ปัจจุบันผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้น อายุที่เพิ่มขึ้นมักส่งผลต่อการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบประสาท เป็นต้น ส่งผลให้เกิดการจำกัดการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ รวมถึงการทำงานของแขนและมือของผู้สูงอายุ ทั้งในกิจกรรมที่ใช้แขนเพียงข้างเดียว เช่น การแปรงฟัน หรือกิจกรรมที่ใช้แขนทั้งสองข้างพร้อมกัน เช่น การขับรถ ด้วยเหตุนี้ จึงมีผู้พัฒนาแบบประเมินสำหรับทดสอบความสามารถของแขนจำนวนมาก ซึ่งในจำนวนนี้ แบบประเมิน Purdue pegboard (PPT), nine hole peg test (9-HPT) และ upper extremity performance test for the elderly (TEMPA) PPT และ 9-HPT เป็นแบบประเมินที่นิยมใช้ทดสอบการทำงานของแขนอย่างแพร่หลาย TEMPA เป็นแบบประเมินที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อทดสอบความสามารถในการใช้รยางค์แขนในผู้สูงอายุ แบบประเมินประกอบไปด้วยการทำกิจกรรมต่างๆที่เหมือนกับการใช้รยางค์แขนในชีวิตประจำวัน จะเห็นได้ว่ามีแบบประเมินที่ใช้ประเมินรยางค์แขนอยู่มากมาย แต่การศึกษาที่ทำการวิเคราะห์รูปแบบของการทดสอบการใช้รยางค์แขน รวมถึงคุณสมบัติต่างๆของแบบประเมินยังมีอยู่จำนวนน้อย ดังนั้น วัตถุประสงค์ของบทความนี้คือ เพื่อเปรียบเทียบแบบประเมินในเรื่องขององค์ประกอบของการทำงานของรยางค์แขนในผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 3 แบบประเมิน คือ แบบประเมิน PPT, 9-HPT และ TEMPA จากการพิจารณาพบว่า PPT และ TEMPA มีหัวข้อในการทดสอบความสามารถของรยางค์แขนมากกว่า 9-HPT แต่มีเพียงแบบประเมิน TEMPA ที่มีการให้คะแนนในเรื่องของคุณภาพการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่มีแบบประเมินใดที่ทดสอบได้ครอบคลุมทุกรูปแบบของการใช้แขน
Nowadays, the aging population is dramatically increasing. One of the signs of their advancing years has been shown in the form of an accumulation of molecular and cellular decline. This accumulation leads to the deterioration of body function, which causes difficulties for the elderly in their daily activities. Particularly in the activities related to the upper extremities (UEs) to complete the tasks, both unilateral hand function activities such as brushing teeth with one hand and bilateral hand function such as driving a car by using both hands. The contemporary and well-known UE assessments are The Purdue pegboard (PPT), the nine-hole peg test (9-HPT), and the Upper extremity performance test for the elderly (TEMPA). PPT and 9-HPT are commonly used in research settings and clinics. TEMPA is the tool to assess the UE function in the elderly, consisting of daily routine-imitated tasks. Despite a wide variety of UE assessment tools, the studies that differentiate the pattern of UEs functional test and analyze the abilities of the assessment are insufficient. Therefore, this article aims to review the characteristics of the three UE assessment tools: PPT, 9-HPT, and TEMPA. According to the finding, PPT and TEMPA have more subject matters than 9-HPT. Only TEMPA concerns about the quality of movement in the elderly. However, none of the assessment tools can comprehensively assess all UEs.