DSpace Repository

ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาโรคเอดส์ของชุมชนเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor เสาวนิจ นิจอนันต์ชัย
dc.contributor.advisor Saowanit Nitananchai
dc.contributor.author จิราพัชร พิลาจันทร์
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2023-12-29T07:36:46Z
dc.date.available 2023-12-29T07:36:46Z
dc.date.issued 2006
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1530
dc.description การศึกษาอิสระ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2549 th
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกับการป้องกันปัญหาโรคเอดส์ ศึกษาความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมของคนในชุมชน ศึกษาการสนับสนุนทางสังคมในชุมชน และปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาโรคเอดส์ ใช้กลุ่มตัวอย่างประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ได้จำนวน 195 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาโรคเอดส์ ผลกาศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 10-19 ปี กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด ระดับการศึกษา สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบอาชีพรับจ้าง มีรายได้ระหว่าง 1,000-10,000 บาท/เดือน และระยะเวลาที่พักอาศัยอยู่ในชุมชน ระยะเวลาระหว่าง 11-20 ปี ผลการศึกษาด้านความรู้เรื่องโรคเอดส์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องโรคเอดส์ว่าเกิดจากเชื้อไวรัส HIV ที่ทำให้เกิดอาการภูมิคุ้มกันบกพร่องในระดับมากสุด รองลงมาคือโรคเอดส์สามารถติดต่อทางมารดาที่มีเชื้อเอดส์สู่ลูกในครรภ์ได้ ผลการศึกษาทัศนคติเรื่อง โรคเอดส์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าไม่ใช่คนที่มีรูปร่างหน้าตาดีสะอาด คือ คนที่ไม่มีเชื้อเอดส์ เป็นอันดับมากสุด รองลงมาเห็นด้วยว่าใช่ผู้ติดเชื้อเอดส์สามารถใช้ชีวิตปกติอยู่ที่บ้านได้ ผลการศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงเรื่องโรคเอดส์ พบว่า พฤติกรรมการทำเป็นประจำของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ที่เคยใช้มีดโกน กรรไกรตัดเล็บร่วมกับผู้อื่น เป็นอันดับมากที่สุด รองลงมา คือ พฤติกรรมการดื่มสุรา ผลการศึกษาการสนับสนุนทางสังคมในเรื่องโรคเอดส์ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง โดยส่วนใหญ่ในชุมชน เคยได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์จากหน่วยงานภายนอก เป็นอันดับมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มตัวอย่างเคยได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคเอดส์ ผลการศึกษาการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาโรคเอดส์ของคนในชุมชน พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยมีส่วนร่วมได้รับความรู้ในการป้องกันโรคเอดส์ ในระดับมาก รองลงมากลุ่มตัวอย่างเคยมีส่วนร่วมในการเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชนในโอกาสต่างๆ และการมีส่วนร่วมในการให้ความรู้เรื่อง โรคเอดส์กับบุคคลใกล้ชิดค่อนข้างมากด้วยเช่นกัน ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาโรคเอดส์ โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า รายได้มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาโรคเอดส์ ซึ่งเมื่อคนในชุมชนมีรายได้มากขึ้น การมีส่วนร่วมก็จะมีมากขึ้นด้วย พฤติกรรมเสี่ยง เรื่องโรคเอดส์ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงลบต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาโรคเอดส์ เมื่อกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมเสี่ยงมากจะให้ความร่วมมือในการป้องกันปัญหาโรคเอดส์น้อยกว่าคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงน้อย การสนับสนุนทางสังคม พบว่า มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมในเชิงป้องกันปัญหาโรคเอดส์ ซึ่งหากได้รับการสนับสนุนทางสังคมมาก ก็จะมีโอกาสที่จะมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาโรคเอดส์ในชุมชนมากตามไปด้วย ข้อเสนอแนะ คือ 1. ควรมีการจัดรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ การป้องกันการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างตระหนักในเรื่องการอยู่ร่วมกันในสังคม และเพิ่มการสนับสนุนทางสังคมในด้านต่างๆ 2. ควรมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปประสาน และส่งเสริมกิจกรรมระหว่างชุมชนต่อชุมชน ให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สร้างการเชื่อมโยงเพื่อขยายเครือข่ายกิจกรรมกับชุมชนภายนอก 3. สถาบันการศึกษาในชุมชนควรจัดการเรียนการสอนให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันแก่เด็ก ให้มีสภาวะการดำเนินชีวิตที่ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ 4. หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ควรมีการร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน และสนับสนุนกิจกรรมที่เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมในชุมชน เปลี่ยนบทบาทจากเป็นผู้ชี้นำ มาเป็นลักษณะที่ปรึกษา เพื่อให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็งต่อไป th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject โรคเอดส์ -- การป้องกัน th
dc.subject AIDS (Disease) -- Prevention th
dc.subject การมีส่วนร่วมของชุมชน th
dc.subject Community participation th
dc.subject คลองสาน (กรุงเทพฯ)
dc.subject Klongsan (Bangkok)
dc.title ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาโรคเอดส์ของชุมชนเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร th
dc.title.alternative Factors Effecting People's on AIDS Prevention in Klongsan Community District, Bangkok th
dc.type Independent Studies th
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การบริหารสังคม th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account