การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาการจัดบริการสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาผู้สูงอายุ ยากจนในตำบลนางบวช อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพชีวิตภาระรับผิดชอบและการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุยากจนในตำบลนางบวช อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี 2) ศึกษาบริการทางสังคม ที่รัฐ เอกชน และชุมชนจัดให้แก่ผู้สูงอายุยากจน ในตำบลนางบวช อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี 3) ศึกษาการเข้าถึงบริการทางสังคมที่จัดให้แก่ผู้สูงอายุยากจนในตำบลนางบวช อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรีกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ผู้สูงอายุยากจนที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 9 ครอบครัว ที่อาศัยอยู่ในตำบลนางบวช อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี โดยเลือกสภาพชุมชนที่มีความแตกต่างกัน ได้แก่ชุมชนชนบท ชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท และชุมชนเมือง คัดเลือกกลุ่มใน 3 ลักษณะ คือกลุ่มตัวอย่างที่อยู่โดดเดี่ยว กลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในครอบครัว 2-3 คน และกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในครอบครัว 3 คนขึ้นไป โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแนวคำถามประกอบการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในระหว่างการเยี่ยมบ้านส่วนการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและนำเสนอผลการศึกษาในรูปของการบรรยายเชิงพรรณนาผลการศึกษาสภาพความยากจน ภาระรับผิดชอบและการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุยากจน พบว่าสภาพความยากจนของผู้สูงอายุในชุมชนทั้ง 3 ชุมชน คือ ชุมชนชนบท ชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท และชุมชนเมือง มีลักษณะความยากจนเหมือนกัน ผู้สูงอายุทุกคนมีสภาพความยากจน ขาดแคลนเงินทองเครื่องมือเครื่องใช้สิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภค ที่อยู่อาศัยทรุดโทรม ยังต้องทำงานเลี้ยงตนเอง อาชีพที่ทำส่วนใหญ่เป็นอาชีพรับจ้างทั่วไป รายได้น้อย และบางส่วนยังต้องรับภาระเลี้ยงดูคนอื่นในครอบครัวด้วย ผู้สูงอายุยากจนส่วนใหญ่ได้รับการตอบสนองความต้องการด้านจิตใจน้อย ผู้ที่สามารถตอบสนองความต้องการด้านจิตใจของผู้สูงอายุได้คือ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ลูกหรือหลานที่ดูแลผู้สูงอายุค่อนข้างใกล้ชิด จะเห็นว่าลูกหลานของผู้สูงอายุหลายคนมิได้ตอบสนองความต้องการด้านจิตใจของผู้สูงอายุ บางส่วนขัดแย้งซึ่งเกิดจากความเครียดในการประกอบอาชีพ หรือการต้องเผชิญกับภาวะความยากจน ในส่วนของเพื่อนบ้านและเพื่อนร่วมวัยพบว่า เพื่อบ้านเป็นกลุ่มที่ตอบสนองความต้องการด้านนี้แก่ผู้สูงอายุที่อยู่โดดเดี่ยวได้มาก ส่วนผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในครอบครัว เพื่อนบ้านจะมีความสำคัญลดน้อยลงส่วนเพื่อนร่วมวัยส่วนใหญ่ไม่อาจตอบสนองความต้องการได้อีก เนื่องจากส่วนใหญ่เสียชีวิตไปหมดแล้ว โดยผู้สูงอายุในชุมชนได้รับการตอบสนองความต้องการด้านเงินทอง และข้อมูลข่าวสารน้อยกว่าผู้สูงอายุในชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท และชุมชนเมืองเนื่องมาจากระยะทางและแหล่งบริการทางสังคมอยู่ไกล การได้รับการศึกษาน้อยทำให้ไม่ทราบถึงข้อมูลข่าวสารไม่กล้าไปติดต่อขอความช่วยเหลือกับเจ้าหน้าที่รัฐผลการศึกษาบริการทางสังคมที่รัฐ เอกชน และชุมชนจัดให้แก่ผู้สูงอายุยากจน พบว่าบริการด้านสุขภาพซึ่งเป็นบริการทางสังคมจากภาครัฐ ได้แก่ สถานีอนามัย และโรงพยาบาลประจำ อำเภอที่ให้บริการรักษาฟรีแก่ผู้สูงอายุยากจน แต่สถานที่บริการส่วนใหญ่ยังอยู่ในชุมชนเมืองซึ่งผู้สูงอายุรู้สึกพึงพอใจกับบริการด้านนี้ บริการด้านการสนับสนุนรายได้และอาชีพยังไม่มีทั้งภาครัฐ เอกชน หรือชุมชนที่ให้บริการด้านนี้แก่ผู้สูงอายุในทุกชุมชนทั้ง 3 ชุมชน บริการด้านนันทนาการจะมีเฉพาะภาครัฐร่วมมือกับชุมชนจัดกิจกรรมให้แก่ครอบครัวผู้สูงอายุยากจนโดยมีลักษณะกิจกรรมร่วมกัน ส่วนบริการด้านการสงเคราะห์ ภาครัฐเท่านั้นที่มีเงินสงเคราะห์ เบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุยากจนคนละ 300 บาท บริการทางสังคมทั้ง 4 ด้าน ดังกล่าว ยังไม่ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน ผลการศึกษาการเข้าถึงบริการทางสังคมที่จัดให้แก่ผู้สูงอายุยากจน พบว่าการเข้าถึงบริการทางสังคมที่จัดให้แก่ผู้สูงอายุยากจนใน 3 ชุมชน มีความแตกต่างกันคือ ผู้สูงอายุในชุมชนชนบท เข้าถึงบริการทางสังคมน้อยกว่าผู้สูงอายุในชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบทและชุมชนเมือง เนื่องจากสภาพภูมิประเทศการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องโดยผู้สูงอายุในครอบครัวจะได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวให้เข้าถึงบริการทางสังคมมากที่สุด สำหรับผู้สูงอายุที่อยู่โดดเดี่ยวนั้น การสนับสนุนจากเพื่อนบ้านและชุมชน จะมีส่วนสำคัญอย่างมากในการเข้าถึง บริการทางสังคมของผู้สูงอายุ ทั้งนี้การที่ผู้สูงอายุจะเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมได้นั้น จะต้องได้รับการสนับสนุนให้กำลังใจจากบุคคลใกล้ชิดอย่างสม่ำเสมอ
