. Besides butterfly pea flower extracts and rice bran oil was prepared in emulsion system using tween 80 and propylene glycol to accordinate water and oil phase for anti-oxidation activities testing. Results found that the emulsion was stabilized for 7 days on physical stable. Moreover, these emulsion was exhibited the anti-oxidation properly better than normally solvent system. The anti-oxidation activity related to content of butterfly pea flower extrats with linear relationship. The development of dry powder encapsulation of butterfly pea flower and rice bran oil extracts mixtures using spray dry technique with topioca modifies starch sheet was investigated. The results of storage conditions for 90 days found that visual color of spray dried powder were stabilized at 4 and 25°C, while light and high temperature (>25°C) conditions were not stabilized. Which trend at time after 60 days were de-colored. The phytochemicals including phenolics, anthocyanins, and oryzanols were stabilized in encapsulated part more 90 percentage, while phytochemicals were stabilized in unencapsulated part more 85 percentage for 90 days storage. These stabilization related to anti-oxidation activity as well. The next investigation has been lead to develop the stable nutraceutical product such as capsule and tables form. Suggestion of this study is loading investigation the phytochemicals too much for encapsulation trapping which is lead to concentrate nutraceutical product.