DSpace Repository

ธุรกิจเงินกู้นอกระบบและการจัดการหนี้สินของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

Show simple item record

dc.contributor.advisor ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล
dc.contributor.advisor Thipaporn Phothithawil
dc.contributor.author กัญญ์วรา ดิสสรา
dc.contributor.author Kanwara Dissara
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2023-12-07T12:17:32Z
dc.date.available 2023-12-07T12:17:32Z
dc.date.issued 2005
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1457
dc.description สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2548
dc.description การศึกษาด้วยตนเอง (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2548
dc.description.abstract การวิจัยเรื่อง “ธุรกิจเงินกู้นอกระบบและการจัดการหนี้สินนอกระบบของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการดำเนินธุรกิจเงินกู้นอกระบบในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพื่อศึกษาการนำเงินกู้นอกระบบไปใช้ประโยชน์ของประชาชนในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี และเพื่อศึกษาการจัดการหนี้สินของประชาชนในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ดำเนินธุรกิจเงินกู้นอกระบบและผู้รับบริการเงินกู้นอกระบบในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมีผู้แนะนำที่อยู่ในธุรกิจเงินกู้นอกระบบเป็นผู้พาไปสัมภาษณ์ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดมี 30 ราย แบ่งเป็นผู้ให้บริการเงินกู้นอกระบบ จำนวน 10 ราย ผู้รับบริการเงินกู้นอกระบบจำนวน 20 ราย จาก 5 อาชีพๆ ละ 5 รายคือ ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จำนวน 5 ราย ผู้ประกอบอาชีพรับจ้าง จำนวน 5 ราย ผู้ประกอบอาชีพรับราชการ จำนวน 5 ราย และผู้ประกอบอาชีพค้าขาย จำนวน 5 ราย ผลการศึกษาพบว่า ผู้ให้บริการเงินกู้นอกระบบจะเป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตที่ให้บริการเงินกู้นอกระบบอยู่แล้ว โดยบางรายสืบทอดธุรกิจเงินกู้นอกระบบมาจากบรรพบุรุษผู้ให้บริการเงินกู้นอกระบบจะเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์กันในเชิงธุรกิจที่ต้องเกื้อกูลซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ผู้ให้บริการเงินกู้นอกระบบจะเป็นผู้ที่รับซื้อผลิตผลทางการเกษตรของผู้รับบริการเงินกู้นอกระบบ ซึ่งเกษตรกรผู้นั้นก็จะขอรับบริการเงินกู้จากผู้ให้บริการเงินกู้รายนั้น และเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วก็จะมีการชำระคืนหลังจากนั้นก็กู้ยืมใหม่เป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ผู้รับบริการเงินกู้นอกระบบก็จะมีการขอรับบริการเงินกู้นอกระบบจากญาติพี่น้องด้วยเช่นกัน วงเงินที่ผู้ให้บริการเงินกู้จะให้กู้ยืมนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการชำระคืนของผู้รับบริการแต่ละรายไม่เท่ากัน วงเงินที่ขอรับบริการจะเริ่มตั้งแต่ 30,000 - 2,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ร้อยละ 0 ถึงร้อยละ 10 บาท ต่อเดือน ระยะเวลาการชำระคืนเป็นไปตามลักษณะของการเก็บเกี่ยวผลผลิต ถ้าหากผู้รับบริการเงินกู้มีปัญหาในการชำระคืนก็สามารถประนีประนอมกันได้ และในการกู้ยืมก็ไม่จำเป็นต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ไม่ต้องมีคนค้ำประกันและขั้นตอนไม่ยุ่งยากซ้ำซ้อนสามารถรับเงินได้ในเวลาอันรวดเร็วทันต่อความต้องการของผู้รับบริการ ผู้ให้บริการเงินกู้นอกระบบไม่ค่อยประสบปัญหาในการให้ บริการเงินกู้ เนื่องจากเมื่อถึงกำหนดเวลาผู้รับบริการเงินกู้ก็จะนำเงินมาชำระคืน หรือถ้าบางรายที่ไม่สามารถชำระเงินกู้ได้ทั้งหมดก็จะขอผ่อนชำระแทนทั้งนี้ก็เป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของคนในชุมชนเดียวกันผู้รับบริการเงินกู้นอกระบบส่วนมากจะนำเงินที่กู้มานี้ไปใช้เป็นทุนในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ เช่น ด้านเกษตรกรรม ค้าขาย และใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แต่ส่วนใหญ่จะใช้เป็นทุนด้านเกษตรกรรม ไม่มีการนำเงินกู้ที่ได้มาใช้จ่ายเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกหรือซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยอาจจะมีบ้างที่บางรายเคยรับบริการเงินกู้นอกระบบมาเพื่อซื้อรถจักรยานยนต์ แต่ซื้อมาเพื่อความสะดวกในการเดินทางไปทำงาน เนื่องจากการคมนาคมของอำเภอคลองหลวงการให้บริการด้านการคมนาคมของภาครัฐยังไม่สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง จึงจำเป็นเกือบทุกครัวเรือนที่จะต้องมียานพาหนะเป็นของตนเองผู้รับบริการเงินกู้นอกระบบบางรายจะมีการกู้เงินจากแหล่งเงินทุนหลายแห่ง เช่น สหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น อย่างไรก็ตามการชำระคืนของแหล่งเงินทุนที่ขอรับบริการจะมีกำหนดเวลาที่แน่นอน ซึ่งผ่อนชำระคืนด้วยวงเงินที่ไม่มากผู้รับ บริการเงินกู้สามารถชำได้โดยไม่มีปัญหา ผู้รับบริการเงินกู้นอกระบบส่วนใหญ่ได้พยายามผ่อนชำระเงินที่ได้กู้ยืมมาให้หมด แต่ก็ยังมีบางส่วนที่เมื่อชำระเงินกู้ยืมหมดแล้วก็ยังจำเป็นจะต้องกู้ซ้ำอีกเพื่อเป็นทุนในการประกอบอาชีพครั้งต่อไป จึงเป็นการยากที่ผู้รับบริการเงินกู้กลุ่มนี้จะหลุดพ้นจากสภาวะการเป็นหนี้นอกระบบ ผู้วิจัยได้เสนอแนะหน่วยงานรัฐบาลถึงบทบาทเกี่ยวกับธุรกิจเงินกู้นอกระบบซึ่งธุรกิจเงินกู้นอกระบบนั้นมีลักษณะของการแข่งขันกับตลาดเงินในระบบเนื่องจากการกู้ยืมเงินในระบบนั้นจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก มีความล่าช้า ใช้เวลาในการพิจารณาเพื่ออนุมัตินานไม่ทันกับความต้องการของการใช้บริการเงินกู้ 1. ควรมีการเร่งพัฒนาการขยายตัวของระบบการเงินของสถาบันการเงินในระบบให้เหมาะสมกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ปรับปรุงการให้สินเชื่อแก่ภาคเกษตรกรรมในการสนองตอบความต้องการของประชาชน ลดขั้นตอน หลักเกณฑ์การพิจารณาลง 2. พึ่งตนเองโดยกลุ่มแทนตัวบุคคล เช่น ร่วมกันออมในรูปสหกรณ์ออมทรัพย์หรือกลุ่มออมทรัพย์ 3. ควรปรับปรุงระบบกองทุนหมู่บ้านให้สารถดึงคนที่กู้เงินนอกระบบมาใช้บริการให้มากขึ้น th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject การกู้ยืม th
dc.subject Loans th
dc.subject การกู้ยืมส่วนบุคคล th
dc.subject Loans, Personal th
dc.subject การเงินนอกระบบ th
dc.title ธุรกิจเงินกู้นอกระบบและการจัดการหนี้สินของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี th
dc.title.alternative Non-Institutional Credit and People's Debt Management : A Case Study in Klongluang District, Pathumthani Province th
dc.type Independent Studies th
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account