อาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูกเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย และพบในกลุ่มประชากรที่มีอายุน้อยลง เช่น นักเรียน นักศีกษา โดยเฉพาะในกลุ่มของนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่จะมีหน้าที่ในการดูแลปัญหาทางสุขภาพของผู้อื่นในอนาคต เพื่อทราบ ถึงความพร้อมของร่างกายและบ่งบอกถึงโอกาสการเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูกต่อไป งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของอาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลัง พิสัยการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง และการทรงท่า รวมทั้ง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวดกับพิสัยการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังในนักศึกษากายภาพบําบัดชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2558 มหาวทยาลัยหัวเฉียวเฉลืมพระเกียรติ จำนวน 114 คน ตรวจประเมินด้วยแบบสอบถามระดับความเจ็บปวด (visual analog scale; VAS) ในร่างกาย 3 ตําแหน่ง (คอ หลังส่วนบนและหลังส่วนล่าง) วิเคราะห์การทรงท่า (postural analysis) ด้วย postural analysis grid chart และวัดพิสัยการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนคอ หลังส่วนบน และหลังส่วนล่างด้วยเครื่องวัดมุมองศา (single/double inclinometer) ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลัง (76.32-55.26%) ส่วนในกลุ่มนักศึกษาที่มีอาการปวดพบว่า ปวดคอ 44.74% ระดับอาการปวดคอเฉลี่ย 3.34, ปวดหลังส่วนล่าง 26.32% ระดับอาการปวดหลังส่วนล่างเฉลี่ย 4.37 และปวดหลังส่วนบน 23.68% โดยมีระดับอาการปวดหลังส่วนบนเฉลี่ย 3.81 ตามลําดับ พิสัยการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังพบว่า มีการจํากัดการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนคอและหลังส่่วนบน ในทุกทิศทาง ยกเว้น ทิศทางการหมุนตัวส่วนบนไปด้านขวา (23.11±9.45 องศา) และพิสัยการเคลื่อนไหวของหลังส่วนล่างทุก ทิศทางอยู่ในเกณฑ์ปกติ อย่างไรก็ตาม ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวดกับพิสัยการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังในทุกทิศทาง (p > 0.05) การทรงท่าส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มการทรงท่าที่ถูกต้อง (correct posture & no impairment ค่าเฉลี่ยคะแนน 81.67 = ไม่มีความผิดปกติ) สรุปผลการวิจัย นักศึกษากายภาพบําบัดชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2558 มหาวิทยาลัยหัวเฉลิมพระเกียรติ ส่วนใหญ่ ไม่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลัง รวมทั้งการทรงท่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ในกลุ่มนักศึกษาที่มีอาการปวดพบว่า ปวดคอมากที่สุด รองมาเป็นปวดหลังส่วนล่างและปวดหลังส่วนบน ตามลำดับ อย่างไรก็ตามไม่พบความสัมพันธั ระหว่างอาการปวดกับพิสัยการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังในทุกทิศทาง
Spinal pain is the most common problem especially the health sciences student which will be responsible for rehabilitation of patient’s health problems in the future. They must understand physical health problems and the chance to develop the musculoskeletal system. Our objectives are as follows, firstly, to study the prevalence of spinal pain, range of motion and postural analysis. Secondly, to identify relationships between spinal range of motion and subjectively pain scored in the first year physical therapy students. One hundred and fourteen, first year physical therapy students (academic year 2015) at Huachiew Chalermprakiet University were subjectively evaluated pain scored at neck thoracic and lower back by visual analog scale (VAS), postural analysis by postural analysis grid chart and pump line. They were assessed spinal range of motion by single/double inclinometer measurement. The results indicated that most of students had no neck, thoracic and lower back pains (76.32-55.26%). This study found that the most prevalence of musculoskeletal pain was on neck pain 44.74% mean neck pain 3.34, lower back pain 26.32%, mean back pain 4.37. There were low back pain 26.32% and thoracic pain 23.68% respectively mean thoracic pain 3.81. The spinal range of motion was limited for neck and thoracic movement but low back movement was normal. However, neck, thoracic and lower back pain were not correlated with spine range of motion in all directions (p > 0.05). The postural analysis of students almost was correct posture (average scored 81.67 = no impairment). In conclusion, most first year physical therapy students had no spine pain and normal posture. Neck pain is the most common, low back pain and thoracic pain respectively. However, spine pain was not correlated with spine range of motion in all directions.