การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพและแนวปฏิบัติที่ดีของทักษะ การเรียนในระดับอุดมศึกษาที่ส่งผลให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดี โดยดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของทุกคณะวิชาของมหาวิทยาลัยหัวเฉียว เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยสะสม 3.50 ขึ้นไป จำนวน 67 คน และประชุมสนทนากลุ่ม (Focus – Group) กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 18 คน เพื่อให้ได้ทักษะการเรียนในระดับอุดมศึกษาที่ส่งผลให้เกิด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดี ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มจากตอนที่ 1 มาวิเคราะห์เนื้อหา และสร้างเป็นแบบสอบถามตัวบ่งชี้คุณภาพและแนวปฏิบัติที่ดีของทักษะการเรียนในระดับอุดมศึกษา และนำไปสอบถามผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางการอุดมศึกษาซึ่งมีประสบการณ์การสอนในระดับอุดมศึกษามาไม่น้อยกว่า 15 ปี หรือเป็นผู้บริหารระดับคณบดี ทั้งในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน จำนวน 15 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่ามัธยฐาน (Median) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile Range) เพื่อดูความเหมาะสม และความสอดคล้องของตัวบ่งชี้คุณภาพและแนวปฏิบัติที่ดีจากความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ โดยจะคัดเลือกเฉพาะตัวบ่งชี้ที่มีค่ามัธยฐาน 3.5 และ ค่า IR ≤ 1.5 เพื่อนำไปพัฒนาต่อไป ขั้นตอนที่ 3 นำตัวบ่งชี้และแนวปฏิบัติที่ดีที่ได้จากการสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิมาพัฒนา ตัวบ่งชี้คุณภาพและแนวปฏิบัติที่ดีของทักษะการเรียนในระดับอุดมศึกษาที่สมบูรณ์มากขึ้นโดย ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และนำไปสนทนากลุ่ม (Focus – Group) กับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 หรือชั้นปีที่ 3 จากทุกสาขาวิชา จำนวน 20 คน ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสม 3.5 ขึ้นไป เพื่อสอบถาม ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของตัวบ่งชี้และแนวปฏิบัติที่ดี จากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไขเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพ (Indicators) และแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices) ของทักษะการเรียนในระดับอุดมศึกษาที่สมบูรณ์สามารถนำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติให้กับนักศึกษา แนวทางการจัดการเรียนการสอนให้กับคณาจารย์ และเพื่อใช้เป็นตัวบ่งชี้และเกณฑ์ในการประกันคุณภาพการเรียนให้กับนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่อไป จากผลการวิจัยพบว่าตัวบ่งชี้คุณภาพทักษะการเรียนในระดับอุดมศึกษาประกอบด้วย 13 ตัวบ่งชี้ 77 แนวปฏิบัติที่ดี ดังนี้ ตัวบ่งชี้ที่ 1 การสร้างแรงจูงใจและทัศนคติที่ดีต่อการเรียน มี 8 แนวปฏิบัติที่ดี ตัวบ่งชี้ที่ 2 การตั้งเป้าหมายต่อการเรียน มี 5 แนวปฏิบัติที่ดี ตัวบ่งชี้ที่ 3 การจัดระบบการเรียน การวางแผนการเรียนและการบริหารเวลา มี 6 แนวปฏิบัติที่ดี ตัวบ่งชี้ที่ 4 การเตรียมตัวเข้าชั้นเรียน มี 6 แนวปฏิบัติที่ดี ตัวบ่งชี้ที่ 5 การเข้าชั้นเรียน มี 4 แนวปฏิบัติที่ดี ตัวบ่งชี้ที่ 6 การสร้างสมาธิในการเรียน มี 3 แนวปฏิบัติที่ดี ตัวบ่งชี้ที่ 7 การจดบันทึกจากการฟังคำบรรยาย มี 6 แนวปฏิบัติที่ดี ตัวบ่งชี้ที่ 8 ทักษะการอ่านตำราเรียนและการทบทวนบทเรียน มี 6 แนวปฏิบัติที่ดี ตัวบ่งชี้ที่ 9 การทำการบ้านและการทำรายงาน มี 6 แนวปฏิบัติที่ดี ตัวบ่งชี้ที่ 10 การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง มี 5 แนวปฏิบัติที่ดี ตัวบ่งชี้ที่ 11 การเตรียมตัวสอบ มี 8 แนวปฏิบัติที่ดี ตัวบ่งชี้ที่ 12 การทำข้อสอบ มี 6 แนวปฏิบัติที่ดี ตัวบ่งชี้ที่ 13 กลยุทธ์การเรียนที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ มี 8 แนวปฏิบัติที่ดี
The aim of this study is to develop quality indicators and best practices for effective study skills in higher education. The research was conducted in 3 stages. First stage is interviewing survey with 67 Huachiew Chalermprakiet University forth-year students who have cumulative GPA over 3.50. The focus-group survey was conducted with 18 students to explore effective study skills in higher education. Second stage is Analyzing the data from surveys of the first stage and create a questionnaire with quality indicators and best practices for effective study skills. The questionnaire survey was conducted with 15 educationalists with at least 15 years teaching experience or currently in the position of dean from both public and private universities. The data from this questionnaire survey was analyzed by calculating Median and Interquartile Range to examine validity and consensus of quality indicators and best practices of study skills from educationalists’ perspective. Only indicators with median 3.5 and IR ≤ 1.5 are further utilized. The final stage is discussing the indicators and practices that had been chosen by educationalists with 20 students from second year or third year who have cumulative GPA more than 3.5 through focus-group. Data from this discussion was analyzed to finalize the indicators and best practices for effective study skills in the university level. The implications of the results are suggestions of study guidelines to students and the adjustment for better teaching methods of instructors. The results could also be a good reference for criteria of quality assurance in higher education. The results of the research indicate 13 indicators and 77 best practices as follows: • Indicator 1 urging motivation and good attitude towards study – 8 best practices. • Indicator 2 goal – setting in study – 5 best practices • Indicator 3 study planning and time management – 6 best practices • Indicator 4 preparation/preview prior to classes – 6 best practices • Indicator 5 class attending – 4 best practices • Indicator 6 concentrating during the class – 3 best practices • Indicator 7 taking lecture notes – 6 best practices • Indicator 8 reading skill and reviewing lessons from text books – 6 best practices • Indicator 9 doing homework and coursework – 6 best practices • Indicator 10 self-learning – 5 best practices • Indicator 11 preparation for examination – 8 best practices • Indicator 12 taking examination – 6 best practices • Indicator 13 successful study strategies – 8 best practices