การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ พุทธศักราช 2547 โดยใช้แบบจำลองซิป (CIPP Model) ศึกษาในด้านบริบท ได้แก่ วัตถุประสงค์หลักสูตร โครงสร้างและเนื้อหาของหลักสูตร ด้านปัจจัยเบื้องต้น ได้แก่ ผู้เรียน ผู้สอนและสื่อการเรียนการสอน ด้านกระบวนการ ได้แก่ กิจกรรมการเรียนการสอน การจัดและประเมินผลการเรียนการสอน การบริหารหลักสูตรและด้านผลผลิต ได้แก่ คุณภาพบัณฑิตประกอบด้วยคุณลักษณะทั่วไป สมรรถนะตามวัตถุประสงค์หลักสูตร ความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานและความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน นักศึกษาที่ศึกษาในปีการศึกษา 2550 ผู้สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2549-2550 และผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษารวม 39 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามด้วยสถิติเชิงพรรณนาทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างในด้านต่างๆ ต่อหลักสูตรด้วย Mann-Whitney U Test และ Wilcoxon Signed Ranks Test ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. ด้านบริบท : วัตถุประสงค์หลักสูตรสอดคล้องกับความต้องการของสังคม พัฒนาผู้เรียนในการเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนระดับมาก โครงสร้างแผน ก. และ แผน ข. ในแง่จำนวนหน่วยกิตแต่ละวิชาหน่วยกิตรวมทั้งหลักสูตรเหมาะสมระดับมาก เนื้อหารายวิชาแกนและวิชาเฉพาะสาขาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักสูตร น่าสนใจและทันสมัยเรียงลำดับจากง่ายไปยาก สอนให้วิเคราะห์สังเคราะห์ได้ ไม่ซ้ำซ้อนกัน ส่งเสริมต่อการเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน ส่งเสริมให้มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพและคุณธรรมจริยธรรมระดับมาก แต่เนื้อหาสาระแน่นมาก ซึ่งนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษามีความคิดเห็นต่อโครงสร้างของหลักสูตรและเนื้อหาสาระของรายวิชาแกนในแผน ก. และแผน ข. ไม่แต่กต่างกัน แต่มีความเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของวิชาเฉพาะสาขาแตกต่างกัน
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น : ผู้เรียน ผู้สอนและสื่อการเรียนการสอนเหมาะสมปานกลางถึงมาก ผู้สอนเอาใจใส่ สอนดี เก่ง แต่ไม่เพียงพอ ภาระงานมาก ผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากหน่วยงานปฐมภูมิ จำนวนและคุณภาพการบริการของสื่อและหนังสือต้องปรับปรุง ซึ่งนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษามีความคิดเห็นต่อปัจจัยเบื้องต้นไม่แตกต่างกัน
3. ด้านกระบวนการ ได้แก่ กิจกรรมการเรียนการสอน การจัดและประเมินผลการเรียนการสอน การบริหารหลักสูตรเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นมากที่สุด กำหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขต กิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินผลรายวิชาชัดเจน เน้นการคิดวิเคราะห์ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสัมมนา การทำแผนที่ความคิดและฝึกปฏิบัติ สื่อเหมาะสม จูงใจให้มีส่วนร่วมอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น สถานที่ฝึกงานส่งเสริมความรู้และทักษะได้ดี ประเมินหลากหลายวิธี นำผลการวัดและประเมินผลมาพัฒนาการเรียนการสอนระดับมาก วิชาภาคทฤษฎีแต่ยังขาดการบูรณาการ การต่อเนื่องเชื่อมโยงแต่ละรายวิชาเข้าด้วยกัน
4. ด้านผลผลิต : ผู้บังคับบัญชาคาดหวังคุณภาพบัณฑิตด้านความรู้ทางวิชาการ ความสามารถในการพยาบาลขั้นสูงแก่บุคคล ครอบครัว กลุ่มคนและชุมชนที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อน แก้ไขได้ยาก การบริหารจัดการ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ การทำวิจัยและการนำผลการวิจัยไปใช้ การพัฒนาชุมชนและสังคม การเป็นผู้นำทางความคิด การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง การสื่อสารภาษาไทยและต่างประเทศ การใช้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ การแข่งขันระดับชาติ การเป็นผู้มีจรรยาบรรณวิชาชีพระดับมาก แต่คุณภาพบัณฑิตตามที่เป็นจริงและตามที่คาดหวังแตกต่างกัน
ข้อเสอแนะ: ผลจากการวิจัยสามารถเป็นแนวทางในการปรับโครงสร้างและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร พัฒนาศักยภาพอาจารย์ ปรับปรุงตำรา หนังสือ คอมพิวเตอร์ สื่อและด้านบริการ ปรับกระบวนการจัดการศึกษา กิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมเสริมหลักสูตรและกำหนดทิศทางการพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตและบัณฑิตวิทยาลัย ควรสนับสนุนทรัพยากรการเรียนรู้ จัดสรรให้มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อ และกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เติมเต็มต่อการเรียนรู้
The purpose of this research was to evaluate the curriculum of Master Degree of Nursing (Community Nurse Practitioner) from the Faculty of Nursing, Huachiew Chalermprakiet University in 2007 by CIPP Model. The context (objectives, structures, and contents), input (students, instructors, and medias) process (learning activities, evaluations, and administration) and output (general and specific performances, customer satisfaction) of curriculum were interested. The study sample were 39 subjects who were curriculum committee, instructors, students in 2007, graduates in 2006-2007, and their supervisors. The data were analyzed by descriptive statistic, Mann-Whitney U Test, and Wilcoxon Signed Ranks Test from questionnaires and content analysis included in-dept interview and focus group. The results were as following : 1. Context evaluation : The curriculum objectives were accordingly responded to social need and facilitate the students to be nurse practitioner. The credit in the whole and in each subject were appropriate. The principle content in core and specific subjects were accorded to curriculum objectives. They emphasized on enhancing students to have analyzed and synthesized skills, positive professional attitude and ethical practices. However, contents in each subject were tightness. The mean scores of opinion between students and graduated to the curriculum structure and principle content were non-significantly different, but specific subjects were significantly different.
2. Inout evaluation : The levels of satisfaction to learning process management among students and instructors were moderate to high. Even though the instructors have less and burden to their works but they evidently devoted to their students. Most students did not recruit from primary health care level. The learning resource supports and services should be improved. The mean scores of opinion among students and graduates in this aspect were non-significantly different.
3. Process evaluation : The objectives, scopes, learning activities and evaluations in each subject were eminent accordance. The students could independently and thoroughly reflect on learning process. They were regularly forced to learn by analytical thinking, self study, seminar, mind mappping, and practitioner practicing in appropriate areas. The subject evaluation were varieties and contunually revised. However, the integrations and consecutive in each theoretical subjects were not remarkable.
4. Product evaluation : The superiors expected to the graduate performance in academic knowledge, advance nursing practices in personal, family, group, and community levels, administrative and management skills, new knowledge development, research practice and utilization, community development, leadership, change agent, communication skill, computer and technology skills, health competition, and ethical practice in high levels. However, all of the graduate capacities in practical were not according to the superior expectation.
Suggestions : The results of this research could be evidenced based for improving and directing nursing curriculum in master degree of community nurse practitioner of Huachiew Chalermprakiet University, including structures and objectives, curriculum management and administration, teaching-learning processes, and involving academic services and resources. Graduated School should support learning resources, create learning environment and fulfill effectively learning process by various academic activities.