DSpace Repository

รายงานวิจัยคุณลักษณะของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิต หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิต ปีการศึกษา 2565

Show simple item record

dc.contributor.author ศิริพร เกื้อกูลนุรักษ์
dc.contributor.author Siriporn Kaukulnuruk
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare th
dc.date.accessioned 2023-12-14T06:45:58Z
dc.date.available 2023-12-14T06:45:58Z
dc.date.issued 2566
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1490
dc.description ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย ประจำปีการศึกษา 2565 จากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ตุลาคม 2566 th
dc.description.abstract การวิจัยเรื่อง คุณลักษณะของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิต หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2565 มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาภาวะการมีงานทำ และการศึกษาต่อของบัณฑิตระดับปริญญาตรี หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2564 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/นายจ้างที่มีต่อคุณลักษณะของบัณฑิต ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ บัณฑิตระดับปริญญาตรี สำเร็จการศึกษาหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิตในปีการศึกษา 2564 จำนวน43 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนจำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 88.37 และผู้บังคับบัญชา/นายจ้างของบัณฑิต จำนวน 35 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนจำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 74.28ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้1. ภาวะการมีงานทำและการศึกษาต่อของบัณฑิตบัณฑิตส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 86.8) อายุ 23 ปีมากที่สุด (ร้อยละ 39.5) มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล (ร้อยละ 39.5) จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทย์-คณิต (ร้อยละ 50.0) สมัครเข้าเรียนเป็นครั้งแรก (ร้อยละ 71.1) เหตุผลที่สมัครเข้าเรียนคือ มีความสนใจอยากประกอบอาชีพเป็นนักสังคมสงเคราะห์ (ร้อยละ 65.8) สำเร็จการศึกษาภายใน 4 ปี (ร้อยละ92.1) บัณฑิตรุ่นนี้ได้เกรดเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 2.92ภาวะการมีงานทำของบัณฑิต พบว่า ส่วนใหญ่มีงานทำ (ร้อยละ 92.1) ไม่ได้ศึกษาต่อ (ร้อยละ 89.5) ประมาณครึ่งหนึ่งมีความต้องการศึกษาต่อ (ร้อยละ 50.0) โดยส่วนใหญ่ต้องการศึกษาต่อปริญญาโทด้านสังคมสงเคราะห์ (ร้อยละ 33.3)ระยะเวลาการได้งานทำครั้งแรกหลังสำเร็จการศึกษา 4-6 เดือน (ร้อยละ 44.7) ส่วนใหญ่ไม่เคยเปลี่ยนงานหลังจากได้งานทำครั้งแรก (ร้อยละ 71.1) ทำงานในหน่วยงานราชการ (ร้อยละ 62.9)เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มากที่สุด (ร้อยละ 54.5)ทำงานอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล (ร้อยละ 62.9) ทำงานในตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ (ร้อยละ32.2) ได้รับเงินเดือน 14,001 – 16,000 บาท (ร้อยละ 51.4) บัณฑิตส่วนใหญ่ทำงานเกี่ยวข้องกับสังคมสงเคราะห์/สวัสดิการสังคม (ร้อยละ 68.6) มีความพึงพอใจงานในระดับมาก (ร้อยละ 54.3)ส่วนเหตุผลที่บัณฑิตรู้สึกเฉยๆหรือไม่พอใจกับงาน ได้แก่ ค่าตอบแทนต่ำ (ร้อยละ 40) และขาดความมั่นคง (ร้อยละ 40.00) ได้นำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ในระดับมาก (ร้อยละ 45.7)การสอบและขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พบว่า บัณฑิตส่วนใหญ่ยังไม่เคยสมัครสอบ (ร้อยละ 78.9) และมีเพียงร้อยละ 2.6 ที่ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาตผลการประเมินตนเองของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พบว่าบัณฑิตมีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะตามมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) ในภาพรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.05) และผลการพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม อยู่ในระดับมาก ( = 4.17) โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย ได้ดังนี้ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ( = 4.37) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ( = 4.21) ด้านความรู้ ( = 4.05) ด้านทักษะทางปัญญา ( = 4.02)ด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ ( = 3.84) และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ( = 3.82) ตามลำดับผลการประเมินด้านคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิต พบว่า อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( =4.17) โดยคุณลักษณะย่อยที่ได้รับการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย ได้ดังนี้ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ( = 4.36) มีจิตอาสาเรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม ( =4.34) มีคุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ( = 4.31) มีความรับผิดชอบต่อสังคม (= 4.26) และเป็นผู้มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ( = 4.21)2. ความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/นายจ้างที่มีต่อคุณลักษณะของบัณฑิต ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติผู้บังคับบัญชา/นายจ้างเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 69.2) ตำแหน่งผู้บริหารระดับกลาง/ผู้จัดการ/หัวหน้าฝ่าย (ร้อยละ 80.8) อยู่ในหน่วยงานราชการ (ร้อยละ 84.6) เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานสังคมสงเคราะห์ (ร้อยละ 84.6) และมีระยะเวลาร่วมงานกับบัณฑิต 3-5 เดือน (ร้อยละ 65.4)(ง)ผู้บังคับบัญชา/นายจ้างมีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะของบัณฑิตตามมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) ในภาพรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.10) เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด 2 ด้าน คือ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ( = 4.29) และด้านคุณธรรม จริยธรรม ( = 4.26) ส่วนคุณลักษณะที่เหลือมีความพึงพอใจในระดับมาก 4 ด้าน คือ ด้านความรู้ ( = 4.12) ด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ ( = 4.08) ด้านทักษะทางปัญญา ( = 4.08) และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ( = 3.84) ตามลำดับผลการพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิต พบว่า ผู้บังคับบัญชา/นายจ้างมีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะพิเศษในภาพรวม อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.38) เมื่อพิจารณาคุณลักษณะย่อย พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด 5 ข้อ ดังนี้ มีจิตอาสาเรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม ( =4.58) สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ( = 4.54) มีคุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพสังคมสงเคราะห์( = 4.46) เป็นผู้มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ( = 4.46) และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ( =4.46) ส่วนคุณลักษณะที่มีความพึงพอใจในระดับมาก 2 ข้อ ได้แก่ เป็นผู้ที่มีความรู้ และมีทักษะในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ระดับปฏิบัติการตรงกับกลุ่มเป้าหมาย/ผู้ใช้บริการ ( = 4.19) และสามารถคุ้มครองสิทธิสวัสดิการของกลุ่มเป้าหมาย ( = 4.00) th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject บัณฑิต -- การจ้างงาน th
dc.subject Social welfare th
dc.subject สังคมสงเคราะห์ th
dc.subject การมีงานทำ th
dc.title รายงานวิจัยคุณลักษณะของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิต หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิต ปีการศึกษา 2565 th
dc.title.alternative Characteristics of Graduates According to Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF: HED) and Special Characteristics, Bachelor of Social Work Program, Academic Year 2022 th
dc.type Technical Report th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account