DSpace Repository

การสื่อสารสุขภาพด้วยประสบการณ์และศักยภาพของนักศึกษาเพื่อ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

Show simple item record

dc.contributor.author ณัฐนันท์ ศิริเจริญ
dc.contributor.author Nattanun Siricharoen
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Communication Arts th
dc.date.accessioned 2023-11-18T05:05:51Z
dc.date.available 2023-11-18T05:05:51Z
dc.date.issued 2017
dc.identifier.citation วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 17,1 (ม.ค.-มิ.ย. 2560), 90-102
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1453
dc.description สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/spurhs/article/view/113154/88079
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อสำรวจประสบการณ์และศักยภาพของนักศึกษาสำหรับวิธีการสื่อสารสุขภาพกับผู้สูงอายุ (2) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะประชากรและปัจจัย 3 ด้านของแบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพกับทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลกับผู้สูงอายุ และ (3) เพื่อสรุปข้อเสนอแนะวิธีการสื่อสารสุขภาพที่สามารถช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง คือ เป็นนักศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รวมจำนวน 303 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามปลายปิดและปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้ค่าไค-สแควร์ทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร และใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาของ ข้อเสนอแนะเพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการสื่อสารสุขภาพกับผู้สูงอายุ ผลการวิจัยพบว่าประสบการณ์และศักยภาพของนักศึกษาสำหรับวิธีการสื่อสารสุขภาพ โดยการใช้ปัจจัยด้านจุดประสงค์ในการสื่อสาร คือ ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบประจำวันทั่วๆ ไปกับผู้สูงอายุมากที่สุด (ร้อยละ 39.30) วิธีการสื่อสารจะใช้พูดสนทนาโดยตรงมากที่สุด (ร้อยละ 31.40) ผลการทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร พบว่า จุดประสงค์ในการสื่อสารมีความสัมพันธ์กับทักษะการสื่อสารด้วยการพูดและวิธีการสื่อสารกับสมาชิกในครอบครัวมีความสัมพันธ์กับทักษะการสื่อสารด้วยการอธิบายความ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะของกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาส่วนใหญ่ต้องการให้สื่อสารสุขภาพกับผู้สูงอายุด้วยความอ่อนน้อมเคารพรัก ต้องใช้ทั้งภาษาพูด ภาษาร่างกายในการแสดงออกถึงความรู้สึกรักและห่วงใยผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอ th
dc.description.abstract The objectives of this study were (1) to survey the experiences and capabilities of undergraduate students concerning methods of health communication with the elderly; (2) to study the relationships between demographic characteristics and 3 factors of the model of health promotion through interpersonal communication skills with the elderly; and (3) to conclude and propose recommendations for methods of health communication that can enhance better life quality of the elderly. The research sample was chosen through purposive sampling, consisting of 303 students from the Faculty of Communication Arts, Huachiew Chalerm Prakiat University; and the School of Science and Technology and the School of Humanities and Applied Arts, University of the Thai Chamber of Commerce. The data collection tool was a questionnaire with both open-ended and closed-ended questions. Data were statistically analyzed using frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and chi-square test to examine the relationship of variables; while data on recommendations were analyzed with content analysis. The results showed that regarding their experience and capability for health communication, most of the students used the factor of objective of communication the most (39.30%); that is, asking for general happenings about how the elderly were doing on a day-to-day basis. The most common method of communication (31.40%) was the direct verbal communication. Results of testing the relationships among variables showed that objective of communication was related to verbal communication skill and method of communicating with family members was related to communication by explanation at the .05 level of significance. Recommendations from the research sample that can be applied to health communication are that most students want to communicate with the elderly in a humble and respectful way and want to use both words and body language to express love and concern for the elderly on a regular basis. th
dc.language.iso th th
dc.subject การสื่อสารทางการแพทย์ th
dc.subject Communication in medicine th
dc.subject ผู้สูงอายุ th
dc.subject Older people th
dc.subject การสื่อสารระหว่างประชากรต่างรุ่น th
dc.subject Intergenerational communication th
dc.subject ความสัมพันธ์ระหว่างประชากรต่างรุ่น th
dc.subject Intergenerational relations th
dc.subject การสื่อสารระหว่างบุคคล th
dc.subject Interpersonal communication th
dc.subject คุณภาพชีวิต
dc.subject Quality of life
dc.title การสื่อสารสุขภาพด้วยประสบการณ์และศักยภาพของนักศึกษาเพื่อ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ th
dc.title.alternative Undergraduate Students' Experiences and Capabilities for Health Communication to Enhance Quality of Life of the Elderly th
dc.type Article th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account