The purposes of the research are 1) to investigate living condition, responsibilities, and needs responses, 2) to study social welfare services of public, private, and social sectors, and 3) to utilize social welfare services, concerning and rendering of poor elderly in Tombal Nangbuat, Amphur Dermbangbuat, Suphanburi ProvinceSamples were 9 poor elderly families, 60 years of age And over, in Tombal Nangbuat, Amphur Dermbangbuat, Suphanburi Province from three different selective districts : the rural, the suburban, and the urban areas. There were three different groups of sub-samples namely, one family numbers, and more than 3 family numbers. There were two different kinds of research tools for participative observation and family visitation. The research findings showed that living condition, responsibilities, and needs responses of poor elderlies of the three mentioned districts were similar. Every poor elderly was really poor both income and utilities, with poo-living and working condition, with small income and had to take care of some numbers of the family. Most of the poor elderlies seldom received psychological needs responses. One who could psychological respond to the occasionally were poor-elderly spouses, and closed-children. They were neither getting along very well on professions nor on poverty. Neighbors were found to have more needs responses than friends or peergroups. Poor elderlies who lived in the same family and friends were less important. Friends who were at the same age mainly could not response to their needs because of passing away because of old ages. Poor elderlies who lived in the rural area got responses on information and income less than ones who lived in the suburban because of distance and remote areas. The research also revealed that social welfare services that public, private and community sectors provided were public health services with free of charged, Amphur hospital for poor elderly. The poor elderlies were pleased with the health with the health services which situated in town. Public, Private and community sectors did not provide and support income and professions in all three mentioned districts. Recreation services for poor elderly families were provided only by public sectors and the community cooperatively. But the social welfare service was provided by a public sector for the poor elderly in term of elderly fund for 300 baht each. The four social welfare services mentioned did not receive cooperatively from private sectors. The research findings were finally found that the utilities of poor elderly in all three districts were completely different because of the geographic conditions. Ones who lived in the rural area would receive services the least. News and information would be received mainly from the family. But ones who lived alone would receive services from neighbors and community. It was interesting to note that the poor elderly should be encouraged to participate in the services from ones who were associative closely and regulary. From the research findings, the researcher would like to suggest some policies to the government. The income should be distribute widely to the grassroot levels and receive such services equally. The departments concerning poor elderly should set up centers for poor elderly in their own communities. Once the centers having been setting up, the members of the centers should be provided opportunity to share and works together to help promote leadership as well as health of the poor elderly in the community.