DSpace Repository

ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของอาสาสมัครในงานคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิรัตน์ ทองรอด
dc.contributor.author อุสา เจริญชัย
dc.date.accessioned 2023-12-29T09:27:20Z
dc.date.available 2023-12-29T09:27:20Z
dc.date.issued 2006
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1543
dc.description การศึกษาอิสระ (วท.ม.) (การจัดการระบบสุขภาพ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2549. th
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ โดยศึกษาถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล แรงจูงใจ การมีจิตสำนึกสาธารณะกับการมีส่วนร่วมในการสำรวจปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภค และส่งผลกระทบในด้านความพึงพอใจของอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค ใช้กลุ่มตัวอย่างจากอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจำนวน 314 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยที่ผ่านการตรวจความตรงจากเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่นโดยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach's Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่น = 0.933 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS / PC โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิคิไคแสควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 78.30 อายุเฉลี่ย 48.44 +- 10.76 ปี อายุสูงสุด 82 ปี อายุต่ำสุด 22 ปี ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับต่ำกว่าหรือเท่ากับประถมศึกษา รายได้ต่อเดือนเฉลี่ยส่วนใหญ่ 5,001-10,000 บาท อาชีพแม่บ้านและมีตำแหน่งทางสังคมเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างมีแรงจูงใจรวมต่อการเข้ามามีส่วนร่วมในการสำรวจปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.58) โดยมีแรงจูงใจด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 3.68) รองลงมาคือ ด้านผลประโยชน์ตอบแทนความรับผิดชอบและการได้รับการยกย่องนับถือ (ค่าเฉลี่ย 3.67, 3.51 และ 3.43 ตามลำดับ) การมีจิตสำนึกสาธารณะ พบว่าอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.73) ระดับการมีส่วนร่วมในการสำรวจปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคของกลุ่มตัวอย่างรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.28) โดยการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานมีมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 3.37) และการมีส่วนร่วมในการวางแผนมีน้อยที่สุด (ค่าเฉลี่ย 3.24) ความพึงพอใจของอาสาสมัครจากการสำรวจปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.71) จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่ารายได้ ตำแหน่งทางสังคม บุคคลที่ชักชวนให้เป็นสมาชิก แรงจูงใจและการมีจิตสำนักสาธารณะมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการสำรวจปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และเมื่อวิเคราะห์การถดถอยแบบขั้นตอนพบว่าตัวแปรที่มีความสำคัญเรียงตามลำดับ ได้แก่ การมีจิตสำนึกสาธารณะและแรงจูงใจเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการสำรวจปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภค โดยแสดงสมการการแสดงความสัมพันธ์ดังนี้ การมีส่วนร่วมในการสำรวจปัญหา = 1.400 + 0.308 (การมีจิตสำนึกสาธารณะ) + 0.206 (แรงจูงใจ) ... (R[superscript2 = 0.281, p=0.002) พบว่าตัวแปรที่มีความสำคัญเรียงตามลำดับ ได้แก่ แรงจูงใจ การมีจิตสำนึกสาธารณะ การมีส่วนร่วมในการสำรวจปัญหาและรายได้ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจ โดยแสดงสมการแสดงความสัมพันธ์ ดังนี้ ความพึงพอใจ + 0.889 + 0.366 (แรงจูงใจ) + 0.268 (การมีจิตสำนึกสาธารณะ) + 0.180 (การมีส่วนร่วม) - 0.038 (รายได้) .... (R[superscript2 = 0.569, p =0.028) ปัญหาและอุปสรรคของอาสาสมัครที่พบจากการดำเนินงาน คือ ด้านตัวอาสาสมัครเองมีข้อจำกัดในเรื่องเวลา สุขภาพ ค่าตอบแทน ด้านผู้ประกอบการและชุมชน คือ การไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานแก่อาสาสมัคร ด้านเจ้าหน้าที่ภาครัฐ คือ การประสานงานและการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบในเรื่่องปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคและบทบาทของอาสาสมัครค่อนข้างน้อย ข้อเสนอแนะ คือ การสร้างแรงจูงใจ การจัดการเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนทราบเรื่องปัญหา การคุ้มครองผู้บริโภค การสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วม และการสร้างจิตสำนึกในการทำงานให้กับอาสาสมัคร รวมทั้งการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ th
dc.description.abstract The study is aimed to examine what factors have influenced job participation and satisfaction in Consumer Volunteers in Samutprakarn. The relationship between personal factors, motivation, and public consciousness which have affected the consumer satisfaction have been investigated. A selected random sampling group is 314 Consumer Protecting Volunteers in Samutprakarn. The content of questionnaires used have been proven by experts, and confidence test has been performed using Cronbach's Alpha Coefficient (r) equal to 0.933. Data analysis has been conducted by using SPSS/PC software program in term of percentage and mean. The relationship has been identified by Chi-square, Pearson Product Moment Correlation coefficient and Multiple Regression Analysis. The results have shown that 78.30% of subjects are female, average age is 48.44 + 10.76 years; the oldest is 82 years and youngest is 22 years. Majority completed under or equivalent to primary educational level. The majority of salary ranges between Bht 5,001-10,000. The subjects are housewives and local health volunteers most for social position. They reported high motivation toward involvement in consumer protection problem survey (mean = 3.58); namely they protected highest motivation for performance (mean = 3.68) and for reward, responsibility and recognition (Means = 3.67, 3.51 and 3.43 respectively). They reported high public consciousness (Mean = 3.73). The extent of public participation in consumer protection problem survey was reported moderately (Mean = 3.28). The participation was reported most (Mean = 3.37) while participation on planning was reported least (Mean = 3.24). They reported high satisfaction and high effect of consumer protection problem survey (Mean = 3.71). It has been demonstrated that relationship between income, social position, referral,. motivation, and public consciousness have associated with consumer protection problem survey significantly (p=0.005). Based on Multiple Regression Analysis, it was indicated that primary factors indeed to consumer protection problem survey as follows; public consciousness and motivation, which are predominant factors. The function derived from analysis was as follow: Participation = 1.400 + 0.308 (Public consciousness) + 0.206 (Motivation) ...(R[superscript2 = 0.281, p=0.002). In addition, vigorous factors running in priority were motivation, public consciousness, participation and income; all these have influenced satisfaction. The function derived from analysis was as follow: Satisfaction = 0.889 + 0.366 (Motivation) + 0.268 (Public Consciousness) + 0.180 (Participation) - 0.038 (Income) ... (R[superscript2 = 0.569, p = 0.028). The member associated problems and drawbacks found in operation include time limitation caused by members themselves, health and reward. On the other hand, the community and enterprise operator-associated problems and drawbacks found include non-compliance, while co-operation and public promotion is rare for state officials. Finally, it was suggested that motivation and public dissemination involving consumer protection, common will, nurturing consciousness in working should be encouraged among club members as well as adequate appreciation is required. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject ความพอใจ th
dc.subject Satisfaction th
dc.subject อาสาสมัคร th
dc.subject Volunteers th
dc.subject จิตสาธารณะ th
dc.subject Public mind th
dc.subject การจูงใจ (จิตวิทยา) th
dc.subject Motivation (Psychology) th
dc.title ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของอาสาสมัครในงานคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ th
dc.title.alternative Factors Affecting Job Participation and Satisfaction of Consumer Protecting Volunteers in Samutprakarn th
dc.type Independent Studies th
dc.degree.name วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การจัดการระบบสุขภาพ th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account