งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาเกมเพื่อสนับสนุนกระบวนการฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของแขนและมือสำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพเนื่องจากโรคหลอดเลือดสมอง เกมที่พัฒนาขึ้นเป็นการจำลองกิจกรรมหยิบลูกบอลลงกล่อง ซึ่งเป็นการทำกิจกรรมบำบัดที่ผู้ป่วยจะต้องทำในโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพอยู่แล้ว มีการออกแบบให้อยู่ในรูปแบบเกมคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มแรงจูงใจของผู้ป่วยในการทำกายภาพบำบัด ในการเล่นเกมผู้เล่นจะต้องเคลื่อนมือไปกำเพื่อหยิบลูกบอลที่แสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ แล้วนำมาวางด้วยการแบมือที่กล่องที่อยู่บริเวณกลางหน้าจอให้ตรงกับสีของลูกบอล โดยลูกบอลและกล่องมี 2 สี ได้แก่ สีแดงและสีเหลือง ทั้งนี้ผู้เล่นต้องควบคุมการเคลื่อนไหวแขนเพื่อหลบเสาซึ่งเป็นสิ่งกีดขวางที่อยู่นิ่งบนหน้าจอ หากมีการชนเกิดขึ้นจะมีการจำลองการชนด้วยการกระเด้งไปมาของลูกบอล ในการนำเข้าข้อมูลตำแหน่งและท่าทางของมือและแขนของผู้เล่นเข้าสู่คอมพิวเตอร์ได้ใช้กล้องตรวจรู้ความลึก ผลการวิจัยได้ทดลองกับผู้ทดสอบที่ไม่ใช่ผู้ป่วยและผู้ทดสอบที่เป็นผู้ป่วย โดยผลการทดลองในผู้ทดสอบที่เป็นอัมพฤกษ์ครึ่งซีกพบว่า ผู้ทดสอบสามารถเล่นเกมได้จนจบ โดยผู้ทดสอบซึ่งยังอยู่ในวัยทำงานพยายามอย่างมากที่จะเล่นให้จบเกมเนื่องจากต้องการหายเป็นปกติโดยเร็ว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแรงจูงใจในทางบวกของเกมที่มีต่อผู้ป่วย
This research is the development of a game to support arm and hand movement recovery for patients who require rehabilitation due to stroke. The game is a simulation of an activity that is the “Put the balls into the boxes” activity. It is the occupational therapy activity normally performed in the rehabilitation process. In this research, it is designed as a computer game to increase motivation of the patients. To play the game, the user has to move his hand to grasp the balls that were shown on the computer screen and put them by releasing his hand at the boxes with corresponding color that are located at the center of the screen. The balls and the boxes are in two different colors that are red and yellow. The user has to control movement of his arm to keep away from the poles that are stationary obstacles on the screen. If hitting occurs, it will simulate collision by showing bounce effect of the ball. The position and state of the hand and the arm are inputted to computer by using depth sensor camera. The experiments were performed by non-patient and patient subjects. The subject with hemiparesis could play until the end of the game. The subject that is still inworking-age population tried to play until the end of the game because he wanted to recover as soon as possible. This showed the game promoted positive motivation in the patients.