การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการเผชิญความเจ็บครรภ์คลอดของหญิงตั้งครรภ์แรก กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือหญิงตั้งครรภ์แรกที่มารับบริการ ณ ห้องคลอด โรงพยาบาลสมุทรปราการ จำนวน 128 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการคลอด แบบสอบถามเจตคติต่อการตั้งครรภ์ และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมขณะตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า สถานภาพสมรส ระยะเวลาในการคลอด เจตคติต่อการตั้งครรภ์ และการสนับสนุนทางสังคมขณะตั้งครรภ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการเผชิญความเจ็บครรภ์คลอดของหญิงตั้งครรภ์แรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่รระดับ .05 (r = .069, r = .029, r = .074, r = .046 ตามลำดับ) ผลการวิจัยให้ข้อเสนอแนะว่า พยาบาลในแผนกฝากครรภ์ควรมีการประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการเผชิญความเจ็บครรภ์คลอด และการศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ดังกล่าว ในแผนกฝากครรภ์ตลอดจนจัดทำโปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการเผชิญความเจ็บครรภ์คลอด หรือพัฒนาแนวทางสื่อการสอนให้ความรู้ที่เหมาะสมเกี่ยวกับการคลอดแก่หญิงตั้งครรภ์แรก ในกลุ่มอื่นๆ เพื่อส่งเสริมให้ผู้คลอดมีความมั่นใจในการเผชิญความเจ็บปวดจากการคลอด และนำไปสู่ผลดีของการคลอด ครั้งต่อไป
The objective of this descript study was to examine factors related to Perceived Self-Efficacy in Coping with Labor Pain Among Primiparous Women. Research participants were 128 first-time. pregnant women attending ante natal care clinic at Samutprakarn hospital. They were recruited in the study by simple random sampling. Data were collected by using questionnaires of including Personal record form, Childbirth self-efficacy inventory Questionnaire, Attitude towards Childbirth Questionnaire, Labor Social support Questionnaire and Thai Version of Childbirth Self-efficacy Inventory. Data were analyzed by using descriptive statistics and Pearson product moment correlation coefficients.The results showed that there was statistically significant positive correlation between education (r = .069, p = .438), status (r = .029, p = .745), length time of labor (r = .074, p = .405), Attitude towards Childbirth (r = .046, p = .604), and Social support at the alpha level .05. These findings suggest that nurses at ante natal care clinic should provide program of interventions such as childbirth education class to provide knowledge about childbirth and enhance positive attitudes towards childbirth to pregnant women which will help to increase perceived childbirth self-efficacy among pregnant women.