การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของขี้ผึ้งสมุนไพรจีนเพื่อรักษาอาการเรื้อรัง โดยเฉพาะอาการปวดในผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้ตำรับยา "เสว่ฟู่จู๋ยวี" โดยศึกษาแบบสองกลุ่มเปรียบเทียบกัน เก็บข้อมูลก่อนและหลังทดลอง (Clinical control-trial group) โดยกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แผนจีนแล้วว่าอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการภาวะปวดชนิดเลือดคั่งตามศาสตร์การแพทย์แผนจีนจำนวน 67 คน เป็นหญิง 34 ราย เป็นชาย 33 ราย กลุ่มทดลอง เป็นหญิง 18 ราย เป็นชาย 15 ราย รวม 33 ราย อายุเฉลี่ย 66.81 ปี ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย (BMI) 24.47 k9/m2 กลุ่มควบคุม เป็นหญิง 16 ราย เป็นชาย 18 ราย รวม 34 ราย อายุเฉลี่ย 68.35 ปี ค่าเฉลี่ยดัชนี มวลกาย (BMI) 24.31 k9/m2 โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มจะได้รับขี้ผึ้งสมุนไพรคนละ 1 กระปุก ทาและนวดเบา ๆ ในบริเวณที่มีอาการปวดทุกวัน ๆ ละ 2 ครั้ง (เช้า และก่อนนอน) ติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ ประเมินผลโดยการใช้แบบบันทึกข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า ในด้านอายุ ดัชนีมวลกาย การทำงาน กิจกรรมที่ทำและอาการปวด ก่อนการรักษาทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05 ) กลุ่มทดลองหลังใช้ขี้ผึ้งสมุนไพรจีนตำรับ "เสว่ฟู่จู๋ยวี" พบว่ามีอาการปวดลดลงอย่างมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05 ) ภายในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ กลุ่มควบคุมพบว่า อาการปวดก่อนและหลังการรักษาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05 ) การเปรียบเทียบสภาวะโรคทางแพทย์จีนพบว่า ทั้งสองกลุ่มก่อนและหลังการรักษาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05 )
This research study aimed to study the efficacy of Chinese herbal ointments for treating chronic pain, especially pain in the elderly in Bang Chalong Subdistrict, Bang Phli District, Samut Prakan Province, using the formula "Xue Fu Zhu Yu" by a two-group comparison study. Data were collected before and after the experiment (clinical control-trial group). The groups consisted of elderly people in Bang Phli District in Samut Prakan Province. Those diagnosed by traditional Chinese medicine were among 67 patients with thrombophlebitis, including 34 females and 33 males. In the experimental group there were 18 females and 15 males and a total of 33 cases: mean age 66.81 years, mean body mass index (BMI) 24.47 kg/m2, and in the control group: 16 females, 18 males, total 34 cases, mean age 68.35 years, mean body mass index (BMI) 24.31 kg/m2. Both groups received 1 jar of herbal ointment each, applied and lightly massaged to the affected area twice daily (morning and bedtime) for a period of one week. Evaluation was done by using a record form. The results showed that there was no statistically significant difference in age, body mass index, work activity, and pain before treatment between the two groups (p>0.05 ). There was a statistically significant difference in pain reduction (p<0.05 ) in the experimental group within one week, and there was no statistically significant difference in pain before and after treatment (p>0.05 ) Comparison of syndromes in Chinese medicine found that there were no statistically significant differences between the two groups before and after treatment (p>0.05 ).