DSpace Repository

ความมั่นคงขณะเดินและการมองเห็นระหว่างกลุ่มนักศึกษาวัยหนุ่มสาวที่มีและไม่มีอาการเวียนหรือมึนศีรษะ

Show simple item record

dc.contributor.author ธิดาพร ไตรรัตนสุวรรณ
dc.contributor.author รุ้งเพชร สงวนพงษ์
dc.contributor.author พิชานัน เมธาจารุนนท์
dc.contributor.author กัญญารัตน์ จรูญผล
dc.contributor.author ยิ่งลักษณ์ วิรุณรัตนกิจ
dc.contributor.author TidapornTairattanasuwan
dc.contributor.author Rungpetch Sanguanpong
dc.contributor.author Pichanan Methajarunon
dc.contributor.author Kanyarat Jaroonphon
dc.contributor.author YinglukWirunratanakij
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy th
dc.contributor.other Thammasat University. Faculty of Medicine. Department of Otolaryngology th
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy
dc.date.accessioned 2024-01-24T06:37:57Z
dc.date.available 2024-01-24T06:37:57Z
dc.date.issued 2021
dc.identifier.citation วารสารกายภาพบำบัด 43, 2 (พ.ค. - ส.ค. 2564) : 45-58 th
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1662
dc.description สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjpt/article/view/211503/171533
dc.description.abstract ที่มาและความสำคัญ: อาการเวียนศีรษะในวัยหนุ่มสาวส่งผลกระทบและเป็น อุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเดินทาง การเข้าร่วมกิจกรรมและสมาธิของการทำงาน อย่างไรก็ตาม การศึกษาอาการเวียนศีรษะซึ่งส่งผลต่อความมั่นคงของการทรงตัวและความมั่นคงของการมองเห็นยังมีอย่างจำกัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยหนุ่มสาว จึงเป็นที่มาของการศึกษาในครั้งนี้ วัตถุประสงค์: วัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความมั่นคงของการทรงตัวและการมองเห็นโดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่มีและไม่มีอาการเวียนศีรษะ โดยมีวัตถุประสงค์รองเพื่อศึกษาความผิดปกติของระบบเวสติบูลาร์ในกลุ่มวัยหนุ่มสาวที่มีและไม่มีอาการเวียนศีรษะ วิธีการวิจัย: กลุ่มอาสาสมัครอายุระหว่าง 18 – 29 ปี จำนวน 22 คน เป็นกลุ่มที่มีอาการและไม่มีอาการเวียนศีรษะจำนวนเท่ากัน อาสาสมัครทั้งสองกลุ่มจะได้รับการซักประวัติและตรวจร่างกายพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัว การมองเห็น และการทำงานของระบบประสาทที่ เกี่ยวข้องกับการกรอกตา (oculomotor test) เป็นต้น อาสาสมัครจะได้รับการตรวจประเมินความมั่นคงของการทรงตัวด้วย functional gait assessment (FGA) และความมั่นคงของการมองเห็นด้วย dynamic visual acuity (non-instrument DVA) การประเมินความผิดปกติของระบบเวสติบูลาร์จะทำการตรวจด้วยการทดสอบ head impulse test (HIT) เพื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่มีอาการเวียนและไม่เวียนศีรษะ การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติตัวแปรหลักด้านความมั่นคงของการทรงตัว เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วย independent t-test และเปรียบเทียบสัดส่วนตัวแปรหลักด้านความมั่นคงของการมองเห็นและความผิดปกติ ทางด้านระบบเวสติบูลาร์ระหว่างกลุ่มซึ่งเป็นตัวแปรรอง โดยใช้สถิติ Fisher's exact ผลการวิจัย: พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของความมั่นคงในการทรงตัวระหว่างกลุ่ม (p = 0.006) และพบความแตกต่างของสัดส่วนความผิดปกติของระบบเวสติบูลาร์ระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.024) โดยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของความมั่นคงของการมองเห็นระหว่างกลุ่ม โดยอาการเวียนศีรษะเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความผิดปกติของการทรงตัวด้วยค่า odd ratio เท่ากับ 17.5 และ 95%CI เท่ากับ 2.02 - 151.63 สรุปผล: วัยหนุ่มสาวที่มีอาการเวียนศีรษะจะมีความสามารถด้านการทรงตัวที่น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่มีอาการเวียนศีรษะ ซึ่งอาจเป็นผลของการทำงานที่ผิดปกติของระบบเวสติบูลาร์ โดยพบว่าอาการเวียนศีรษะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความผิดปกติของการทรงตัว ดังนั้นวัยหนุ่มสาวที่มีอาการเวียนศีรษะควรได้รับการตรวจประเมินด้านการทรงตัวและการทำงานของระบบเวสติบูลาร์เพื่อเป็นแนวทางสำหรับวางแผนด้านการฟื้นฟูทางระบบเวสติบูลาร์ต่อไป th
dc.description.abstract Background: Dizziness in young adults affects the way to perform activities of daily living, transportation, participation, and concentration. Research so far presents the lack of concrete evidence about the dizziness in young adults affecting balance and gaze stability. Objective: The major objective was to evaluate balance and gaze stability between young adults with and without dizziness. The minor objective was to evaluate vestibular hypofunction between young adults with and without dizziness. Methods: Twenty-two participants between the age of 18 – 29 were equally divided into two groups. Both groups were questioned with subjective issues and examined balance, visual field as well as oculomotor function. Functional gait assessment and dynamic visual acuity were performed in both groups. The head impulse test was performed to identify vestibular hypofunction. Data analysis was based on an independent t-test to compare balance stability between groups and Fisher exact tests to compare the difference gaze stability proportion. Results: There was a significant difference in balance stability (p = 0.006) and positive head impulse test (p = 0.024). There was no significant difference in gaze stability between groups. Dizziness was related to balance instability with an odds ratio of 17.5 (95%CI, 2.02 –151.63). Conclusion: Young adults with dizziness has balance stability lesser than young adults without dizziness due to vestibular hypofunction. Hence, balance and vestibular function of young adults with dizziness should be assessed in order to be a guideline for effective vestibular rehabilitation. th
dc.language.iso th th
dc.subject เวียนศีรษะ th
dc.subject Dizziness th
dc.subject Vertigo th
dc.subject การทรงตัว th
dc.subject Equilibrium (Physiology) th
dc.subject Vestibular nerve th
dc.subject เวสติบูลาร์ th
dc.title ความมั่นคงขณะเดินและการมองเห็นระหว่างกลุ่มนักศึกษาวัยหนุ่มสาวที่มีและไม่มีอาการเวียนหรือมึนศีรษะ th
dc.title.alternative Balance during Walking and Gaze Stability in Young-adult with and without Vertigo or Dizziness Symptoms th
dc.type Article th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account