DSpace Repository

ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตของคนไทยในสังคมอุตสาหกรรมใหม่ : ด้านโภชนาการสุขภาพอนามัยและด้านครอบครัว

Show simple item record

dc.contributor.author พรรณปพร เอกพัฒน์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม th
dc.date.accessioned 2024-01-21T05:02:36Z
dc.date.available 2024-01-21T05:02:36Z
dc.date.issued 1984
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1641
dc.description.abstract การศึกษาเรื่อง ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตด้านครอบครัวและสุขภาพอนามัยของคนไทยในอุตสาหกรรมใหม่ด้านโภชนาการ สุขภาพอนามัย และครอบครัวของชุมชนบางพลีและชุมชนลาดกระบัง มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบถึงคุณภาพชีวิตด้านชีวิตครอบครัวและสุขภาพอนามัย ในชุมชนเมืองใหม่บางพลี และชุมชนย่านอุตสาหกรรมลาดกระบังเป็นอย่างไร มีความแตกต่างกันใน 2 ชุมชน โดยทำการศึกษาจากกลุ่มประชากร ชุมชนบางพลี จำนวน 250 คน และชุมชนลาดกระบัง จำนวน 250 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโดยบังเอิญ (Accidential Sampling) และใช้แบบสอบถาามประกอบการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพชีวิตของชุมชนบางพลี และชุมชนลาดกระบังไม่มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ คุณภาพชีวิตด้านครอบครัวยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีสถานภาพการสมรสแล้วมากที่สุด เมื่อสมรสแล้วอยู่ด้วยกันมากกว่าแยกกันอยู่ ส่วนกลุ่มที่แยกกันอยู่มีจำนวนน้อยแยกกันอยู่จากการทำงานกันคนละแห่งหรือคู่สมรสอยู่ต่างจังหวัดจึงจำเป็นต้องแยกกันชั่วคราว หรือมีความขัดแย้งกันไม่ลงรอยกัน หรือหย่าจากกัน บางรายอาจตายจากกันที่เป็นสาเหตุให้คู่สมรสต้องแยกจากกัน อยู่ด้วยกันโดยมีการจดทะเบียนสมรสมากกว่าไม่มีการจดทะเบียนสมรส และมีการจดทะเบียนสมรสครั้งเดียวมากที่สุด ส่วนกลุ่มที่มีการจัดทะเบียนสมรสหลายครั้งมีจำนวนไม่มากและจำนวนครั้งของการจดทะเบียนสมรสสูงสุด คือ 5 ครั้งในครอบครัวจะมีผู้อื่นจำนวนมากมาอาศัยอยู่ด้วย ซึ่งจะเป็นบุคคลวัยฉกรรจ์อายุระหว่าง 21-40 ปี ส่วนวัยทารกอายุระหว่าง 0-1 ปี พบเพียงเล็กน้อย เมื่อสมาชิกในครอบครัวเกิดเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ รวมทั้งโรคจากความเครียด วิกลจริต ในครอบครัวจะดูแลสมาชิกกันเองโดยไม่คิดว่าเป็นภาระต่อครอบครัว เพราะเห็นว่าผู้เจ็บป่วยเป็นบุคคลที่มีคุณค่าในครอบครัวควรให้ความช่วยเหลือดูแลสมาชิกที่ป่วย มีส่วนน้อยเท่านั้นที่พาไปรักษาหรือส่งไปอยู่สถานพยาบาล กลุ่มผู้มีความพิการจะพบในกลุ่มอายุระหว่าง 0-1 ปี แต่ไม่ทราบสาเหตุของความพิการ ส่วนความพิการอื่นๆ เช่น พิการจากอุบัติเหตุ พันธุกรรม ความเจ็บป่วยจากการทำงานพบในกลุ่มอายุระหว่าง 2-60 ปี ขึ้นไป มีจำนวนไม่มาก กลุ่มความพิการจากการขาดสารอาหารยังไม่พบทั้ง 2 ชุมชน เมื่อ 10 ปีก่อนสมาชิกตั้งครรภ์จะฝากครรภ์ คลอด และดูแลหลังคลอด การได้รับวัคซีนของเด็ก สมาชิกในครอบครัวจะให้แพทย์ดูแลมากกว่าไปรับบริการอื่นๆ และในปัจจุบันการไปรับการดูแลที่แพทย์ยังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ส่วนการดูแลโดยหมอตำแยและพยาบาลเมื่อ 10 ปีก่อนมีจำนวนไม่มาก และปัจจุบันก็ใช้บริการลดลง ชุมชนได้รับรู้ เรื่องการรับวัคซีนจากศูนย์สาธารณสุข ได้รับวัคซีนครบถ้วน ได้รับรู้เรื่องโรคเอดส์ วิธีป้องกัน โรคเอดส์จากสื่อต่างๆ รู้จักวิธีการป้องกันโรคเอดส์จากการไม่เที่ยวสำส่อนไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ หรือเที่ยวตามสถานเริงรมย์ต่างๆ เมื่อเที่ยวหรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ จะใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันตนเอง แต่ก็ยังมีส่วนน้อยที่ไม่รู้วิธีป้องกันโรคเอดส์ และเมื่อเที่ยวก็จะไม่ใช้วิธีป้องกันใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น ควรมีการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ ถึงแม้ว่าสัดส่วนผู้ที่ไม่ใช้วิธีการป้องกันโรคเอดส์ใดๆ มีจำนวนน้อย แต่ก็น่าที่จะให้ความสนใจ และควรมีการศึกษาต่อในเรื่องปัจจัยหรือสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเครียด วิธีการที่สมาชิกดูแลกันเองเมื่อสมาชิกในครอบครัวป่วย และแรงจูงใจที่ทำให้ไม่ใช้วิธีการป้องกันโรคเอดส์ใดๆ ทั้งสิ้น th
dc.description.sponsorship ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject คุณภาพชีวิต th
dc.subject Quality of life th
dc.subject อนามัยชุมชน th
dc.subject Public health th
dc.subject อนามัยครอบครัว th
dc.subject Families -- Health and hygiene th
dc.subject ชุมชนเมืองใหม่บางพลี th
dc.subject ชุมชนลาดกระบัง th
dc.title ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตของคนไทยในสังคมอุตสาหกรรมใหม่ : ด้านโภชนาการสุขภาพอนามัยและด้านครอบครัว th
dc.title.alternative Social Indicators for Quality of Life of Thai New Industrial Community's Inhabitant Nutrition & Health and Family Life Aspects th
dc.type Technical Report th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account