DSpace Repository

ผลของการฟื้นฟูการทำงานของหูชั้นในในผู้ป่วยหลังจัดตะกอนหินปูนด้วยโปรแกรม ห้าจุดหยุดเวียนศีรษะในคลินิกลดเวียนศีรษะ แผนกกายภาพบำบัด รพ.ตรัง

Show simple item record

dc.contributor.author วัชรินทร์ ทายะติ
dc.contributor.author ธิดาพร ไตรรัตนสุวรรณ
dc.contributor.author ภาริส วงศ์แพทย์
dc.contributor.author Watcharin Tayati
dc.contributor.author Tidaporn Tairattanasuwan
dc.contributor.author Paris Wongphaet
dc.contributor.other Trang Hospital. Department of Rehabilitation Medicine. Physical Therapy Division. Vestibular Rehabilitation Clinic th
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy th
dc.contributor.other Samrong General Hospital. Department of Rehabilitation Medicine th
dc.date.accessioned 2024-01-22T13:35:27Z
dc.date.available 2024-01-22T13:35:27Z
dc.date.issued 2022
dc.identifier.citation วารสารกายภาพบำบัด 44,3 (ก.ย.-ธ.ค. 2565) : 208-222 th
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1654
dc.description สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjpt/article/view/254955/177570
dc.description.abstract ที่มาและความสำคัญ: การบริหารแบบ Modified Cawthorne Cooksey exercise (MCC) เป็นวิธีการมาตรฐาน เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการทรงตัว (vestibular rehabilitation) ของผู้ป่วยโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด ภายหลังการจัดตะกอนหินปูนในคลินิกลดเวียนศีรษะ โรงพยาบาลตรัง แต่การปฏิบัติท่าบริหารดังกล่าวทำได้ยาก สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาการใช้งานแขนและมือ ผู้วิจัยจึงได้ออกแบบวิธีการฝึกบริหารแบบใหม่ ที่ไม่ต้องใช้แขนในการฝึก เรียกว่า Five Points Hands Free (FPHF) ขึ้นมาใช้ทดแทน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการฟื้นฟูสมรรถภาพการทรงตัวด้วยการฝึกแบบ FPHF เปรียบเทียบกับแบบ MCC แบบ customized vestibular rehabilitation (CVR) วิธีการวิจัย: วิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด ก่อนและหลังการฟื้นฟูสมรรถภาพการทรงตัวด้วยการฝึกแบบ FPHF หรือ CVR ทำการประเมินระดับความรุนแรงของอาการเวียนศีรษะด้วยการประเมิน visual analogue scale (VAS) ประเมินความนิ่งของการกลอกตาด้วยการทดสอบ Gaze evoked nystagmus (GEN) และผลการทดสอบ Head impulse test (HIT) ผลการวิจัย: ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีคะแนน VAS, HIT และ GEN ที่ดีขึ้นหลังรับการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ค่า p < 0.01 เมื่อเทียบกับก่อนการรักษา อย่างไรก็ตามพบว่าผู้ป่วยกลุ่ม FPHF มีการเปลี่ยนแปลงของ คะแนน GEN ที่สูงกว่า กลุ่ม CVR อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ค่า p < 0.01 สรุปผล: การศึกษาแบบย้อนหลังนี้ พบว่า ฟื้นฟูการทำงานของระบบการทรงตัว ด้วยวิธี FPHF ให้ผลเทียบเท่ากันกับวิธี CVR และอาจมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าในด้านการฟื้นฟูเฉพาะด้านความนิ่งของการกลอกตาอีกด้วย th
dc.description.abstract Background: Modified Cawthorne Cooksey exercise was the standard therapy for Vestibular Rehabilitation (VR) after canalith repositioning of patients with Benign Paroxysmal Positional Vertigo (BPPV) at Trang Hospital. This form of exercise requires use of arm function which can be difficult or painful in some patients. A new Five Points Hands Free (FPHP) exercise was invented as an alternative. Objective: To compare the effectiveness of VR using FPHF versus MCC exercises by means of Customized Vestibular Rehabilitation (CVR). Methods: Retrospective analysis comparing the improvement of BPPV patients who use FPHF or CVR for their VR. Dizziness severities were assessed with the Visual Analogue Scale (VAS). Gaze stability was assessed with the Gaze-Evoked Nystagmus test (GEN) and Head Impulse Test (HIT). Results: Both FPHF and CVR groups showed statistically significant improvement of VAS, HIT, and GEN after VR at p<0.01 between before and after VR exercises. However, the FPHF groups showed significantly greater improvement in GEN score than the CVR group with p <0.01. Conclusion: This retrospective study demonstrated that both FPHF and CVR are effective for VR. The FPHF may be more effective than the CVR to improve gaze stability. th
dc.language.iso th th
dc.subject โรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน th
dc.subject Benign Paroxysmal Positional Vertigo th
dc.subject เวียนศีรษะ th
dc.subject Vertigo th
dc.subject ห้าจุดหยุดเวียนศีรษะ th
dc.subject Five Points Hands Free th
dc.subject การทรงตัว th
dc.subject Equilibrium (Physiology) th
dc.title ผลของการฟื้นฟูการทำงานของหูชั้นในในผู้ป่วยหลังจัดตะกอนหินปูนด้วยโปรแกรม ห้าจุดหยุดเวียนศีรษะในคลินิกลดเวียนศีรษะ แผนกกายภาพบำบัด รพ.ตรัง th
dc.title.alternative The Effect of Five Points Hand Free Program for Benign Paroxysmal Positional Vertigo Patients after Canalith Repositioning Procedure in Vestibular Rehabilitation Clinic, Physical Therapy Division, Trang Hospital th
dc.type Article th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account