มาตรการการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นอย่างเป็นระบบและเห็นเป็นรูปธรรมในสังคมไทยนั้น เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ จากการประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. ๒๕๑๘ ส่งผลให้มีการจัดตั้งหน่วยงานในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นในประเทศขึ้นครั้งแรกภายใต้ชื่อ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (สำนักงาน ป.ป.ป.) แต่เนื่องจากการปฏิบัติงานป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ยังคงประสบปัญหาและอุปสรรคหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่กฎหมายซึ่งยังไม่เป็นรูปธรรมเท่าที่ควร ส่งผลให้เมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ผู้ร่างกฎหมายจึงได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบขององค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่นเสียใหม่ โดยกำหนดให้มีองค์กรอิสระที่เป็นองค์กรหลักในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐแทนที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (สำนักงาน ป.ป.ป) องค์กรดังกล่าวมีชื่อว่า สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช)
The first measures to suppress corruption in Thailand had occurred since 1975 from the announcement of the Anti-Corruption Act in 1975. According to this Act, Thailand had been established the Anti-Corruption commission for the first time in the name of "The Counter Corruption Commission" (CCC). However, The Counter Corruption Commission was ineffective in many reasons. As a result, when the constitution of the Kingdom of Thailand had been revised in 1997, the lawmakers had decided to organize the Anti-Corruption commission by replaced the Counter Corruption Commission (CCC) to the National Counter Corruption Commission (NCCC).